Content Marketing คืออะไร สำคัญอย่างไร เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงอย่างมากมายจากหลากหลายเว็บไซต์ตลอดปีสองปีมานี้ เอาเข้าจริงหลายครั้งที่พูดถึงเรื่อง Content Marketing ยังมีบางคนอาจจะยังไม่เข้าใจความหมายที่ถูกต้องด้วยซ้ำไป ดังนั้นก่อนว่ากันถึงเรื่อง Google Analytics จะช่วยให้การทำ Content Marketing ดีขึ้นได้อย่างไรนั้น ขออธิบายอย่างย่อๆ ถึงความหมายของคำๆ นี้เพื่อให้การอ่านบทความนี้เข้าใจถึงที่มาที่ไปได้ดีขึ้นว่า ทำไมและอย่างไร Google Analytics ถึงช่วยให้การทำ Content Marketing ดีขึ้นได้
Content Marketing คืออะไร
Content Marketing เป็นการสื่อสารทางการตลาดที่เน้นให้ความสำคัญกับ Content เป็นอันดับแรก ซึ่งรวมตั้งแต่ขั้นตอนการสร้าง Content ที่มีคุณค่า สอดคล้องกับกลุ่ม Audience จนถึงการสื่อสารออกไปผ่าน Channel ต่างๆ ที่เหมาะสม และเหตุผลที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับ Content ไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง วิดีโอ หรือ slideshow นั่นเป็นเพราะว่า การทำ Digital Marketing ในปัจจุบันนี้จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ Need ของ User หรือ Consumer มากที่สุดเป็นอันดับแรก เพราะในยุคนี้เราไม่สามารถที่จะทำ Marketing แบบเก่าที่ใช้การทำ Advertising ยัดเยียดให้ Consumer รับรู้แล้วจะประสบความสำเร็จได้อีกต่อไป เนื่องจากสื่อ Digital ในยุคนี้ทำให้แบรนด์กลายเป็นแค่ ‘ตัวเลือก’ ที่มีโอกาสถูกปฏิเสธจาก Consumer ได้ง่ายมากด้วยการ Unlike Unfollow See less เป็นต้น ดังนั้นการทำ Content Marketing จึงเป็นการสร้างเนื้อหาที่จะส่งมอบ Valuable Content เพื่อให้ Consumer ได้รับส่ิงที่เป็นประโยชน์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากๆ ที่จะช่วยรักษาให้เขาอยู่กับเรานานๆ และสามารถที่จะกลายเป็นแชนแนลหนึ่งที่ช่วยทำการสื่อสารต่อให้เราได้อีกด้วย แต่ที่สำคัญต้องอย่าลืมว่า Content ที่สื่อสารออกไปนั้น จะต้องมีความเกี่ยวโยงกับแบรนด์ด้วยเช่นกัน และนั่นเป็นโจทย์ที่เราต้องหาจุดร่วมของความสนใจระหว่างแบรนด์และลูกค้า หรือการหา sweet spot ตรงกลางให้เจอนั่นเอง
4 metrics สำคัญใน Google Analytics ที่จะช่วยให้ทำ Content Marketing ได้ดีกว่าเดิม
การเลือกหัวข้อในการทำ Content นั้น ถ้าจะทำให้ได้ผลที่ดีจึงไม่ใช่การเขียนไปเรื่อยตามใจ เพราะการเขียนไปเรื่อยนั้นมักจะทำให้เราเขียนแต่สิ่งที่เราสนใจเท่านั้น ซึ่งไม่แน่ว่าคนอ่านนั้นจะสนใจด้วยหรือไม่ แต่ถ้าเรารู้ว่ากลุ่ม Target ของเราสนใจเรื่องใด แล้วเราหยิบเอาหัวข้อประเด็นที่เกี่ยวข้องกันมาเขียนต่อนั้นย่อมจะเป็นเนื้อหาที่น่าจะตรงกับความสนใจ หรือ Need ของกลุ่มเป้าหมายของเราจริงๆ ซึ่งเรื่องนี้ Google Analytics พอจะมีคำตอบเบื้องต้นให้เราได้จาก 4 เมทริคพื้นฐานนี้
- Avg. Time on page เป็นเมทริคง่ายๆ ความหมายชัดเจน คือ เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการอยู่แต่ละหน้า ซึ่งเป็นตัวเลขที่บอกถึงความสนใจในเนื้อหาจากเวลาที่ใช้ในการอ่านนั่นเอง หากพบว่าเนื้อหาชนิดใด หัวข้ออะไรที่มีการใช้เวลาในการอ่านมาก เราก็สามารถที่จะสร้าง Content ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้นนั่นเอง
ปล. ค่านี้เป็นค่าเฉลี่ย และมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้จากประเด็นทางเทคนิคอล ขออนุญาติไม่กล่าวถึงในบทความนี้ เพราะต้องอธิบายยาวพอสมควร
วิธีการเข้าดูรีพอร์ท Behavior>Site Content>All pages
- Pageviews จำนวนครั้งของการถูกเรียกดูของแต่ละหน้า ซึ่งหากมีค่า pageviews สูงย่อมแสดงว่าหน้านั้นได้รับความสนใจมาก แนะนำให้ดูประกอบกับค่า Avg. time on page ด้วย ซึ่งค่านี้ดูได้จากรีพอร์ทเดียวกับ Avg. Time on page ในข้อ 1
- Referral ให้ดูจำนวน Session จาก Referral Channel ซึ่งเมทริค Session จะเป็นตัวเลขที่บอกถึงจำนวนทราฟฟิคที่ส่งเข้ามาจากเว็บอื่นๆ และแต่ละเว็บส่งทราฟฟิคมาที่หน้าใดบ้าง ซึ่งนั่นหมายความว่าหากพบว่า Content หน้าใดของเว็บไซต์มี traffic เข้ามาจำนวนมากจากเว็บไซต์อื่น แสดงว่า Content นั้นเป็น Content ที่ดีและน่าสนใจทั้งกับ publisher รายอื่นๆ ที่ทำลิงค์มายังบทความของเรา รวมถึงกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์นั้นด้วย
วิธีการเข้าดูรีพอร์ท- Acquisition>All Traffic>Channels
- ทำ Secondary Dimension เลือก Landing page
- Interests ความสนใจของผู้เข้าชมเว็บไซต์ (Audience) ซึ่งเป็นค่าที่ Google เก็บจากพฤติกรรมการเข้าเว็บไซต์ต่างๆ ของแต่เครื่อง นั่นหมายความว่า หาก Interest ใดมีค่าที่สูง แสดงว่ากลุ่มคนเข้าเว็บไซต์ของเราส่วนใหญ่มีความสนใจและ Lifestyle ตาม interests นั้นๆ การเขียน Content ก็สามารถที่จะเลือกเขียนให้ตรงกับ Interest ของคนส่วนใหญ่ได้
วิธีการเข้าดูรีพอร์ท Audience>Interests>Overview
ในส่วนของ interests นี้ Google ยังแยกกลุ่ม Interests ออกเป็นอีก 3 กลุ่มใหญ่ คือ Affinity, In-market และ Other ถ้าหากสนใจข้อมูลรายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มได้จาก How google defines interests categories
วิธีการอ่านวิเคราะห์ 4 เมทริคพื้นฐานนี้ ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆ ได้อีก ยกตัวอย่างเช่น การหาสินค้าบริการที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษเพื่อที่จะนำไปทำ Marketing Campaign ต่อ เป็นต้น และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดหลังจากเราได้สร้าง Content ใหม่ตามข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์นี้แล้ว อย่าลืมที่จะนำเมทริคเหล่านี้ เช่น Time on page, Pageviews กลับมาวัดผลใหม่อีกครั้ง รวมถึงอาจจะนำเมทริคอื่นๆ เช่น Bounce rate, Exit rate และ Facebook Share มาประกอบการวัดผลเพิ่มเติมด้วย เพื่อดูว่า Content ที่สร้างขึ้นใหม่นี้สามารถ engage กับกลุ่ม Audience ของเราได้ดีเพียงใด
Happy Analytics!
ติดตามอ่านบทความและพูดคุยกัน แอดเฟรนด์ Line@ : @pornthep