GA4 เป็น GA เวอร์ชั่นล่าสุดที่ Google กำหนดเป็นเวอร์ชั่น Default สำหรับการเปิดบัญชี Google Analytics ตั้งแต่ปลายปี 2020 ซึ่งเวอร์ชั่นใหม่นี้ (แต่เดิมจะชื่อ App and web property) ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เวอร์ชั่นแรก ส่ิงที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคือ interface หรือดีไซน์ในส่วนหน้าจอการใช้งาน รวมถึงเมนูต่างๆ ที่เปลี่ยนไปแบบที่ต้องเรียนรู้กันใหม่แทบทั้งหมด แต่ interface ที่ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแล้ว สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไปแบบที่ต้องลืมของเก่า Unlearn แล้วต้องเรียนรู้กันใหม่ Relearn ก็คือ Concept ที่เปลี่ยนไปแบบไม่เหลือของเดิมเลยในส่วนของ Data Model ซึ่งเป็นแกนพื้นฐานหลักสำคัญในการเก็บข้อมูลของ GA4 ดังนั้นในเวอร์ชั่นใหม่นี้ จึงไม่ใช่เป็นแค่เรื่อง ‘ใหม่’ สำหรับคนที่เพิ่งรู้จัก Google Analytics เท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่อง ‘ใหม่’ สำหรับคนที่ใช้ GA มานานแล้วเช่นกัน Continue reading
การใช้ GA4 Path Exploration วิเคราะห์ Website Journey ง่าย ดี มีประโยชน์
ย้อนกลับไปใน GA3 กลุ่มรีพอร์ทกลุ่มหนึ่งที่ผมแทบจะไม่ได้เช้าไปดูเลย คือกลุ่มรีพอร์ทเกี่ยวกลับ Flow ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Users flow, Behavior flow และ Events flow ใครที่เคยเรียนคลาส GA3 มาแล้ว จะทราบว่าในสไลด์ที่ใช้สอนนั้น ผมไม่ได้พูดถึงรีพอร์ทกลุ่มนี้เลยแม้แต่สไลด์เดียว เพราะให้พูดตามตรงแล้ว ผมไม่อยากจะเสียเวลาไปกับการสอนรีพอร์ทที่เรียนไปแล้วใช้ประโยชน์ได้ไม่มากนัก นอกจากนั้นการใช้งานก็ไม่ค่อยจะสะดวกอีกด้วย ใครที่เคยใช้งานมาก่อนน่าจะพอทราบดีว่าทำไมผมถึงรู้สึกเช่นนั้น
ใน GA4 รีพอร์ทเกี่ยวกับ Flow ทั้งหลายที่กล่าวมานั้นก็ไม่ได้มีเป็น Pre-build Report หรือเตรียมเอาไว้แบบสำเร็จรูปให้ใช้งานเหมือนใน GA3 อีกแล้ว ถ้าใครต้องการที่จะดูรีพอร์ทแบบ Flow ใน GA4 ก็จะต้องเข้าไปสร้างเองด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Path Exploration ซึ่งหน้าตาที่ได้ก็จะมีความคล้ายคลึงกับ Flow reports ทั้งหลายใน GA3 Continue reading
GA4 segment overlap ใช้งานอย่างไรให้ได้ข้อมูลเชิงลึก
Segment Overlap คืออะไร
Segment Overlap เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้เราเข้าใจและเห็นภาพของกลุ่มยูสเซอร์ที่เราสนใจหลายๆ กลุ่มว่ามีการทับซ้อนกันมากน้อยแค่ไหน ให้ลองนึกภาพง่ายๆ เป็นวงกลม 2 วง วงแรกเป็นกลุ่มคนที่ซื้อสินค้า A วงที่สองเป็นกลุ่มคนที่ซื้อสินค้า B ถ้าวงกลม 2 วงไม่ทับซ้อนกันเลย ก็หมายความว่าคนซื้อสินค้า A และ B เป็นคนละกลุ่มกันอย่างชัดเจน แต่ถ้าวงกลมทั้ง 2 วงทับซ้อนกันมากๆ หมายความว่า คนที่ซื้อสินค้า A และ B เป็นคนๆ เดียวกันนั่นเอง Continue reading
การทำ Ecommerce Tracking ใน GA4 รวมทุกเรื่องควรรู้
การทำ Ecommerce tracking ใน Google Analytics ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญ และจำเป็นมากที่ต้องทำ เพื่อที่จะสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อสินค้า และพฤติกรรมการซื้อ รวมถึงทำให้ทราบไปถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในในแต่ละขึ้นตอนของการสั่งซื้อ ตั้งแต่ดูสินค้า เพิ่มสินค้าในตะกร้า จนกระทั่งชำระค่าสินค้า ซึ่งการที่เรามีข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้เราสามารถนำไปใช้ในการทำการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายได้ดีขึ้น สามารถแก้ไขจุดที่เป็นปัญหาในการสั่งซื้อสินค้า เพื่อให้ Purchase Journey ของลูกค้าภายในเว็บไซต์สะดวกสบาย และตัดสินใจซื้อได้ง่ายที่สุด
แต่การจะได้มาซึ่งข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น จำเป็นต้องเก็บข้อมูลให้ถูกต้องด้วย ซึ่งวิธีการนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับนักการตลาดทั่วไปที่เน้นการวิเคราะห์ใช้งานข้อมูลมากกว่าไปปวดหัวเรื่องการเขียนโค้ด หรือการคุยกับทีม dev แต่สำหรับนักการตลาดที่เข้าใจเรื่องเทคนิคอลอยู่บ้าง การอ่านทำความเข้าใจ และศึกษาการใช้งาน Google Tag Manager ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้เช่นกัน บทความนี้จะสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง Ecommerce Tracking ใน GA4 ที่นักการตลาดควรต้องรู้ Continue reading
Session Conversion Rate และ User Conversion Rate ใน GA4

สร้าง GA4 report ด้วย Google Data Studio ง่ายนิดเดียว
การสร้างรีพอร์ท GA4 ใน Data Studio มีหลักการและวิธีการที่ไม่แตกต่างจาก GA3 ดังนั้นคนที่เคยสร้าง GA report ใน Google Data Studio มาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการอะไร นอกเสียจากว่าควรจะต้องทำความเข้าใจคำศัพท์ใหม่ GA4 และคำศัพท์หลายคำที่เปลี่ยนไปจากเดิมค่อนข้างมาก ขอย้ำว่าความเข้าใจเดิมๆ ใน GA เวอร์ชั่นก่อนหน้านั้น หลายอย่างไม่สามารถนำมาใช้ใน GA4 ได้ ดังนั้นเรื่อง Definition ของ GA4 ทั้ง Dimension และ Metrics ใน GA4 จึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ใหม่เกือบทั้งหมด สำหรับใครที่ยังไม่เคยมีบัญชี Google Data Studio หรือยังไม่เคยสร้างรีพอร์ท แนะนำให้เริ่มต้นจากบทความ สอนใช้งาน Google Data Studio ตอนที่ 1 สำหรับผู้เริ่มต้น Continue reading