Trigger Group ฟีเจอร์ที่ควรรู้จักใน Google Tag Manager

หนึ่งในเครื่องมือที่ผมแนะนำให้ทุกคนควรจะต้องรู้จักไว้บ้าง คือ Google Tag Manager ซึ่งเครื่องมือนี้นอกจากใช้บริหารจัดการ Tag และ Pixels ต่างๆ แล้ว มันยังเป็นเครื่องมือที่ทำงานร่วมกับ Google Analytics ได้อย่างลงตัวมาก ใครที่ยังไม่รู้จักลองทำความรู้จักได้จาก Google Tag Manager คืออะไร อธิบายง่ายๆ พร้อมวิธีติดตั้งทีละขั้นตอน

Trigger Group เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ทาง Google เพิ่งเปิดให้ใช้งานได้ไม่นานมานี้ ซึ่งสำหรับผม พออ่านทำความเข้าใจจบแล้วก็ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ออกมาแก้ปัญหาและลบจุดอ่อนของการ Tracking พฤติกรรมบนหน้าเว็บไซต์ที่บางกรณีนั้นจำเป็นต้องใช้เงื่อนไขที่ซับซ้อนมากกว่าปกติได้ดีมาก ที่สำคัญคือทำได้ง่ายอย่างไม่น่าเชื่ออีกด้วยล่ะ

แล้ว Trigger คืออะไร?

ก่อนจะไปถึง Trigger Group อยากอธิบายเรื่อง Trigger สักนิดนึงสำหรับคนที่อาจจะยังไม่เข้าใจ Trigger เล่าแบบง่ายๆ Trigger ก็คือ “สัญญาณ” หรือ “ตัวกระตุ้น” ที่ส่งออกไปสั่งให้ Tag ทำงาน ถ้้ายังไม่มี Trigger เกิดขึ้น Tag ก็จะไม่ทำงาน งงไหมครับ ถ้ายังงงอยู่ให้ลองนึกภาพ “ความโกรธ” ของแฟนก็ได้ครับ เวลาแฟนสั่งให้ช่วยทำอะไร ถ้าเราเฉยๆ ขึ้เกียจทำสักพักนึงแฟนเราก็จะเริ่มโกรธ สายตาเริ่มดุ น้ำเสียงเริ่มแข็ง พอเราเริ่มรู้ว่าแฟนโกรธ “ความโกรธ” ก็จะกลายเป็นสัญญาณกระตุ้นให้เราไปทำงานตามที่แฟนบอก เพราะขี้เกียจจะมีปัญหา(จริงๆ คือกลัว:) ประมาณนี้แหละครับ ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดก็คือ Pageview Tag ที่เราต้องสร้างขึ้นเป็น Tag แรกใน GTM ซึ่ง Tag นี้จะทำงานก็ต่อเมื่อมีเกิด Page Load ขึ้นมา ถ้า Page ยังไม่ได้ Load ก็ไม่สามารถส่ง Pageview ไปได้นั่นแหละครับ

Trigger Groups คืออะไร?

อย่างที่ทราบกันว่าโดยปกติ Tag ต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นใน GTM (Google Tag Manager) นั้นจะทำงาน (Fire) ก็ต่อเมื่อ Trigger ที่เรากำหนดได้เกิดขึ้น ซึ่งปกติที่ผ่านมาเราก็จะสามารถเซ็ต 1 Tag ต่อ 1 Trigger เท่านั้น แต่ Trigger Group จะช่วยให้เราสามารถสร้าง Triggers ได้มากกว่า 1 ตัวต่อ 1 Tag ทีนี้พอมีมากกว่า 1 Triggers วิธีการทำงานของมันจะเปลี่ยนไป กล่าวคือ Tag ที่ผูกไว้กับ Trigger Group นั้นจะทำงาน (Fire) ได้ก็ต่อเมื่อ แต่ละ Triggers ทั้งหมดภายใน Trigger Group นั้นจะต้อง เกิดขึ้นครบทุก Trigger อย่างน้อยหนึ่งครั้ง

ตัวอย่างการใช้ Trigger Groups

เคสคลาสสิคเคสหนึ่งที่เหมาะสมอย่างมากในการใช้ Trigger Group คือเคสที่เราต้องการ Track Event การ Engage กับเนื้อหาบนหน้าเว็บ ยกตัวอย่างที่พบเห็นได้ทั่วไปคือ คือการ Track Scroll Depth ว่ายูสเซอร์เลื่อนเมาส์อ่านหน้าเว็บไปแล้วกี่เปอร์เซ็น เช่น 25, 50, 75, 100% เพื่อ Track ว่ายูสเซอร์ได้อ่านเนื้อหาไปมากน้อยแค่ไหน ได้อ่านถึงเนื้อหาส่วนที่เป็นสาระสำคัญไปจำนวนเท่าไร เป็นต้น ซึ่งเคสนี้จริงๆ แล้วที่เราทำๆ กันอยู่ก็ยังมีความไม่ถูกต้องอยู่พอสมควร เพราะบางครั้งยูสเซอร์ Scroll เมาส์เร็วๆ แต่อาจจะไม่ได้อ่านก็ได้เช่นกัน อย่างนี้เราจะนับว่าเกิดการอ่านไปจนครับ 100% ก็ไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไร หรือในบางเคส บางเว็บไซต์อาจจะใช้วิธีการ Track จากเวลาที่ใช้อยู่ในหน้านั้นเช่น อยู่นานเกิน 1 นาที เพราะถือว่าเป็นเวลาที่น่าจะอ่านเนื้อหาบนเว็บจบโดยสมบูรณ์ ซึ่งกรณีนี้อาจจะยังไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน เพราะบางทียูสเซอร์อาจจะเปิดหน้านั้นเสร็จแล้วก็เดินไปทำอย่างอื่น ซึ่งก็อาจจจะไม่ได้อ่านก็ได้เช่นกัน

select-trigger-type
หน้าจอการสร้าง Trigger เมื่อเลือกสร้างแล้วจะมีหน้อจอด้านขวาให้เลือก Trigger Type
Trigger-Group-GTM
เลือก Trigger Group ที่อยู่กลุ่ม Others Trigger
Create-Triggers-in-Trigger-Group
สร้าง Triggers ใน Trigger Group โดยการกด + เพิ่มไปที่ละ Trigger
Trigger-groups-GTM
รูปแบบการใส่ Triggers ใน Trigger Group

Trigger Group มาแก้ปัญหาตรงนี้แหละครับ หมายความว่า เราสามารถวัดผลการที่ยูสเซอร์เข้ามา Engage กับเนื้อหาบนหน้าเว็บแต่ละหน้าได้ละเอียดและมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยที่เราจะกำหนดให้ Event Tag ของการวัด Engagement นี้ทำงานส่งค่าไปที่ Google Analytics ก็ต่อเมื่อ Trigger ทั้งสองตัวได้เกิดขึ้นครบแล้ว เช่น ยูสเซอร์ต้อง Scroll ไปแล้ว 75% ของหน้า และเวลาที่ใช้ไปอย่างน้อยต้องเกิน 1 นาที ถ้าทั้งสองอย่างนี้ยังเกิดขึ้นไม่ครบ Tag นี้ก็จะไม่ทำงาน ฟังดู Make Sense มากเลยใช่ไหมครับ วิธีการเซ็ตก็ไม่ได้ยากอะไร และไม่ได้ต่างจากที่เราเคยเซ็ตกันมา เปลี่ยนแค่เลือกเป็น Trigger Group แล้วก็เพิ่ม Triggers เข้าไป 2 ตัว (หรือมากกว่า หากเรามีเงื่อนไขที่ซับซ้อน) ลองดูภาพประกอบด้านบนนี้ครับ

วิธีการสร้าง Trigger Group ใน Google Tag Manager

  1. Login เข้า Google Tag Manager และเข้าสู่หน้าแรก Home Dashboard
  2. เลือกเมนู Triggers กด New Trigger
  3. ตั้งชื่อ Trigger Group แล้วกดสร้าง Trigger จะมีหน้าจอให้เลือก Trigger Type
  4. เลือก Trigger Group ซึ่งจะอยู่ในกลุ่ม Trigger “Others”
  5. กด + สร้าง Triggers ตามเงื่อนไขที่ต้องการ (สามารถสร้างได้มากกว่า 2 Triggers) เสร็จแล้ว Save
  6. สร้าง Tag ที่ต้องการใช้ Trigger Group แล้วเลือกชื่อ Trigger ที่เราสร้างไว้ในขั้นตอนที่ 3

พอเข้าใจ Trigger Group จากเคสในบทความนี้แล้ว ก็ลองนำไปปรับใช้งานกันดูสำหรับเคสอื่นๆ นะครับ อาจจะไม่ได้ใช้กันบ่อยมากนัก แต่ถ้าเน้นความถูกต้องกันจริงๆ แล้ว ได้ใช้มันแน่ๆ ครับ

Happy Analytics 🙂

Leave a Reply