
5 Why แนวคิดการแก้ปัญหาด้วยคำว่า “ทำไม”

know how google analytics help marketer make a better marketing decision
จริงๆ เรื่องนี้คนที่มีประสบการณ์กับ Google Analytics มาพอสมควรน่าจะพอตอบได้ว่า ทำไมอยู่ดีๆ วันหนึ่ง Pageviews ก็หายไปเกือบครึ่งหนึ่ง ส่วน Bounce Rate ก็สูงขึ้นแบบน่าตกใจ จะว่าไปแล้วกรณีนี้ถือเป็นปัญหา ซึ่งจริงๆ ควรเรียกว่า “ความผิดพลาด” มากกว่า และก็ถือเป็นกรณีศึกษาพื้นฐานที่ทุกคนที่ใช้งาน Universal Google Analytics ควรจะต้องเข้าใจกันไว้ เพราเผื่อว่าวันหนึ่งอาจจะต้องเจอเหตุการณ์นี้กับตัวเอง จะได้รู้ว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร
จากภาพตัวอย่างที่ผมแคปมาให้ดูนั้น จะเห็นว่าเส้นสีน้ำเงินที่เป็นเส้นแสดงจำนวน Pageviews นั้น อยู่ดีๆ ก็ตกไปครึ่งหนึ่ง ส่วนเส้นสีฟ้าที่แสดงค่า Bounce Rate นั้นสูงขึ้นแบบน่าตกใจคือ จากประมาณ 15% เป็น 70% กรณีศึกษานี้เป็นเคสจริงที่ผมเจอบ่อยมาก และภาพนี้ก็มาจาก 1 ในเคสที่เจอ ถ้ามองอย่างผิวเผินเหตุการณ์เช่นนี้มักจะทำให้แบรนด์หรือคนที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์นี้เกิดความกังวลสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น จะแก้ไขอย่างไร จะหาคำตอบเหตุผลไปอธิบายในที่ประชุมอย่างไร เพราะค่าสองค่านี้มักจะถูกนำไปใส่ในรีพอร์ตเพื่อพรีเซนต์ และใช้เป็น KPIs กันอยู่ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้เป็น KPI กันแล้วนะครับ เหตุผลผมเขียนอธิบายไว้ตอนท้ายบทความนี้แล้ว Continue reading
สำหรับคนที่ใช้ Google Analytics มานานกว่า 10 ปีจะทราบดีว่า Google Analytics มาการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอัพเดทเวอร์ชั่นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเท่าที่ผ่านมานั้น 3 เวอร์ชั่นแรกการเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ แต่สำหรับเวอร์ชั่นที่ 4 นี้ หรือ Google เรียกเป็นทางการว่า GA4 (เปลี่ยนชื่อจาก App and Web Property ที่เปิดให้ทดลองใช้มาประมาณปีหนึ่ง) นั้นถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกับ User Interface และรีพอร์ทต่างๆ เรียกว่าเกือบจะต้องเรียนรู้ใหม่กันเลยทีเดียว ไม่นับเรื่องรายละเอียดทางเทคนิคอลซึ่งขออนุญาติยังไม่กล่าวถึงในตอนนี้นะครับ ผมเองขอดูรายละเอียดแบบลงดีเทลอีกสักพัก Continue reading
ผู้เริ่มต้นใช้งาน Google Analytics ส่วนใหญ่นั้น มักจะเริ่มต้นกันด้วยการเปิดแอคเคาท์ Google Analytics แล้วก็เอาสคริปต์ที่ได้มาไปติดตั้งบนเว็บไซต์ เสร็จแล้วก็เร่ิมต้นอ่านรีพอร์ทกันเลย จะว่าไปสมัยนานมาแล้วผมก็ทำแบบนี้แหละครับ คือติดสคริปต์เสร็จเป็นอันจบกันดูรีพอร์ทกันไปยาวๆ ซึ่งนี่คือข้อดีข้อหนึ่งของ Google Analytics เพราะแค่วางโค้ดเสร็จข้อมูลก็เริ่มบันทึกทันที ไม่ต้องตั้งค่าอะไรให้ซับซ้อนก็มีข้อมูลและรีพอร์ทมากมายให้ดูกันไม่หมด จนหลายคนก็อาจจะรู้สึกว่าแค่รีพอร์ทที่ได้มาจากการวางโค้ดไว้เฉยๆ ก็มากมายเพียงพอแล้ว คงไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรเพิ่มเติมอีก ซึ่งต้องบอกว่าเป็นการใช้ความสามารถของ Google Analytics ได้อย่างไม่เต็มความสามารถ Continue reading
ทุกคนที่ใช้ Google Analytics คงจะรู้จักคำว่า Direct Traffic หรือ Traffic Channel ที่ชื่อว่า Direct กันเป็นอย่างดีแล้ว แต่รู้จักก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะเข้าใจมันอย่างถูกต้องนะครับ ความหมายหนึ่งที่หลายคนจดจำ และถูกถ่ายทอดต่อกันไปนั่นก็คือ “Direct Traffic เป็นทราฟฟิคที่เกิดจากการพิมพ์ URL เข้ามาโดยตรง” ซึ่งถ้าว่ากันตามรายละเอียดแล้วยังถือว่าเป็นความหมายที่ยังไม่ถูกต้อง พอเข้าใจกันประมาณนี้ ปัญหาที่ตามมาก็คือ การวิเคราะห์และตีความหมายที่ผิดพลาด เช่น พอ Direct Traffic เติบโตขึ้น ก็อาจจะคิดว่า Brand Awareness ดี หรือยูสเซอร์มี Loyalty สูงทำนองนั้น ดังนั้นบทความนี้จะพามาทำความเข้าใจ Direct Traffic ให้ถูกต้องกันจริงๆ Continue reading