Treemap รีพอร์ท รูปแบบง่ายๆ ที่ทำให้การอ่านข้อมูลง่ายขึ้น

คงไม่ต้องพูดว่า “ข้อมูล” มีความสำคัญมากแค่ไหนในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ แต่การมีข้อมูลเยอะมากเท่าไร การสรุปข้อมูลเพื่อนำมา “อ่าน” และ “วิเคราะห์” ก็เป็นเรื่องยากมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นศัพท์คำหนึ่งที่เป็นกระแสมาพร้อมกับเรื่องของ Data ก็คือ “Data Visualization” หรือการแสดงข้อมูลด้วยภาพนั่นเอง ในปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายในการทำเรื่องของ Data Visualized ยกตัวอย่างเข่น Power BI, Tableau หรือกระทั่ง Datastudio ของ Google เอง ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างรีพอร์ท ทำแดชบอร์ดโดยนำข้อมูลที่เชื่อมต่อไว้มาแสดงผลออกเป็นรูปภาพ เป็นกราฟที่มี interactive ได้อย่างง่ายดาย และสะดวกสบายมากๆ ใครได้ลองใช้ก็น่าจะรู้กันอยู่แล้ว 🙂

หนึ่งในรูปแบบของรีพอร์ทที่อาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยเหมือนพวกกราฟเส้น กราฟแท่ง กราฟวงกลม ก็คือรีพอร์ทในรูปของ Treemap ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งที่จริงๆ แล้วก็เข้าใจง่าย ใช้งานได้ง่าย ใครที่เคยใช้ Google Analytics อาจจะพอเคยเห็นอยู่บ้างสำหรับรีพอร์ท Treemaps ที่อยู่ภายใต้ Acquisition Reports ดังภาพด้านล่างนี้

treemap-report

Treemap รีพอร์ทคืออะไร ใช้งานอย่างไร

ใครที่ยังไม่รู้จัก Treemap รีพอร์ทขออธิบายสั้นๆ ให้พอเข้าใจดังนี้ครับ Treemap เป็นรูปแบบการแสดงข้อมูลของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลสองค่าไปพร้อมกัน ตัวอย่างเช่นภาพด้านบน จะเป็นการแสดงข้อมูลโดยแบ่งตาม Marketing Channel ที่เราทำ แต่ละช่องของสี่เหลี่ยมก็จะคือหนึ่งแชนแนล เช่น Organic, Referral, Social เป็นต้น ส่วนข้อมูลสองค่าที่ผมเลือกไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างก็คือ จำนวน Users และค่า Conversion Rate ซึ่ง Treemap นี้จะแสดงค่าสองค่านี้ผ่าน “ขนาด” และ “สี” ตามลำดับ หมายความว่า ยิ่งสี่เหลี่ยมมีขนาดใหญ่ก็แสดงว่า Marketing Channel นั้นมีจำนวน Users เข้ามาที่เว็บไซต์มาก ส่วนสีก็จะเป็นการบอกว่า สี่เหลี่ยมช่องไหนมีสีเขียวเข้ม แสดงว่า Marketing Channel นั้นมีอัตรา Conversion Rate ที่สูงนั่นเอง ดังนั้นการดู Treemap จะทำให้เราเข้าใจค่าสองค่าไปพร้อมกันได้อย่างรวดเร็วมาก พอนึกภาพออกแล้วใช่ไหมคร้บ

แต่สิ่งที่ Treemap รีพอร์ททำได้อีกอย่างหนึ่งก็คือการ Drill down หรือการเจาะข้อมูลลงลึกมากขึ้น ซึ่งปกติจะทำด้วยการคลิ้กที่สี่เหลี่ยมอันใดอันหนึ่งที่เราสนใจต้องการข้อมูลที่ลึกขึ้นนั่นเอง ซึ่ง Treemap สามารถมึข้อมูลที่ลงลึกไปหลายๆ ชั้นได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เรามีอยู่ ดังนั้นส่วนใหญ่ Treemap รีพอร์ทจึงเป็นการแสดงข้อมูลแบบลำดับชั้น Heirarchies ที่แตกข้อมูลออกไปเรื่อยๆ คล้ายกับต้นไม้ที่ค่อยๆ แตกกิ่งก้านออกไปนั่นแหละครับ ภาพด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผมนำมาจากบทความของ Google Data Studio ซึ่งเป็นภาพของ Treemap และตัวอย่างชุดข้อมูลที่ถูกนำมาแสดง

Treemap-google-data-studio

data-table-datastudio

Google Data Studio สามารถสร้าง Treemap รีพอร์ทได้แล้ว

ส่วนใครที่ใช้ Data Studio อยู่ ตอนนี้มี Treemap Report เพิ่มเข้ามาให้ใช้งานกันแล้วนะครับ สามารถอ่านรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมได้ Treemap Reference ส่วนใครที่ยังไม่เคยใช้ Data Studio แนะนำให้ลองใช้กันดูนะครับ เครื่องมือช่วยทำรีพอร์ทสวยๆ ได้ดีมากจะทำไว้ให้ลูกค้าหรือทำไว้ใช้งานอ่านข้อมูลภายในบริษัทก็ได้ครับ ทำทีเดียวแล้วลดเวลาทำรีพอร์ทระยะยาวได้เยอะเลยครับ ใครสนใจศึกษาพื้นฐานก่อนได้ที่ลิงค์นี้ครับ วิธีการใช้งาน Google Data Stuido

Happy Analytics 🙂

เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดทุกบทความ แอดเฟรนด์ Line@ : @pornthep
สนใจคอร์สเรียน Google Analytics  อ่านรายละเอียด

Leave a Reply