เร็ว ง่าย และสวย ด้วย Google Maps ใน Google Data Studio

ใส่-Google-Maps-ใน-Google-Data-Studio-ง่ายและสวย

หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า Data Visualization หรือการแปลงข้อมูลออกมาเป็นภาพที่สวยงาม เข้าใจได้ง่าย และอ่านได้รวดเร็ว กันอยู่แล้ว หนึ่งในเครื่องมือสำหรับทำสิ่งนี้ก็คือ Google Data Studio เครื่องมือฟรีจาก Google ที่ดีงามมากเครื่องมือหนึ่ง แม้ว่าอาจจะยังเทียบไม่ได้กับเครื่องมือชื่อดังอีกหลายๆ ตัว อย่างเช่น Tableau แต่การใช้งานได้ฟรีและการใช้งานที่ง่ายกว่า ใช้เวลาเรียนรู้ไม่นาน ถือเป็นข้อดีที่ Google Data Studio มีให้แทน

คนที่เคยใข้งาน Google Data Studio อยู่แล้ว อาจจะรู้สึกว่ายังขาดฟีเจอร์และเครื่องมือบางตัวอยู่ ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ยังไม่สามารถทำรีพอร์ท และ Dashboard ได้ตามความต้องการทั้งหมด และหนึ่งในข้อจำกัดนั้นก็คือการทำรีพอร์ทให้ออกมาในรูปแบบของแผ่นที่ ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ผมและหลายคนคงรอกันอยู่ และในการอัพเดทใหม่ล่าสุดจาก Google Data Studio เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้เราสามารถใส่ Google Maps เข้าไปได้แล้ว การใช้งานง่ายมากๆ แค่ลากๆ คลิ้กๆ ไม่กี่ทีก็ได้รีพอร์ทที่สวยงาม สามารถแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Location ออกมาเป็นภาพที่เข้าใจง่ายได้แล้ว และที่สำคัญคือ Interactive ด้วย

ใครที่อยากเรียนรู้และทดลองทำแบบ Step by Step สามารถอ่านได้จากบทความที่ผมเคยเคยไปแล้ว 3 บทความ สำหรับมือใหม่ให้เริ่มต้นได้จากบทความแรกเลยครับ สอนใช้งาน Google Data Studio ตอนที่ 1 สำหรับผู้เริ่มต้น ส่วนใครที่ใช้งานเป็นอยู่แล้วบทความนี้จะรีวิวขึ้นตอนการสร้าง Google Maps ใน Data Studio อย่างคร่าวๆ ให้ดูครับ

วิธีการสร้าง Google Maps ใน Google Data Studio

  1. หลังจากที่ Login เข้าใช้งาน Google Data Studio ให้คลิ้กที่ Add a chart ที่เมนูด้านบน สังเกตดูว่าจะเห็นว่ามี Chart ใหม่ที่เป็น Google Maps เพิ่มเข้ามาแล้วเพิ่ม-google-map-ใน-Google-data-studio
  2. ให้คลิ้กเลือก Google Maps แล้วนำมาลากวางลงในรีพอร์ทเปล่าที่เราสร้างเพิ่มขึ้นมาให้ แนะนำให้ลากให้เต็มพื้นที่รีพอร์ทนะครับ แผนที่เล็กมากจะดูไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร จากรูปด้านล่างนี้ เมื่อวาง Google Maps ไปแล้ว ข้อมูลเบื้องต้นที่แสดงออกมาจะเป็น Bubble ที่กำหนด Dimension ไว้ตั้งต้นเป็น Country ดังนั้นเราจะเห็นวงกลมที่ถูกพล็อตลงที่ประเทศต่างๆ ซึ่งยังไม่มีการแสดงข้อมูล Metric อะไร ในขั้นตอนถัดไปเราจะเริ่มกำหนดค่าการแสดงข้อมูลกันต่อgoogle-maps-chart-ในรีพอร์ท-google-data-studio
  3. ในการกำหนดค่า Metric เพื่อแสดงผลเป็น Bubble ใน Google Map นั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญคือ ขนาดของ Bubble และสีของ Bubble ตามตัวอย่างด้านล่างนี้ เราเลือกค่า Sessions เป็น Metric สำหรับการแสดงผลจากขนาดของ Bubble (ในเมนูคำสั่งด้านขวามือ) หมายความว่า ถ้าประเทศใดมีทราฟฟิคเข้าเว็บมาก Bubble ที่พล็อตลงที่ประเทศนั้นก็จะมีขนาดใหญ่ ถ้าทราฟฟิคน้อยก็จะมีขนาดเล็กลง จากภาพเป็นข้อมูลที่เชื่อมกับ Demo Account ของ Google (ตามที่ทำกันมาจากบทความเก่า) เราจึงเห็นว่าที่อเมริกามีขนาด Bubble ที่ใหญ่ที่สุด ตรงนี้จะเห็นได้ว่าการแสดงจำนวน Sessions ด้วยขนาดของ Bubble ทำให้เราอ่านเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วมาก 🙂google-map-bubble-in-google-data-studio
  4. ในขั้นตอนนี้จะเพิ่ม Revenue เข้าไป โดยให้แสดงออกมาแบบ Bubble Color ผลที่ออกมาก็จะเห็นว่าอเมริกามีสีฟ้า แต่ประเทศอื่นๆ มีสีเขียว แสดงว่าอเมริกามีรายได้ผ่านเว็บไซต์มากที่สุด (ในส่วนของสีสามารถเข้าไปปรับเปลี่ยนได้ความต้องการ และสามารถแบ่งระดับสีเพิ่มเติม จากเมนู Style ด้านขวามือได้อีกด้วย)bubble-color-ใน-google-data-studio
  5. นอกจากนั้นถ้าเราต้องการให้แสดงผลเป็น Maps แบบภาพถ่ายดาวเทียมก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยที่เราสามารถเข้าไปปรับที่เมนู Style ให้เป็นแบบ Satellite ตามภาพด้านล่างนี้ สวยงามตามท้องเรื่องเลยทีเดียวgoogle-maps-satellite-in-data-studio

เท่านี้เองง่ายไหมละครับ ทีนี้ผมลองเปลี่ยน Data Source ใหม่เป็นข้อมูลของเว็บไซต์ Google Analytics Thailand ให้ดูอีกนิดครับ จะได้พอเห็นไอเดียที่เราจะพล็อต Map เฉพาะประเทศไทยได้อย่างไร และออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร

Thailand-google-map-in-data-studio

ใส่-Google-Maps-ใน-Google-Data-Studio-ง่ายและสวย

ขั้นตอนโดยสรุปเมื่อเราต้องการปรับเปลี่ยน Maps จาก World Map มาเป็นประเทศไทย มีขั้นตอนดังนี้

  1. ที่ Dimension ในส่วน Bubble Location ให้เลือกเปลี่ยนจาก Country มาเป็น Region เพราะเมื่อเราปรับเป็นประเทศไทย เราก็จะพล็อตจุดที่ระดับจังหวัดแทน
  2. ตั้งค่า Filter ที่เมนูด้านขวามือ (อยู่ด้านล่างๆ หน่อย) โดยคลิ้กสร้าง Filter แล้วกำหนดค่า Country เป็น Thailand
  3. ในส่วนของ Metrics สามารถเลือกข้อมูลที่เราสนใจได้ความต้องการเลย ตามตัวอย่างผมเลือก Bubble Size เป็น Sessions เพราะอยากรู้ว่าจังหวัดที่เข้าเว็บไซต์ Google Analytics Thailand มากที่สุดคือจังหวัดอะไร ซึ่งก็ไม่แปลกใจอะไร กรุงเทพฯ นั่นเอง ในส่วนของ Bubble Color ผมเลือกเป็น Goal Completion ที่ผมตั้งค่าไว้ คือการเข้าดูหน้ารายละเอียดคอร์สเรียน GA ซึ่งผลที่ได้ก็เป็นกรุงเทพฯ อีกนั่นแหละครับที่มีค่าการเข้าดูหน้ารายละเอียดคอร์สเรียนสูงที่สุด

เมื่อกำหนดค่าต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วลองกด View ดูก็จะได้รีพอร์ทสวยงามตามภาพด้านบนนี้แหละครับ เวลาเอาเม้าส์ไปวางที่จังหวัดอะไร รีพอร์ทก็จะแสดงค่า Sessions และ Goal Completion ให้ด้วย ดีงามพระรามรักสีดา มากๆ
ปล. ตัวอย่างผมเลือกปรับเป็นแบบ Satellite จะได้ดูคูลๆ หน่อย แต่เอาจริงๆ ดูยากมากเลย ปกติที่ถ้างานจริงผมก็จะเลือกแบบปกตินั่นแหละครับ อ่านง่ายสบายตากว่า ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ลองทำกันดูสงสัยตรงไหน Line ถามมาได้เลยนะครับ

Happy Analytics 🙂
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดทุกบทความ แอดเฟรนด์ LINE OA : @pornthep
สนใจคอร์สเรียน Google Analytics  อ่านรายละเอียด

Leave a Reply