Bounce Rate ใน GA4 แตกต่างจากใน GA3 อย่างไร

GA4 bounce rate คืออะไร แตกต่างจาก Bounce Rate ใน GA3 อย่างไร

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Google ประกาศเรื่องการอัพเดท GA4 อีกครั้ง นำมาซึ่งความตื่นเต้นเล็กน้อยสำหรับคนที่ใช้งาน GA ก็คือเรื่องการนำ Bounce Rate กลับมาใน GA4 หลังจากที่มีการตัดออกไปก่อนหน้า จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ สำหรับคนที่ยังต้องรีพอร์ทตัวเลข Bounce Rate ก็คงดีใจกันไม่มากก็น้อย

ส่วนตัวผมแล้ว ไม่ได้รู้สึกอะไรเป็นพิเศษกับ Bounce Rate ใน GA4 แต่เป็นเพราะอะไรเดี๋ยวจะค่อยๆ อธิบายในบทความนี้ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่อยู่ในประกาศครั้งนี้ซึ่งหลายคนไม่ได้พูดถึงก็การกลับมาของ Conversion Rate ที่ผมรอมาอย่างยาวนานว่าเมื่อไรจะมีใน GA4 เสียที ก็ไม่รู้ว่าทำไมถึงเพิ่งจะปล่อยออกมาทั้งที่เป็นตัวเลขสำคัญที่ไม่ได้มีการคำนวนซับซ้อน และว่ากันตามตรง Conversion Rate เป็นตัวเลขที่เรามักจะนำมาใช้ Action ในการตัดสินใจได้ดีกว่า Bounce Rate Continue reading

GA4 – Engaged Sessions คืออะไร ใน Google Analytics เวอร์ชั่น 4

คนที่เริ่มต้นใช้งาน GA4 หรือ Google Analytics เวอร์ชั่นที่ 4 อาจจะสงสัยว่า Engaged Sessions ซึ่งเป็นเมทริคใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน GA4 คืออะไร พร้อมกับคำถามที่มาคู่กันว่า แล้ว Bounce Rate หายไปไหน ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมเคยเขียน และเคยพูดให้ฟังไปบ้างแล้วในช่วงที่มีการไลฟ์ผ่าน Facebook แต่ก็ยังมีหลายคนยังไม่เข้าใจความแตกต่าง และวิธีการที่ Google ใช้นับ Bounce Sessions และ Engaged Sesssions ว่าแตกต่างกันอย่างไร

เรื่อง GA4 เลิกใช้ Bounce Rate  ผมได้เคยเขียนอธิบายไว้แล้ว ว่าทำไม Google ถึงยกเลิก และทำไมเราควรใช้ Engaged Sesssion แทน รวมไปถึงวิธีการคำนวน Engagement Rate ซึ่งเป็นเมทริคที่นำมาใช้แทน Bounce Rate ในบทความนี้ขยายภาพให้ชัดและเข้าใจง่ายขึ้นถึง ความแตกแตกของ Bounced Sessions และ Engaged Sessions ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่คนใช้ GA ควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องจริงๆ

ความแตกต่างและวิธีการนับ-engaged-sessions-bounced-session Continue reading

GA4 เลิกใช้ Bounce Rate แล้ว แล้วจะใช้อะไรแทนกันดี

bounce-rate-หายไป-GA4

คนที่ใช้ Google Analytics ทั้งมือใหม่และมือเก่าคงรู้จัก Bounce Rate กันเป็นอย่างดี (ส่วนจะเข้าใจผิดหรือเข้าใจถูกก็อีกนึงนะครับ) ค่า Bounce Rate นี้จัดเป็นตัวเลขยอดนิยมที่ผมมักจะเห็นทุกคนกำหนดเป็น KPI และใส่ไว้ใน Weekly และ Monthly Report สำหรับใช้พรีเซนต์ในที่ประชุมกันเสมอ ทั้งๆ ที่เลขนี้ไม่ใช่ค่าที่ดีและเหมาะสมเท่าไรนักที่จะเอามาใช้ทำงานกัน ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นก็คือ ใครที่กำลังทดลองใช้ GA4 จะหาค่า Bounce Rate ไม่เจอแล้ว เพราะ Google Analytics เวอร์ชั่น 4 จะไม่มีค่านี้อีกต่อไป !!! แต่ก็จะมีค่าที่ดีกว่ามาให้ใช้แทน

Bounce Rate คืออะไร

เรื่องที่ต้องเข้าใจก่อนคือ Bounce เกิดขึ้นได้อย่างไร Bounce โดยค่าดีฟอลต์เกิดจากการเข้าดูเว็บไซต์เพียง 1 หน้าเท่านั้น แล้วก็ออกจากเว็บไซต์ไป ย้ำตรงนี้เรื่องที่ย้ำอยู่เสมอก็คือ Bounce ไม่ได้เกิดจากการเข้าเว็บไซต์แล้วออกทันทีหรืออยู่ไม่เกิน X วินาทีอย่างที่หลายคนเข้าใจผิดกันอยู่​ (เรื่อง Bounce Rate สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากที่ผมเคยเขียนไว้แล้ว เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการนับ Session และ Bounce ใน Google Analytics) วิธีการคำนวน Bounce Rate ก็จะคำนวนโดยการนำ Bounce Sesssion มาหารด้วยจำนวน Session ทั้งหมด เราก็จะได้ค่า Bounce Rate เป็น % ที่เราเห็นกันมาตลอด

ทำไม GA4 ถึงเลิกใช้ Bounce Rate

นั่นเป็นเพราะ Bounce Rate เป็นค่าที่ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไรนัก และไม่ได้บ่งบอกถึง Engagement ของคนที่เข้ามาในเว็บไซต์จริงๆ ให้ลองนึกถึงเวลาที่ทุกคนอ่านบทความจำพวกข่าว หรือ Blog ของ Google Analytics Thailand นี่ก็ได้ครับ คนส่วนใหญ่ก็มักจะอ่านบทความจนจบสมบูรณ์แล้วก็ออกจะเว็บไซต์กลับไปไถ Facebook ต่อเป็นต้น การเข้ามาอ่านบทความแล้วออกแบบนี้ก็จะกลายเป็น Bounce ทันที ทั้งที่ Session นี้เป็น Session ที่มี Engagement เห็นด้วยไหมครับ นี่แหละครับปัญหาของ Bounce Rate ที่ทำให้เราตีความผิดพลาดได้

อีกประเด็นหนึ่งที่ GA4 เอา Bounce Rate ออกไปนั้นเป็นเพราะ GA4 ถูกออกแบบมาเพื่อเก็บข้อมูลรวมทั้ง Web และ App และเพื่อการอ่านรีพอร์ทที่ต่อเนื่องและเป็นแบบเดียวกันก็ไม่น่าแปลกใจที่ Bounce Rate จะไม่สามารถไปต่อ เพราะในส่วนของ App นั้นจะไม่มีค่านี้

GA4 ใช้อะไรแทน Bounce Rate

GA4 เปลี่ยนแนวคิดจาก Bounce Session มาเป็น “Engaged Session” แทน ซึ่งอย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ว่า Session ที่ Bounce นั้นก็มี Session ที่ Engage รวมอยู่ด้วย ดังนั้นมันคงดีกว่าแน่นอนถ้า GA4 สามารถแยก Session ที่มีการ engage ออกมาเป็นตัวเลขอย่างชัดเจน โอ้ววว ดีจริงๆ ว่าไหมครับ 🙂 ว่าแต่ GA4 มีวิธีการนับ Session อย่างไร ว่า Session ไหนที่ถือว่ามีการ Engaged

GA4 มีวิธีการนับ Engaged Session อย่างไร

การที่ Session ใดจะจัดเป็น Engaged Session นั้นจะต้องมีเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งจาก 3 ข้อนี้

  1. มีการแอคทีฟกับหน้าเว็บไซต์ที่เปิดค้างไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 10 วินาที ในกรณีที่ Minimize หน้าจอ Browser ลงไปก่อน 10 วินาที แบบนี้ก็จะไม่นับ
  2. มีการดู Screen View หรือ Pageview อย่างน้อย 2 หน้า
  3. มีการเกิด Conversion Event สำหรับกรณีนี้อธิบายยากสักหน่อยสำหรับตอนนี้ เพราะเป็นส่ิงที่เราต้องเซ็ตใน GA4 มาก่อน

เมทริคใหม่ที่ถูกนำมาใช้แทน Bounce Rate

พอ GA4 เปลี่ยนแนวคิดมาใช้ Engaged Session แทน Bounce Session แล้ว เมทริคใหม่ที่มาแทนจะมีดังนี้

  1. Engagement Rate = (Engaged Sessions) / (Total Sessions)
    สำหรับผมแล้ว ตัวนี้เป็นเมทริคหลักที่จะใช้ทดแทน Bounce Rate โดยตรง ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าค่านี้ให้ความหมายที่ดีกว่าจริงๆ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น หากมีการเข้าใช้งานเว็บไซต์ 100 Sessions แต่มี Session ที่เป็น Bounce อยู่ 50 Sessions (Session ที่ดูเว็บไซต์เพียงหน้าเดียวโดยค่าดีฟอลต์) ค่า Bounce Rate จะเป็น 50% แต่อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้าว่า Bounce Session นั้นจะมีบางส่วนที่อ่านหน้าเว็บไซต์นั้นจนจบ หมายความว่ามีการ Engage จริงและคงต้องอยู่เกิน 10 วินาทีแน่นอน สมมุติเอาว่า มี 20 Sessions จาก 50 Sessions ที่เป็น Bounce แต่มีการ Engaged จริงตามเงื่อนไขของ GA4 แบบนี้ก็เท่ากับว่าทั้งหมด 100 Sessions มี Engaged Sessions ทั้งหมด 70 Sessions ดังนั้นค่า Engagement Rate ก็จะเป็น 70% ซึ่งเป็นค่าที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ใช้งานกว่าจริงไหมครับ:)
  2. Engaged Sessions per User = (engaged sessions) / (users)
    ค่านี้แปลความหมายตรงตัวเลยครับ เป็นค่าที่บอกว่า  User 1 User มีจำนวน Engaged Sessions โดยเฉลี่ยเท่าไร
  3. Average Engagement Time = sum(engagement time) / (Total Sessions)
    ค่านี้ฟังดูคล้ายๆ กับ Average Session Duration ที่เราคุ้นเคยกันกับ GA เวอร์ชั่นปัจจุบัน แต่ถ้าลงในรายละเอียดแล้ว ค่า Average Engagement Time นั้นจะมีความถูกต้องแม่นยำกว่ามากๆ เพราะ GA4 นั้นมีการบันทึกค่า Engagement Time ที่ค่อนข้างละเอียด(ไว้มีโอกาสจะเขียนลงรายละเอียดให้อีกทีครับ) และถ้าใครเคยเรียนคอร์ส Intensive Google Analytics จะทราบดีว่าค่า Average Session Duration นั้นมีค่าความคลาดเคลื่อนสูงมาก และที่ผ่านมาเราก็กำลังอ่านค่าที่ไม่ถูกต้องกันอยู่

แชนแนลรีพอร์ทใน GA4

ตัวอย่างภาพด้านบนนี้เป็น Traffic Acquisition Report ใน GA4 ของเว็บ Google Analytics Thailand ที่ผมติดตั้ง GA4 ไว้ตอนที่ยังชื่อ App and Web Property สังเกตว่าค่าดีฟอล์ตเมทริคจะมีของเดิมแค่บางส่วนคือ จำนวน Users, Sessions, Conversion และ Revenue ที่เหลือเป็นเมทริคใหม่ทั้งหมด รวมถึงเมทริคที่มาแทน Bounce Rate ทั้ง 3 ตัวที่กล่าวมาแล้วคือ Engaged Sessions, Average Engagement Time per Session, Engagement Rate เป็นต้น

ถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนไปใช้ GA4 หรือยัง?

เป็นคำถามที่ผมได้รับบ่อยมากในช่วงนี้ ต้องบอกว่ายังไม่ใช่เวลาที่นำมาใช้ทดแทนทันที แต่เป็นเวลาที่ควรเริ่มต้นติดตั้งและศึกษาใช้งานควบคู่ไปกับเวอร์ชั่นเดิมก่อน เนื่องจากเหตุผลหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นฟังชั่นฟีเจอร์ที่ยังไม่สมบูรณ์ ปัญหาการใช้งานที่ยังถูกรีพอร์ทอยู่เป็นระยะ ปัญหาหนึ่งที่ผมเจอเองในการทดสอบก็คือ การติด UTM tagging นั้นเมื่อ GA4 บันทึกยังมีการบันทึกผิดพลาดหรือบันทึกไม่ได้อยู่ ซึ่งก็พบว่าเป็นปัญหาที่ถูกถามในฟอรั่มของ Google Analytics ในต่างประเทศด้วยเช่นกัน และก็ยังไม่มีคำตอบ และประเด็นหลักที่เราคงยังต้องใช้งานเวอร์ชั่นเดิมต่อไปก่อนเป็นเพราะว่า เมื่อเราสร้างบัญชี GA4 นั้นข้อมูลจะเพิ่งเริ่มมีการเก็บ หมายความว่าเราจะไม่สามารถทำรีพอร์ทจำพวก YOY (Year on Year) ได้ ถ้าจะไปเทียบกับ GA เวอร์ชั่นเดิม หลายเมทริคก็ไม่เหมือนเดิมแล้วทั้งชื่อเมทริคและวิธีการเก็บข้อมูลกันคนละแบบ เปรียบเทียบกันก็จะมีความไม่ถูกต้อง และสุดท้ายเว็บไซต์ที่ทำ tracking ไว้เยอะๆ ไม่ว่าจะเป็น Event Tracking, Ecommerce Tracking นั้น ถ้าจะทำกับ GA4 ให้ครบตามเดิมทุกอย่างนั้น แน่นอนว่าใช้เวลาไม่น้อยทีเดียว ระหว่างนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่ยังต้องใช้ของเดิมควบคู่ไปกับการเรียนรู้ของใหม่อย่างน้อยอีก 1 ปี เอาไว้ผมจะทยอยเขียนบทความอัพเดท GA4 ให้ทุกคนเรียนรู้กันไปเรื่อยๆ นะครับ 🙂

Happy Analytics!
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดทุกบทความ แอดเฟรนด์ LINE : @pornthep
สนใจคอร์สเรียน Google Analytics อ่านรายละเอียด

เกิดอะไรขึ้น ทำไม Pageviews ลดลง Bounce Rate สูงขึ้น

Bounce Rate สูงขึ้น Pageviews ลดลงเกิดจากอะไร

จริงๆ เรื่องนี้คนที่มีประสบการณ์กับ Google Analytics มาพอสมควรน่าจะพอตอบได้ว่า ทำไมอยู่ดีๆ วันหนึ่ง Pageviews ก็หายไปเกือบครึ่งหนึ่ง ส่วน Bounce Rate ก็สูงขึ้นแบบน่าตกใจ จะว่าไปแล้วกรณีนี้ถือเป็นปัญหา ซึ่งจริงๆ ควรเรียกว่า “ความผิดพลาด” มากกว่า และก็ถือเป็นกรณีศึกษาพื้นฐานที่ทุกคนที่ใช้งาน Universal Google Analytics ควรจะต้องเข้าใจกันไว้ เพราเผื่อว่าวันหนึ่งอาจจะต้องเจอเหตุการณ์นี้กับตัวเอง จะได้รู้ว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร

จากภาพตัวอย่างที่ผมแคปมาให้ดูนั้น จะเห็นว่าเส้นสีน้ำเงินที่เป็นเส้นแสดงจำนวน Pageviews นั้น อยู่ดีๆ ก็ตกไปครึ่งหนึ่ง ส่วนเส้นสีฟ้าที่แสดงค่า Bounce Rate นั้นสูงขึ้นแบบน่าตกใจคือ จากประมาณ 15% เป็น 70% กรณีศึกษานี้เป็นเคสจริงที่ผมเจอบ่อยมาก และภาพนี้ก็มาจาก 1 ในเคสที่เจอ ถ้ามองอย่างผิวเผินเหตุการณ์เช่นนี้มักจะทำให้แบรนด์หรือคนที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์นี้เกิดความกังวลสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น จะแก้ไขอย่างไร จะหาคำตอบเหตุผลไปอธิบายในที่ประชุมอย่างไร เพราะค่าสองค่านี้มักจะถูกนำไปใส่ในรีพอร์ตเพื่อพรีเซนต์ และใช้เป็น KPIs กันอยู่ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้เป็น KPI กันแล้วนะครับ เหตุผลผมเขียนอธิบายไว้ตอนท้ายบทความนี้แล้ว Continue reading

เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการนับ Session และ Bounce ใน Google Analytics

sesssin-bounce-google-analytics-misunderstood

เรื่องเข้าใจผิดเรื่องเดิมๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ จนทุกวันนี้ก็ยังเข้าใจผิดกันอยู่พอสมควร คือเรื่องของวิธีการนับ Session ใน Google Analytics และเรื่องของ Bounce Rate ว่ามีวิธีการคิดอย่างไร เอาจริงๆ แล้วเรื่อง Bounce นี่ผมเองก็เคยเขียนมาหลายรอบแล้ว แต่ที่ยังต้องเอามาเขียนครั้งนี้อีก เพราะเมื่อไม่นานนี้ก็ยังเห็นโพสต์ถามตอบใน Facebook Group ที่เกี่ยวกับ Digital Marketing ยังมีการตอบกันอย่างผิดๆ อยู่ ซึ่งผมเห็นแล้วคิดว่าควรต้องเขียนเรื่องนี้อีกสักรอบกันให้กระจ่าง เพราะเป็นเรื่องที่น่ากังวล (เป็นการส่วนตัว) ที่เห็นว่ายังมีการถ่ายทอดสิ่งที่ไม่ถูกต้องกันต่อไปอีกเรื่อยๆ ดังนั้นบทความนี้จะตอบคำถามหลักๆ 3 คำถามที่คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดกันอยู่ ได้แก่

Google Analytics มีวิธีการนับจำนวน Session อย่างไร?

Bounce Rate มีวิธีการคิดที่ถูกต้องอย่างไร?

Bounce Rate ต่ำเกิดจากอะไร ทำไมไม่ใช่เรื่องที่น่าดีใจ?

แต่ก่อนจะตอบคำถาม 3 คำถามนี้ เรื่องสำคัญที่จะต้องเข้าใจกันเสียก่อนก็คือเรื่องของ Hit และ Interaction ใน Google Analytics Continue reading