เกิดอะไรขึ้น ทำไม Pageviews ลดลง Bounce Rate สูงขึ้น

Bounce Rate สูงขึ้น Pageviews ลดลงเกิดจากอะไร

จริงๆ เรื่องนี้คนที่มีประสบการณ์กับ Google Analytics มาพอสมควรน่าจะพอตอบได้ว่า ทำไมอยู่ดีๆ วันหนึ่ง Pageviews ก็หายไปเกือบครึ่งหนึ่ง ส่วน Bounce Rate ก็สูงขึ้นแบบน่าตกใจ จะว่าไปแล้วกรณีนี้ถือเป็นปัญหา ซึ่งจริงๆ ควรเรียกว่า “ความผิดพลาด” มากกว่า และก็ถือเป็นกรณีศึกษาพื้นฐานที่ทุกคนที่ใช้งาน Universal Google Analytics ควรจะต้องเข้าใจกันไว้ เพราเผื่อว่าวันหนึ่งอาจจะต้องเจอเหตุการณ์นี้กับตัวเอง จะได้รู้ว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร

จากภาพตัวอย่างที่ผมแคปมาให้ดูนั้น จะเห็นว่าเส้นสีน้ำเงินที่เป็นเส้นแสดงจำนวน Pageviews นั้น อยู่ดีๆ ก็ตกไปครึ่งหนึ่ง ส่วนเส้นสีฟ้าที่แสดงค่า Bounce Rate นั้นสูงขึ้นแบบน่าตกใจคือ จากประมาณ 15% เป็น 70% กรณีศึกษานี้เป็นเคสจริงที่ผมเจอบ่อยมาก และภาพนี้ก็มาจาก 1 ในเคสที่เจอ ถ้ามองอย่างผิวเผินเหตุการณ์เช่นนี้มักจะทำให้แบรนด์หรือคนที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์นี้เกิดความกังวลสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น จะแก้ไขอย่างไร จะหาคำตอบเหตุผลไปอธิบายในที่ประชุมอย่างไร เพราะค่าสองค่านี้มักจะถูกนำไปใส่ในรีพอร์ตเพื่อพรีเซนต์ และใช้เป็น KPIs กันอยู่ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้เป็น KPI กันแล้วนะครับ เหตุผลผมเขียนอธิบายไว้ตอนท้ายบทความนี้แล้ว Continue reading

ตรวจสอบและวิเคราะห์ 404s Error Page ด้วย Google Analytics

Error Page 404s คืออะไร?

หน้า Error 404 หรือหน้าที่มีข้อความแสดงว่า File not found นั้นเกิดจากการที่ไฟล์ HTML ที่เราเรียก (request) ไปนั้น server ตอบกลับมา (http response) ว่า “ไม่พบ” แปลโดยสรุปให้เข้าใจง่ายคือ Error 404 เกิดขึ้นเมื่อเราคลิ้กที่ Broken Link ซึ่งก็คือลิงค์ที่เรียกไปยังไฟล์ที่ไม่มีอยู่แล้วใน server นั่นเอง

แล้วจำเป็นต้องสนใจไหม?

โดยทั่วไปแล้วหน้า 404 มักค่อยมีใครให้ความสำคัญ นั่นเพราะเราไม่เคยเข้าไปดูมันอย่างจริงจัง หรือเราเองไม่ค่อยจะเจอจึงคิดว่าคนอื่นก็ไม่ค่อยเจอ การจะให้ความสำคัญมากน้อยแค่ไหนนั้น ให้ลองดูที่จำนวน Pageview ของหน้า 404 ที่เกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นมากก็ควรรีบเข้าไปแก้ไขโดยด่วน เพราะเราเองคงไม่อยากให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์แย่ๆ จริงไหมครับ Continue reading

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ Fragment URLs

Fragment-url

Fragment URLs คืออะไร?
Fragment URLs คือ URL ที่มีเครื่องหมาย # hashtag อยู่ใน URL นั่นแหละครับ ยกตัวอย่างเช่น
googleanalyticsthailand.wordpress.com#article1
ส่วนของ URL ก่อนหน้า : # ซึ่งก็คือ “googleanalyticsthailand.wordpress.com” จะเป็นส่วนที่ browser ใช้ download เอกสาร HTML และส่วนของ URL หลัง # หรือคำว่า “article1” จะเป็นส่วนที่เรียกว่า Fragment identifier ซึ่งโดยมากใช้ระบุตำแหน่งเอกสารบนหน้า HTML นั้น ซึ่งเราคงจะเคยพบว่าบาง link ที่เราคลิ้กบนเว็บไซต์บางเว็บนั้นไม่ได้เกิดการเปลี่ยนหน้าใหม่ แต่หน้า browser จะวิ่งไปหาส่วนของข้อความบางส่วนในหน้านั้น อย่างนี้แหละครับที่ต้องใช้ Fragment URL Continue reading