เรื่องควรรู้ก่อนย้าย GA3 Event ไป GA4 Event

เรื่องควรรู้ก่อนทำ Event migration GA3 to GA4ผมย้ำถึงความสำคัญของ GA4 event ค่อนข้างมากในหลายๆ บทความ แต่หลายคนอาจจะยังนึกภาพไม่ออกว่าสำคัญแค่ไหน เปลี่ยนไปจาก GA3 อย่างไร ภาพนี้เป็นภาพที่อธิบายได้ค่อนข้างง่ายและชัดเจน และเป็นหนึ่งใน Slide ที่ใช้สอน GA4 รวมถึงใช้พูดคุยกับลูกค้าที่กำลัง Migrate จาก GA3 ไป GA4 เพื่อให้เข้าใจถึงคอนเซ็ปท์ของ GA4 event อย่างถูกต้อง และมีการวางแผนก่อนที่จะเริ่มลงมือ Implement จะได้ไม่ต้องเสียเวลากลับมาแก้ไขกันอีก บทความนี้ขอสรุปเอาสาระสำคัญมาให้ทำความเข้าใจกันว่า GA4 Event เปลี่ยนไปจาก GA3 อย่างไร Continue reading

GA4 – Audience Trigger ฟีเจอร์ใหม่ที่มีเฉพาะใน GA4 เท่านั้น

GA4 audience triggers ฟีเจอร์ใหม่ที่ทำให้การ Track Event ง่ายขึ้น

หลังจาก GA4 กลายเป็นเวอร์ชั่นมาตรฐานของการติดตั้ง Google Analytics และหลายๆ เว็บไซต์ก็เริ่มติดตั้งและใช้งานกันบ้างแล้ว แต่ว่ากันตามตรง ในการทำงานจริงเราก็ยังใช้ GA3 หรือ Universal Analytics กันเป็นหลักอยู่ แม้ว่า Google ยังไม่ได้ปิดบริการส่วน GA3 และเราก็ยังสามารถที่จะติดตั้ง GA3 กับเว็บที่สร้างใหม่ได้อยู่ (สำหรับคนที่ต้องการเปิดบัญชี GA3 สามารถทำตามขั้นตอนได้จากบทความ วิธีการติดตั้ง GA4 และ GA3) แต่ Google ก็ประกาศว่า การอัพเดทฟีเจอร์ใหม่ๆ จะทำที่ GA4 เท่านั้น ดังนั้นการเริ่มต้นเรียนรู้ GA4 จึงเป็นสิ่งที่ควรทำต้องแต่วันนี้ Continue reading

GA4 event tracking คืออะไร พร้อมคำแนะนำในการติดตั้ง

รู้จัก event tracking ใน GA4

Event Tracking ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่งในการใช้งาน Google Analytics ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญแต่ก็ยังมีหลายคนที่ไม่รู้จัก หรือรู้จักแต่ก็ไม่เคยใช้งานกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เพราะข้อมูล Event Tracking นั้นจะช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมต่างๆ ของยูสเซอร์ที่ใช้งานแพลตฟอร์มของเราได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น แทนที่จะรู้เพียงแค่ดู “หน้าไหน” ซึ่งถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่เราคุ้นเคยกันใน Dimension และ Metric ที่ชื่อว่า Pages และ Pageviews ตามลำดับ และถ้าว่ากันตามตรงก็เป็นข้อมูลที่ใช้ประโยชน์ได้ไม่มากนัก ยิ่งโดยเฉพาะกับการจะหา User Insight หรือ Behavior นั้น Pages และ Pageviews แทบจะไม่มีประโยชน์เลยทีเดียว

Event tracking คืออะไร

Event tracking คือ แอดวานซ์ฟีเจอร์ที่ช่วยให้เราสามารถบันทึกข้อมูลในเชิงพฤติกรรมต่างๆ ที่ยูสเซอร์ได้สร้าง Interaction เกิดขึ้นภายในเว็บไซต์หรือแอปของเรา ยกตัวอย่างเช่น การดาวน์โหลดไฟล์ การคลิ้กลิงค์ การกด Play วิดีโอ การกดปุ่ม Form Submit หรือกระทั่งการ Scroll down หน้าเว็บไซต์ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ Gooogle Analytics จะไม่เก็บข้อมูลให้โดยดีฟอลต์จากการวาง Base Code ไว้บนหน้าเว็บไซต์ Continue reading

เกิดอะไรขึ้น ทำไม Pageviews ลดลง Bounce Rate สูงขึ้น

Bounce Rate สูงขึ้น Pageviews ลดลงเกิดจากอะไร

จริงๆ เรื่องนี้คนที่มีประสบการณ์กับ Google Analytics มาพอสมควรน่าจะพอตอบได้ว่า ทำไมอยู่ดีๆ วันหนึ่ง Pageviews ก็หายไปเกือบครึ่งหนึ่ง ส่วน Bounce Rate ก็สูงขึ้นแบบน่าตกใจ จะว่าไปแล้วกรณีนี้ถือเป็นปัญหา ซึ่งจริงๆ ควรเรียกว่า “ความผิดพลาด” มากกว่า และก็ถือเป็นกรณีศึกษาพื้นฐานที่ทุกคนที่ใช้งาน Universal Google Analytics ควรจะต้องเข้าใจกันไว้ เพราเผื่อว่าวันหนึ่งอาจจะต้องเจอเหตุการณ์นี้กับตัวเอง จะได้รู้ว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร

จากภาพตัวอย่างที่ผมแคปมาให้ดูนั้น จะเห็นว่าเส้นสีน้ำเงินที่เป็นเส้นแสดงจำนวน Pageviews นั้น อยู่ดีๆ ก็ตกไปครึ่งหนึ่ง ส่วนเส้นสีฟ้าที่แสดงค่า Bounce Rate นั้นสูงขึ้นแบบน่าตกใจคือ จากประมาณ 15% เป็น 70% กรณีศึกษานี้เป็นเคสจริงที่ผมเจอบ่อยมาก และภาพนี้ก็มาจาก 1 ในเคสที่เจอ ถ้ามองอย่างผิวเผินเหตุการณ์เช่นนี้มักจะทำให้แบรนด์หรือคนที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์นี้เกิดความกังวลสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น จะแก้ไขอย่างไร จะหาคำตอบเหตุผลไปอธิบายในที่ประชุมอย่างไร เพราะค่าสองค่านี้มักจะถูกนำไปใส่ในรีพอร์ตเพื่อพรีเซนต์ และใช้เป็น KPIs กันอยู่ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้เป็น KPI กันแล้วนะครับ เหตุผลผมเขียนอธิบายไว้ตอนท้ายบทความนี้แล้ว Continue reading

Event tracking ใน Google Analytics เรื่องจำเป็นที่ต้องทำ

event-tracking-คืออะไร

ผู้เริ่มต้นใช้งาน Google Analytics ส่วนใหญ่นั้น มักจะเริ่มต้นกันด้วยการเปิดแอคเคาท์ Google Analytics แล้วก็เอาสคริปต์ที่ได้มาไปติดตั้งบนเว็บไซต์ เสร็จแล้วก็เร่ิมต้นอ่านรีพอร์ทกันเลย จะว่าไปสมัยนานมาแล้วผมก็ทำแบบนี้แหละครับ คือติดสคริปต์เสร็จเป็นอันจบกันดูรีพอร์ทกันไปยาวๆ ซึ่งนี่คือข้อดีข้อหนึ่งของ Google Analytics เพราะแค่วางโค้ดเสร็จข้อมูลก็เริ่มบันทึกทันที ไม่ต้องตั้งค่าอะไรให้ซับซ้อนก็มีข้อมูลและรีพอร์ทมากมายให้ดูกันไม่หมด จนหลายคนก็อาจจะรู้สึกว่าแค่รีพอร์ทที่ได้มาจากการวางโค้ดไว้เฉยๆ ก็มากมายเพียงพอแล้ว คงไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรเพิ่มเติมอีก ซึ่งต้องบอกว่าเป็นการใช้ความสามารถของ Google Analytics ได้อย่างไม่เต็มความสามารถ Continue reading