ถ้า Banking จะทำ E-commerce เอง ความเข้ากันที่ลงตัว?

e-commerce-online-banking

เมื่อสักสิบกว่าปีก่อนตอนที่ร้านกาแฟ “บ้านไร่กาแฟ” เริ่มเปิดสาขาในปั๊มน้ำมันแล้วประสบความสำเร็จ(ในช่วงนั้น) จากนั้นก็มีอีกหลายแบรนด์ผุดขึ้นมาอีกมากมายจนถึงทุกวันนี้ ใครจะเชื่อว่าหลายๆ แบรนด์จะมีกำไรไม่น้อยจากธุรกิจนี้

รูบแบบการรวมสองธุรกิจที่แตกต่างกันเข้าด้วยกันนี้ มักจะมีลักษณะการใช้ประโยขน์จาก POW  (point of waiting) ซึ่งตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในต่างประเทศและประสบความสำเร็จอย่างสูงคือ การรวมเอาร้านซักเสื้อผ้าแบบ self-service เข้ากับร้านมินิมาร์ทที่มีร้านอาหารจานด่วนเข้าไว้ด้วยกัน เห็นได้ชัดว่าเป็นการรวมธุรกิจที่ตอบโจทย์ซึ่งกันและกันอย่างมาก เพราะลูกค้าจะใช้ช่วงเวลาที่รอการซักผ้าด้วยการเข้าไปซื้อของใช้และทานอาหาร ซึ่งถือเป็นการใช้ประโยชน์จาก POW ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างอื่นของการใช้ประโยชน์จาก POW คือพวก advertising ทั้งหลาย ตามลิฟท์ ชานชาลารถไฟฟ้า รวมถึงป้ายโฆษณาดิจิตอลขนาดใหญ่ตามแยกที่มีการจราจรหนาแน่น ซึ่งก็คือมีเดียที่เรียกกันว่า POV นั่นเอง

ในด้านออนไลน์นั้น มีโมเดลหนึ่งที่อาจจะไม่เกี่ยวกับ POW แต่ก็เป็นการนำสองธุรกิจเข้ามารวมกันได้อย่างลงตัว ซึ่งเคสที่ผมเคยเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยนั้นคือ การที่ธุรกิจ Banking หันมาจับธุรกิจกึ่ง e-commerce (ขออนุญาติไม่ระบุชื่อ)

ผมคงไม่พูดถึงระบบ Payment Gateway เพราะแน่นอนว่าเรื่องนี้แยกออกจาก e-commerce ไม่ได้อยู่แล้ว แต่ที่อยากพูดถึงคือ การที่ Banking จะเริ่มทำ retail e-commerce ของตัวเอง ซึ่งโดยความเห็นส่วนตัว การที่ Bank จะทำ retail e-commerce เองนั้นมีจุดแข็งอยู่หลายประการเลยทีเดียว

  1. แบงค์มีระบบ Payment ของตัวเองที่ไม่ต้องไปจ่ายค่า transaction fee ให้ใคร
  2. แบงค์มีฐานข้อมูลผู้ถือบัตรเครดิตจำนวนมาก รวมถึงข้อมูลการใช้บัตรเครดิตของลูกค้า ดังนั้นการทำ marketing และ ad targeting จะมีความได้เปรียบค่อนข้างสูง
  3. แบงค์มีการทำเรื่อง redemption อยู่แล้ว ดังนั้นจึงมีคอนเน็คชั่นกับ vendor ที่นำของมาทำ redeem อยู่กลุ่มหนึ่งแล้ว เรื่องสินค้าซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากทึ่สุดสำหรับ Bank จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไปนัก
  4. แบงค์มีสาขาจำนวนมากทั่วประเทศ ดังนั้นการจัดส่งสินค้าสามารถทำเป็นระบบ Click and Collect ได้คือ คือให้ลูกค้าไปรับสินค้าที่สาขา ซึ่งสามารถช่วยให้ลูกค้าเลือกชำระเงินตอนรับสินค้าได้อีกด้วย
  5. Point ของบัตรเครดิตที่ลูกค้ามีอยู่ ทำให้ลูกค้าสามารถที่จะซื้อสินค้าด้วยการใช้แต้มแทนเงินส่วนหนึ่งแล้ว จะทำให้ตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้น เมื่อซื้อครั้งแรกแล้ว ก็มีโอกาสที่จะซื้อครั้งถัดๆ ไปได้อีก

ปัญหาใหญ่ที่สำคัญสำหรับ Bank ที่จะทำ e-commerce เองนั้นคือการแข่งขันใน red ocean ที่ทุกแบรนด์พร้อมจะเชือดเนื้อตัวเอง ลดราคา ยอมขาดทุนกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ทำให้แบงค์ไม่อยากลงมาแตะธุรกิจนี้เอง และทำแค่เรื่อง payment gateway อย่างเดียว แต่อย่างที่บอกไว้ตอนต้น บางธนาคารที่ผมเคยได้ร่วมงานด้วยนั้นก็มี model การทำแบบ กึ่ง e-commerce ที่ง่ายและน่าสนใจอยู่เหมือนกัน

แบงค์กับ  e-commerce เกี่ยวข้องกันตั้งแต่ยุคเริ่มต้นอยู่แล้ว การเติบโดของ e-commerce อย่างก้าวกระโดดในช่วงสองสามปีมานี้ ย่อมทำให้ส่วนแบ่งค่า transaction fee โตขึ้นตาม ไม่ใช่เรื่องแปลกที่แบงค์ไม่จำเป็นต้องเล่นบทผู้ขายเอง แม้ว่าจะมีความเหมาะสมหลายๆ ประการตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นก็ตาม

แต่ถ้าหากจะย้อนไปดูตัวอย่างคล้ายๆ กันนี้จะเห็นว่า ebay ยังเข้าซื้อกิจการ paypal ได้ (แม้จะไม่ใช่ bank) และทำกำไรมหาศาลจาก paypal ไม่แน่ว่าถึงวันนึงข้างหน้า อาจจะมีการควบรวมสองธุรกิจนี้เข้าด้วยกัน แบงค์ซื้อธุรกิจ e-commerce หรือธุรกิจ e-commerce เข้าซื้อแบงค์ ก็เป็นไปได้ ใครจะรู้

Leave a Reply