
Google Ads Extension ฟีเจอร์อัพเดทล่าสุด

The Arrows Metrics เป็นสไลด์ที่ผมทำขึ้นเพื่อใช้สอนอธิบายความสัมพันธ์ของ Ads Metrics ตลอดหลายปีมานี้ ซึ่งสามารถนำไป apply ใช้ได้กับทั้ง Google Ads, Facebook Ads รวมถึง Ads Platform อื่นๆ ความเข้าใจในเรื่องนี้จะทำให้เราเข้าใจที่มาที่ไปของข้อมูลแต่ละเมทริค และสามารถอ่านวิเคราะห์และนำไปใช้ออปติไมซ์โฆษณาได้อย่างมีหลักการมากยิ่งขึ้น เรื่องนี้จึงถือเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญที่ทุกคนควรต้องรู้และเข้าใจให้มากก่อนที่จะเริ่มออปติไมซ์แคมเปญต่างๆ Continue reading
คนที่มีประสบการณ์ซื้อโฆษณา Google Ads จะรู้ว่าการออพติไมซ์ให้ Performance หรือผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการนั้นเป็นเรื่องที่ต้องลงรายละเอียดค่อนข้างมาก ยิ่งโดยเฉพาะกับ Search Ad แล้ว ย่ิงมีการเซ็ตติ้งต่างๆ มากมายเต็มไปหมด รวมไปถึงต้องวิเคราะห์รีพอร์ทต่างๆ ก่อนที่จะลงมือปรับโฆษณา
หลักการง่ายๆ เบื้องต้นของการออพติไมซ์แอดก็คือ การหาให้พบก่อนว่า อะไรที่มี Performance ดี และอะไรที่กำลังฉุด Performance ให้แย่ลง ซึ่งคำว่า “อะไร” ในที่นี้หมายถึงค่า Dimensions หรือ Segments ต่างๆ ที่มีอยู่ในรีพอร์ท ยกตัวอย่างเช่น Keywords และ Search Terms อะไรที่มี Conversion ดี หรืออะไรที่ไม่มี Conversion เลย ซึ่งก็ต้องดูต่อไปว่า Keywords ที่ดีนั้น เวลาแสดงผลอยู่อันดับที่เท่าไร และ Keywords นั้นเข้าถึงปริมาณการค้นหาทั้งหมดหรือยัง รวมไปถึงกลุ่ม Conversion ส่วนใหญ่มาจากการซื้อผ่านอุปกรณ์อะไร มือถือ แทปเล็ต เดสก์ทอป เพศ อายุช่วงไหนที่สร้าง Conversion มากที่สุด เป็นต้น เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับ Bidding Strategy ปรับ CPC ทำ Negative Keywords รวมไปถึงการทำ Exclusion สิ่งที่กำลังฉุด Performance อยู่ ดังนั้นส่ิงที่คนออพติไมซ์โฆษณาจะต้องทำคือ การดูและวิเคราะห์รีพอร์ทจำนวนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Search terms report, Auction Insight หรือการทำ Segment ด้วยเงื่อนไขต่างๆ เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดเยอะ และใช้เวลาเวลาค่อนข้างมาก หน้าที่ออพติไมซ์แอดจึงค่อนข้างที่จะต้องมีความละเอียดและเข้าใจ Dimensions และ Metrics ต่างๆ มากพอสมควร ถ้าต้องการให้ผลลัพธ์ดีมากที่สุด แต่ความสนุกของคนที่ชอบออพติไมซ์ก็อยู่ตรงนี้แหละครับ 🙂
การออพติไมซ์ง่ายๆ อย่างหนึ่งที่เป็นพื้นฐาน และเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็ทำได้ก็คือการทำ Campaign Budget Allocation พูดง่ายๆ ก็คื การแบ่งสัดส่วนการใช้เงินให้มากขึ้นสำหรับแคมเปญที่มีPerformance ที่ดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีแคมเปญโฆษณา 3 แคมเปญที่กำลังรันอยู่ แต่เราพบว่ามีอยู่แคมเปญสินค้า A มี ROAS (return on ad spending) ดีมากๆ แทนที่เราจะแบ่งเงินที่มีให้แต่ละแคมเปญเท่ากัน เราก็จะเริ่มถ่ายโอนเงินจากแคมเปญ B และ C ที่ Performance ไม่ดีออกมาใช้กับแคมเปญที่ดีให้มากขึ้นนั่นเอง ซึ่งพอทำแบบนี้ภาพรวมของ Performance ก็จะดีขึ้น ซึ่งก็ไม่ได้ยากอะไรใช่ไหมครับ ใครๆ ก็ทำได้ แต่… Continue reading
คนที่ขายของออนไลน์ทุกคนต่างรู้ดีว่าการมีคนเข้าเว็บไซต์เยอะๆ ก็จะทำให้มีโอกาสในการขายมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนทำกันก็คือ การทำการตลาดออนไลน์ เพื่อโปรโมทเว็บไซต์ โปรโมทสินค้าให้คนรู้จัก และสร้างยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ วิธีการหรือช่องทางที่แบรนด์และคนขายสินค้าส่วนใหญ่ใช้ทำการตลาดกันในปัจจุบันนั้น โดยเฉพาะกลุ่ม SME ก็มักจะเริ่มที่การทำโฆษณา Facebook ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ทุกแบรนด์แทบจะขาดไม่ได้ แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัญหาที่คนทำการตลาดบน Facebook เจอก็คือ โฆษณาท่ีแพงขึ้นเรื่อยๆ และที่แย่หนักกว่าค่าโฆษณาก็คือ Conversion หรือผลลัพธ์ที่ได้นั้นก็ไม่ดีเหมือนเดิมอีกแล้ว พอเป็นเช่นนี้ หลายๆ แบรนด์จึงเริ่มที่จะหาช่องทางการตลาดอื่นๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายที่หายไป รวมไปถึงการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ให้มากขึ้น ซึ่งหนึ่งในช่องทางการตลาดที่สำคัญและหลายแบรนด์เริ่มกลับมาให้ความสนใจก็คือการทำการตลาดผ่านช่องทาง Google Search ในช่วงปีที่ผ่านมานี้เราจึงได้ยินได้ฟังคำว่า SEO และ SEM บ่อยมากขึ้น บทความนี้รวบรวมหัวข้อสำคัญทั้งหมดสำหรับคนที่สนใจหรือกำลังจะเริ่มทำการตลาดบน Google ควรจะต้องรู้เอาไว้ ซึ่งก็น่าจะช่วยให้มีควาทเข้าใจ และเริ่มต้นทำการตลาดบน Google Search ได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น Continue reading
อัพเดทล่าสุด Google ได้มีการปรับระบบเรื่อง Keyword Matching อีกครั้ง หลังจากที่ได้มีการปรับมาแล้วสองครั้งตลอดสี่ห้าปีมานี้ สำหรับคนที่ซื้อโฆษณา Google Ads (ชื่อเดิม Google Adwords) มานานแล้วคงพอทราบเรื่อง Keyword Matching นี้ดี ส่วนใครที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งาน Google Ads ได้ไม่นาน ขออธิบายสั้นๆ ตรงนี้ก่อนครับว่า Keyword Matching หลักๆ มี 4 แบบ คือ Exact Match, Phrase Match, Broad Match และ Broad Match Modifier (ผมไม่นับรวมการทำ Negative Keyword นะครับ) ตัวอย่างที่พออธิบายให้เห็นภาพได้ง่ายสุดเลยก็คือ Exact Match ก็ขออนุญาติพูดถึง Exact Match พอให้เห็นภาพสักตัวอย่างหนึ่งกันนะครับสำหรับคนที่เพิ่มเริ่มต้นจะได้พอเข้าใจ ส่วนการ Matching วิธีการอื่นๆ ลองดูใน Support Google นะครับ Google อธิบายไว้ดีอยู่แล้ว
Exact Match คือรูปแบบวิธีการ Match คำค้นหาของผู้ใช้งาน Google Search หรือเราเรียกอีกอย่างว่า Query ที่จะต้อง “เหมือนกัน 100%” กับคำหลักที่เรากำหนดในการซื้อโฆษณา ซึ่งเราเรียกว่า Keyword หมายความว่า ถ้าเราซื้อ Keyword คำว่า “รองเท้าผ้าใบ” โฆษณาของเราจะแสดงก็ต่อเมื่อคนที่ค้นหาใน Google Search ค้นหาด้วยคำว่า “รองเท้าผ้าใบ” เท่านั้น จะมีคำอื่นๆ อย่าง Nike Adidas หรืออื่นๆ รวมอยู่ในคำค้นหาไม่ได้ ซึ่งวิธี Match เช่นนี้เป็นวิธีการที่ถูกใช้ในช่วงแรกๆ ของระบบโฆษณา แต่ก็ได้มีการปรับปรุงวิธีการ Match แบบ Exact นี้มาอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านตามรายละเอียด้านล่างนี้ครับ Continue reading