เรียนวิธีสร้างกราฟใน Google Data Studio ตอนที่ 3

ผ่านไปแล้ว 2 ตอนสำหรับบทความเชิงเวิร์คช้อป วิธีสร้างกราฟใน Google Data Studio ใน ตอนที่ 1 เนื้อหาเริ่มกันตั้งแต่สร้างบัญชี เชื่อมต่อข้อมูลกับ Google Analytics และสร้างกราฟแท่งเปรียบเทียบ Sessions แบบ YOY ส่วน ตอนที่ 2 เราได้เพิ่ม Filter Control ที่ใช้ควบคุมจัดการข้อมูล รวมถึงการเพิ่มข้อความ และรูปภาพเพื่อทำให้รีพอร์ทมีความสวยงามกันไปแล้ว บทความนี้ยังเป็นตอนต่อที่เกี่ยวเนื่องกับบทความที่ 1 และ 2 ดังนั้นสำหรับคนที่เพิ่งอ่านบทความนี้ครั้งแรก แนะนำให้อ่านและทำเวิร์คช้อปตาม 2 บทความแรกก่อนนะครับ แค่ทำตามสองบทความแรก อย่างน้อยเราก็จะได้รีพอร์ทสวยๆ สำหรับดูการเติบโตของทราฟฟิคที่เข้าเว็บไซต์แยกตาม Marketing Channel ไว้พรีเซนต์กันแล้วครับ 🙂

หัวข้อหลักของการ Workshop ตอนที่ 3

  1. การ Add New Page หรือสร้าง Page ใหม่เพิ่มเข้าไปในรีพอร์ท ถ้าให้เข้าใจง่ายๆ ก็คล้ายกับการเพิ่มสไลด์อีกสไลด์หนึ่งเข้าไปใน Power Point นั่นแหละครับ ประมาณนั้น
  2. การ Duplicate Page เพื่อสร้าง Chart ใหม่ ในกรณีที่ต้องการใช้ข้อมูลชุดเดิมที่เซ็ตไว้แล้ว จะได้ไม่ต้องเสียเวลากับการเซ็ตติ้งค่าต่างๆ อีกรอบ
  3. การเลือกเปลี่ยนรูปแบบ Chart จาก Bar Chart เป็น Line Chart ที่ง่ายและรวดเร็ว
  4. การใช้ Date Range Control เพื่อควบคุมช่วงเวลาของข้อมูลในรีพอร์ท ทำให้มีความยืดหยุ่นในการอ่านรีพอร์ท ไม่จำเป็นต้อง Fix Date Range เหมือนที่ได้ทดลองทำในตอนที่ 1 และ 2
  5. การใช้ Data Control เพื่อเปลี่ยน Data Source อันนี้เป็นฟีเจอร์ที่ดีมากใน Data Studio เพราะช่วยให้เราไม่ต้องสร้าง Report ซ้ำๆ ในกรณีที่เรามี Google Analytics หลายแอคเคาท์ พูดง่ายๆ ก็คือ รีพอร์ทที่เราสร้างเพียงชุดเดียวสามารถนำไปใช้ได้กับเว็บไซต์ทุกเว็บที่ติดตั้งโค้ด Google Analytics

การสร้างกราฟใน Google Data Studio ตอนที่ 3

  1. เริ่มจากการเปิด Report เก่าที่สร้างไว้ในตอนที่ 2 ขึ้นมาครับ โดยปกติการเปิด Report ขึ้นมา ดีฟอลต์มันจะเป็น View Mode ซึ่งเอาไว้ใช้ดูรีพอร์ทเท่านั้น ดังนั้นถ้าเราจะแก้ไขเพิ่มเติมอะไรก็ตามให้เราเลือกเปลี่ยนเป็น Edit Mode ที่ปุ่ม Edit สีฟ้าด้านขวาบน เมื่อกดแล้ว Toolbar ด้านบนก็จะแสดงออกมา ตรง Toolbar ให้คล้ิกที่ Add a Page
    Toolbar-google-data-studio
  2. เมื่อกดแล้ว Data Studio จะสร้างหน้าใหม่ขึ้นมา พร้อมกับแสดงหน้าว่างๆ ขึ้นมาเพื่อให้เราเลือกใส่กราฟที่ต้องการ สังเกตุตรงนี้จะพบว่า ปุ่ม Add a Page จะแสดงเป็น Page 2 of 2 หมายความว่า ตอนนี้เราอยู่ใน Page ที่ 2 ของ Report ที่มีอยู่ทั้งหมด 2 Page
    new-page-google-data-studio
  3. ตอนนี้เราได้ Page ใหม่ขึ้นมาแล้ว ถ้าต้องการสร้าง Chart ก็สามารถเลือก Chart แบบที่ต้องการและลากวางได้ตามต้องการเลย แต่ตอนนี้อยากให้ลองเปลี่ยนชื่อ Page ของรีพอร์ทก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วเวลาที่มีหลายๆ Page เราจะหารีพอร์ทที่ต้องการได้ลำบาก วิธีคือกดที่ Page 2 of 2 แล้วเมนูจะแสดง Page ทั้งหมดที่มี (ตอนนี้เราจะมีแค่ Page 1 และ 2 เท่านั้น) แล้วเอาเม้าส์ไปวางไว้ที่ Page 1 เราจะเห็นเมนูที่เป็นจุด 3 จุดแสดงขึ้นมาให้คลิ้กและเลือก Rename เพื่อทำการเปลี่ยนชื่อเป็น Traffic Growth YOY by channel by month
    rename-page-in-google-data-studio
  4. ในตอนที่ 3 นี้เราจะลืม Page 2 ไปก่อน เพราะบทความนี้เราจะทำการ Duplicate Page 1 เพื่อมาตั้งค่าและเปลี่ยนรูปแบบกราฟกันใหม่โดยใช้ข้อมูลแบบเดิม ดังนั้นเราจะทำการก๊อปปี้ Page “Traffic Growth YOY by channel by month” ขึ้นมาเป็นอีก Page หนึ่ง ซึ่งจริงๆ ก็คือการสร้างซ้ำนั่นแหละครับ ให้กดที่เมนูจุด 3 จุด แล้วเลือก Duplicate ตามภาพ
    Duplicate-page-in-data-studio
  5. หลังจากกด Duplicate ระบบจะทำการก๊อปปี้หน้านั้นออกมาเป็นอีกหน้าหนึ่ง โดยใช้ชื่อเดียวกันแต่จะขึ้นต้นด้วย Copy of  ให้เราทราบแทน ซึ่งหน้าใหม่นี้จะมีรีพอร์ทเดียวกัน การตั้งค่าต่างๆ แบบเดียวกันกับที่เราเคยสร้างมาแล้วจากตอนที่ 1 และ 2 ทุกอย่าง ตรงนี้ให้เราเปลี่ยนชื่อ Page นี้ใหม่เป็น “Line Chart of Traffic Growth YOY” หรือชื่ออื่นๆ ตามต้องการDuplicate-page-in-data-studio-2
  6. เราจะมาเริ่มแก้ไขปรับเปลี่ยน Chart กันโดยให้คลิ้กที่กราฟ แล้วเลือก Style จากเมนูด้านขวา แล้วเลือกออปชั่น Line ตามภาพ หลังจากเลือกแล้ว จะสังเกตุเห็นว่ากราฟแท่งจะเปลี่ยนเป็นกราฟเส้นแทน โดยที่เส้นแรกจะเป็นเส้นที่พล็อตตามจำนวน Session ที่เรากำหนดไว้คือ Last Year (ปี 2019 จากเวิร์คช้อปตอนที่ 2) และอีกเส้นเป็นจำนวน Session ปี 2018 เปรียนเทียบกันในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งก็มาจากเซ็ตติ้งเดิมที่เรากำหนดการ Comparision ไว้เป็น Previous Year นั่นเอง ดูจากภาพด้านล่างนี้
    bar -chart-to-line-chart
    Session-by-Day-data-studio
    ตัวอย่างนี้ผมมีปรับเล็กๆ น้อยๆ เพิ่มเติม เช่นการปรับสี Background ของ Chart ให้เป็นสีขาวเพื่อให้ดูง่ายขึ้น และมีการปรับ Title Text เป็น Sessions by Date แทน เพราะเรากำลังจะปรับเซ็ตติ้งให้เป็นการพล็อกกราฟเป็นรายวันแทนเพื่อให้เห็นกราฟแบบละเอียดกว่าแบบที่เราดูเป็นเดือน
  7. คลิ้กที่กราฟ แล้วเลือก Data แทปที่เมนูด้านขวา จากนั้นให้เปลี่ยน Dimension จาก Month of Year เป็น Date แทน ตอนนี้เราก็จะเห็นกราฟถูกพล็อตออกมาแบบละเอียดและถี่มากๆ ตามภาพ
    date-dimension-google-data-studio
  8. ถึงตรงนี้เราก็ได้ Chart อีกแบบหนึ่งที่พอใช้งานได้แล้ว ให้ทดลองคลิ้กที่ปุ่ม View สีฟ้าด้านบนขวาเพื่อเข้าสู่ View Mode เพื่อลองดู Report และทดลองใช้ Filter Control ดูครับ ตัวอย่างภาพด้านล่างนี้ผมเลือก Social Channel จาก Filter Control เพื่อดูว่า Session ที่มาจาก Social ในปี 2018 และ 2019 ต่างกันอย่างไร จากกราฟจะเห็นว่าช่วงต้นปีถึงกลางปี 2018 ทราฟฟิคที่มาจาก Social ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปี 2019 และหลังจากช่วงปลายปี 2018 ทราฟฟิคจาก Social ก็ค่อนข้างนิ่งมาตลอดจนจบปี 2019 จะสังเกตุเห็นว่า Line Chart ที่สร้างทำ Dimension เป็น Date จะให้กราฟที่ละเอียดมากเมื่อเทียบกับการดูเป็นเดือน ซึ่งจะทำให้เห็นว่าทีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นในระดับวัน เช่น จากตัวอย่างเส้นกราฟมีการ Spike คือโตขึ้นแบบทันทีทันใดในวันที่ 10 Feb 2018 ซึ่งกราฟรายเดือนเราจะไม่สามารถเห็นสิ่งนี้ได้ชัดเจนขนาดนี้
    social-traffic-google-data-studio
  9. ขั้นตอนถัดไปเราจะมาเพิ่ม Date Range Control กัน ให้กลับมาที่ Edit Mode กันก่อนโดยคลิ้กที่ปุ่ม Edit สีฟ้าด้านขวาบน จากนั้นที่ Toolbar ให้คลิ้กที่ Date Range ตามภาพ แล้วก็ลางวางในตำแหน่งที่เหมาะสม และปรับขนาดให้พอดีตามต้องการ
    Toolbar-google-data-studio-date-range
    ตามภาพภาพผมจะวางไว้ข้างๆ Filter Control แต่ใครจะวางอย่างไรก็ได้นะครับ เอาที่พอใจและใช้งานสะดวก
    data-studio-date-range
  10. ถึงตอนนี้ดูเหมือนจะเสร็จแล้ว แต่ยังไม่เสร็จนะครับ เพราะว่า Date Range มันยังไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากตอนนี้กราฟที่เราสร้างไว้ เราไปเซ็ตติ้งค่า Date Range แบบ Custom ไว้เป็น Last Year มาตั้งแต่ตอนที่ 2 ซึ่งการเซ็ตติ้งลักษณะนี้จะเป็น Fix ไว้ที่ Chart เลย ดังนั้นเราจะไปเปลี่ยนที่ Date Range Control อย่างไร กราฟมันก็ไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ ถ้าไม่เชื่อให้ทดลองเข้าไปที่ View Mode แล้วลองคล้ิก Select Date Range แล้วลองเปลี่ยนช่วงเวลาดูครับ จะเห็นว่ากราฟไม่มีการเปลี่ยนแปลง วิธีการที่จะทำให้ Chart เปลี่ยนตาม Date Range Control ก็ง่ายนิดเดียวครับ ให้ไปแก้ Date range ของ Chart ให้เป็น Auto แทน ตรงนี้มีข้อสังเกตุนิดนึงว่า เมื่อเราเปลี่ยนเป็น Date Range แบบ Auto ตรง Comparison ที่เราเคยกำหนดเป็น Last Year มันจะรีเซ็ตใหม่ ซึ่งทำให้เส้นกราฟที่จะเปรียบเทียบกันหายไป ใครที่ยังต้องการเห็นเส้นกราฟเปรียบเทียบก็ให้เซ็ตใหม่อีกครั้งเป็น Last Year ครับ
    Auto-date-range-google-data-studio
  11. Date Range ที่เราเซ็ตเป็น Auto มันจะดีฟอลต์เป็น Date Range ที่ 28 วันย้อนหลัง (ตัวอย่างของผมจะเริ่มวันที่ 5 มกราคม 2020 ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2020) ตรงนี้ถ้าเราชอบแบบ 28 วันย้อนหลัง ก็ให้ปล่อยตามนี้ได้เลย ส่วนใครที่ไม่ชอบแบบนี้ (ผมเอง) ก็สามารถไปปรับที่ Setting ตรง Data Tab ของ Data Range Control แทน เช่นผมชอบที่จะดูแบบ This Year to Date คือตั้งแต่วันที่ื 1 มกราคม จนถึงเมื่อวานนี้ ผมก็จะไปแก้ไขเซ็ตติ้งใหม่ ทีนี้ไม่ว่าผมจะดูรีพอร์ทนี้ตอนไหน เช่น 21 พฤษภาคม ผมก็จะเห็นรีพอร์ทเป็น Date Range ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 20 พฤษภาคม นั่นเองครับ ง่ายและสะดวกดี ใครถึงขั้นตอนนี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ลองกลับไปที่ View Mode แล้วทดลองเลือก Date Range เลือก Channel สลับไปมาดูครับ จะพบว่ารีพอร์ทมีความยืดหยุ่นสำหรับการใช้งานมากขึ้น เราสามารถเลือก Date Range ได้ตามความต้องการ จะเลือกทั้งปี เดือนเดียว คร่อมเดือน หรือจะเลือกดูแค่ 5 วันก็ได้ ตัวอย่างผมเลือกเป็นช่วงวันที่ 1 ธันวาคม 2019 ถึง 31 มกราคม 2020  และเลือก Organic Channel ที่ Filter Control เพื่อดู Traffic จากการทำ SEO ในช่วงเวลาดังกล่าว
    date-range-control-1
    date-range-control-2
    date-range-control-3
  12. Tip พิเศษสำหรับคนที่ต้องทำรีพอร์ทจากหลายเว็บไซต์ เช่น ถ้าหากเราต้องการทำรีพอร์ทแบบด้านบนนี้สำหรับ 5 เว็บไซต์ที่ดูแลอยู่ เราไม่จำเป็นต้องสร้าง Report ขึ้นมา 5 รีพอร์ทแล้วคอนเน็คกับกับ Data Source ทั้ง 5 เว็บให้เสียเวลาเลย วิธีง่ายคือให้เราใช้ตัว Data Control ที่ Data Studio มีมาให้อยู่แล้ว ข้อดีของ Data Control คือตอนใช้งานมันจะลิสต์ Google Analytics Data Source ทั้งหมดที่เรามีสิทธิ์เข้าถึงได้ให้เราโดยอัติโนมัติ ดังนั้นเราสามารถเลือกเปลี่ยน Data Source ไปเป็นเว็บไหนก็ได้ง่ายๆ เหมือนกับเวลาที่เราใช้ Filter Control เลยละครับ พอเราเลือก Data Source ใหม่ Chart ก็จะไปดึงข้อมูลจากเว็บที่เราเลือกให้ทันที ง่ายและสะดวกมากๆ ส่วนวิธีการคือ ให้เลือก Data Control ที่ Toolbar ด้านบน แล้วนำมาลากวาง ปรับขนาดให้เหมาะสม แค่นี้เองละครับData-control-google-data-studiofinal-line-chart-report-google-data-studio
    สำหรับ Data Control เมื่อนำมาวางแล้วก็สามารถใช้งานได้ทันทีเลย โดยไม่ต้องมีการเซ็ตอะไรเพิ่มเติม ง่ายมาก ซึ่งดีฟอลต์มันจะดึง Data Source ของ Google Analytics อยู่แล้ว ถ้าใครต้องการเปลี่ยนประเภทของ Data Source ก็สามารถไปเปลี่ยนที่ Data Tab ของ Data Control ได้เลยครับ

ผ่านไปแล้ว 3 บทความสำหรับการทำ Workshop Google Data Studio ซึ่งถ้าหากใครทำตามมาทั้งสามบทความ ผมเชื่อว่าน่าจะเข้าใจคอนเซ็ปท์พื้นฐาน และเครื่องมือที่จำเป็นเบื้องต้นกันแล้ว หลังจากนี้ลองทดลองใช้เครื่องมือต่างๆ ให้มากขึ้น รวมถึงการลองปรับเปลี่ยนเลือกใช้ Chart รูปแบบต่างๆ กันดูครับ ส่วนบทความตอนต่อไปเราจะค่อยๆ ดำดิ่งลงลึกให้มากขึ้นไปอีก ใครสนใจเรื่อง Data Studio กด Like Page และ Follow LINE official account ไว้ก่อนนะครับ 🙂

Happy Analytics 🙂

เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดทุกบทความ แอดเฟรนด์ LINE OA : @pornthep
สนใจคอร์สเรียน Google Analytics  อ่านรายละเอียด