เรียนใช้งาน Google Data Studio ด้วยตัวเอง ตอนที่ 2

หลังจากที่เคยเขียนบทความใช้งาน Google Data Studio ตอนที่ 1 ไปเมื่อปลายเดือนก่อน ตอนนี้ได้เวลาเขียนตอนที่สองกันเสียที ตอนที่ 2 ของเนื้อหาแบบเวิร์คช้อปนี้ เป็นการเวิร์คช้อปต่อจากตอนแรก ดังนั้นใครที่ยังไม่เคยฝึกทำในตอนแรก ถ้าจะทำตามเนื้อหาในตอนที่ 2 นี้ต่อเลยคงจะทำไม่ได้ แนะนำให้กลับไปอ่านและทำรีพอร์ทตามเนื้อหาในตอนที่ 1 ก่อนจากลิงค์นี้ครับ สอนใช้งาน Google Data Studio ตอนที่ 1 สำหรับผู้เริ่มต้น

ใครที่ทำตอนที่ 1 ไว้แล้วให้ log in เข้าไปที่ datastudio.google.com แล้วคลิ้กไปที่รีพอร์ทที่เราเคยสร้างกันไว้นะครับ รีพอร์ทล่าสุดที่เราสร้างไว้หน้าตาจะประมาณภาพด้านล่างนี้ ซึ่งจะเป็น Bar Chart รีพอร์ทดึงข้อมูล Session จาก Google Analytics มาแสดง โดยมีการ ​Compare จำนวน Session แต่ละเดือนเทียบกันระหว่างปี 2019 และ 2018 ยังจำกันได้ใช่ไหมครับ 🙂

bar-chart-yoy-comparison

ใครที่เข้ามาที่รีพอร์ทนี้อีกครั้ง แล้วรีพอร์ทหน้าตาไม่เหมือนเดิม ไม่ต้องแปลกใจนะครับ เพราะครั้งที่แล้วเราเลือก Date Range ของรีพอร์ทเป็น This Year to Date ดังนั้นเราก็จะเห็นไม่ครบปี ตรงนี้แนะนำให้ไปปรับ Date Range ให้เป็น Last Year ไปเลยครับ ตามภาพตัวอย่าง

data-studio-last-year-date-range

อีกจุดที่ต้องแก้ไขคือ ค่าในแกน Y ที่ระบบของ Data Studio ตั้ง Default เป็น (auto) มันเลยเริ่มที่ตัวเลข 55K ทีนี้ถ้าเราอยากให้แกน Y คือจำนวน Session เริ่มต้นที่ 0 เราจะต้องไปแก้ไข ค่า Axis-Min จาก (Auto) เป็น 0 แทนครับ วิธีการคือให้คลิ้กที่กราฟที่เราสร้างไว้ แล้วไปคลิ้กที่ Style Tab ด้านขวามือ แล้วแก้ไขค่า Left Y-Axis ตามภาพครับ

google-data-studio-axis-min

ทีนี้เรามาเริ่มตอนที่ 2 กันได้เสียที ในตอนที่สองเราจะพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า Filter Control กัน

Filter Control คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

Filter Control ถือเป็นฟีเจอร์ที่สำคัญมากในการสร้างรีพอร์ทใน Data Studio และเราก็ค่อนข้างจะต้องใช้กันบ่อยเสียด้วย เพราะเครื่องมือนี้ทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้นและลดเวลาในการทำรีพอร์ทลงได้อีก ลองนึกภาพจากรีพอร์ทแรกที่เราสร้างมาแล้วดูก็ได้ครับ รีพอร์ทแรกเราแสดงกราฟที่ดีึง Session ทั้งหมดของเว็บไซต์มาแสดง ทีนี้ถ้าเราต้องการดูแยกแต่ละ Channel ล่ะ เช่นอยากดูเฉพาะ Organic หรืออยากดูเฉพาะ Social Channel etc ถ้าเราต้องทำการสร้างรีพอร์ทแบบนี้อีก 7 Channels เราก็ต้องสร้างอีก 7 Pages คือทำซ้ำแบบนี้อีก 7 รอบ !!!! ตาย ครับ ตาย เสียเวลาเกิน เครื่องมือที่เรียกว่า Filter Control จะมาช่วยเราในเรื่องนี้แหละครับ รับรองชีวิตดีขึ้นแน่นอน มาทำกันแบบ Step by Step กันเลยครับ

การใช้งาน Filter Control ใน Google Data Studio

  1. คลิ้กที่ไอคอน Filter Control ใน Toolbar ด้านบน ตามภาพ
    googledata-studio-toolbar
  2. หลังจากนั้นในนำมาวางให้สวยงามตามภาพ (เหรอ) จะเห็นว่าตัว Filter Control มีค่า Filter ตั้งต้นให้เราเป็น Medium (อันนี้ไม่แน่ใจว่าจะเหมือนกันทุกคนหรือเปล่านะครับ) แต่เราก็จะไม่ใช้มัน เพราะเรากำลังจะสร้าง Filter นี้เพื่อเอาไว้ฟิลเตอร์ทราฟฟิคจาก Channels ต่างๆ ดังนั้นเราต้องมาเปลี่ยน setting ตรงนี้กัน
    google-data-studio-report-filter-control
  3. คลิ้กที่ Filter Control แล้วทำการแก้ไข Dimesion ให้เป็น Default Channel Grouping และ Metric เป็น Sessions ตามภาพด้านล่างนี้ หลังจากเปลี่ยนค่า Setting แล้วจะเห็นว่าที่ Filter Control ก็เปลี่ยนเป็น Default Channel Grouping ตามที่เราเซ็ตไว้ที่ Data Tap เท่านี้เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทำไมมันง่ายอย่างนี้ 🙂
    filter-control-dimensions-metrics
  4. ทีนี้เรามาดูรีพอร์ทกันดีกว่า สมมุติว่าเราอยากดู Performance ของ SEO ที่เราทำกันมา ว่าจำนวน Organic Traffic ที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเป็นอย่างไร ให้เราคลิ้กที่ปุ่ม View สีฟ้าด้านขวาบน เพื่อเข้าสู่โหมดการดู Report แล้วลองคลิ้กที่ Filter Control ดู จะเห็นรายละเอียดตามภาพด้านล่างนี้ คือ จะเห็นว่ามี Traffic ที่มาจาก 8 Channels ของ Google Analytics (น่าจะคุ้นเคยกันอยู่นะครับ)
    Filter-control-default-channel-grouping
  5. ให้เราเลือกเอาเฉพาะ Organic Search เพราะเรากำลังจะดู Session จาก SEO เท่านั้น
    Filter-control-SEO-channel
    สังเกตว่า จริงๆ แล้วแค่เรา Check หรือ Uncheck อะไรก็ตามใน Filter Control กราฟก็จะทำการอัพเดททันทีเลย ทีนี้เราอยากจะดู Performance ของ Channel ไหน เราก็คลิ้กเลือกเอาตามความพอใจได้เลย เห็นไหมครับว่า ที่ผ่านมาเราทำกันอยู่แค่ Page เดียวเท่านั้นเองนะครับ สะดวกจริงๆ (ป.ล. ถ้าเราอ่านกราฟคร่าวๆ จากตรงนี้ ก็ดูเหมือนว่าช่วงครึ่งปีแรก SEO Performance ดูจะน่าเป็นห่วงอยู่)
  6. และเพื่อให้รู้ว่าแต่ละ Page คือรีพอร์ทในเรื่องอะไร แนะนำให้ใส่ Text Label เข้าไปสักนิดนึงครับ ให้คลิ้กที่ไอคอน Text ใน Toolbar ด้านบนตามภาพ แล้วลากวางในพื้นที่ที่ต้องการ แล้วก็พิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสารลงไป ตรงนี้ไม่ยากอะไรลองทำกันดูนะครับ
    google-data-studio-toolbar-text
  7. เพื่อความสวยงามในการพรีเซนต์ เราอาจจะเพิ่มรูปภาพหรือ Background ให้รีพอร์ทของเราอีกสักนิด โดยการคลิ้กที่ไอคอน Image ตามภาพแล้วอัพโหลดรูปภาพที่เตรียมไว้ขึ้นไป จัดวางให้สวยงามตามภาพ (อีกแล้วเหรอ) ที่เหลือก็ปรับสีฟอนต์ ขยับองค์ประกอบต่างๆ ให้พอดี ลองกันดูนะครับ ไม่ยากอะไร ถ้าทำกันมาได้ถึงขนาดนี้แล้ว 🙂
    google-data-studio-toolbar-image
    ถ้าใครทำตามมาตั้งแต่ตอนที่ 1 จนจบบทความนี้ สุดท้ายเราก็จะได้รีพอร์ทหน้าตาสวยงามกันประมาณนี้ ก็ลองเอาไปใช้พรีเซนต์กันดูนะครับ
    Session-by-month-report-data-studio

บทความนี้ประมาณนี้ก่อนนะครับ ใครสนใจเรื่อง Data Studio ก็กดติดตาม ฟอลโลว Facebook Page กับ Line OA กันไว้ก่อนนะครับ อย่างที่เคยบอกครับ ปีนี้เน้นเรื่องนี้เป็นพิเศษจริงๆ

อ่านต่อตอนที่ 3 เรียนการใช้งาน Google Data Studio ตอนที่ 3

Happy Analytics 🙂

เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดทุกบทความ แอดเฟรนด์ LINE OA : @pornthep
สนใจคอร์สเรียน Google Analytics  อ่านรายละเอียด

Leave a Reply