ตรวจสอบและวิเคราะห์ 404s Error Page ด้วย Google Analytics

Error Page 404s คืออะไร?

หน้า Error 404 หรือหน้าที่มีข้อความแสดงว่า File not found นั้นเกิดจากการที่ไฟล์ HTML ที่เราเรียก (request) ไปนั้น server ตอบกลับมา (http response) ว่า “ไม่พบ” แปลโดยสรุปให้เข้าใจง่ายคือ Error 404 เกิดขึ้นเมื่อเราคลิ้กที่ Broken Link ซึ่งก็คือลิงค์ที่เรียกไปยังไฟล์ที่ไม่มีอยู่แล้วใน server นั่นเอง

แล้วจำเป็นต้องสนใจไหม?

โดยทั่วไปแล้วหน้า 404 มักค่อยมีใครให้ความสำคัญ นั่นเพราะเราไม่เคยเข้าไปดูมันอย่างจริงจัง หรือเราเองไม่ค่อยจะเจอจึงคิดว่าคนอื่นก็ไม่ค่อยเจอ การจะให้ความสำคัญมากน้อยแค่ไหนนั้น ให้ลองดูที่จำนวน Pageview ของหน้า 404 ที่เกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นมากก็ควรรีบเข้าไปแก้ไขโดยด่วน เพราะเราเองคงไม่อยากให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์แย่ๆ จริงไหมครับ

แล้วควรทำอย่างไรต่อไปดี

  1. ทำหน้า customized 404
    แทนที่จะแสดงให้เห็นแต่ข้อความว่า Page not found มันเหมือนกันการบอกลูกค้าว่า “ไม่มีขาย หรือ ปิดร้านแล้ว” ทั้งๆ ที่กำลังเปิดร้านอยู่ ซึ่งจริงๆ แล้วอย่างน้อยก็ควรจะต้องบอกว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมเค้าถึงเจอหน้านี้ ตัวอย่างของหน้า customized 404 ที่ดีมักจะประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้
    1) Logo ของเว็บ
    2) เหตุผลว่าทำไมถึงกำลังแสดงหน้านี้
    3) Link ที่ส่งไปที่หน้าแรก หรือหน้าที่คิดว่าเกี่ยวข้องกัน
    4) Search box สำหรับให้ลูกค้าลองค้นหาอีกครั้ง
    5) email ที่ให้ลูกค้าสามารถแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้น
  2. คอยตรวจสอบ Error page อย่างสม่ำเสมอ
    แน่นอนว่าถ้าต้องมานั่งหา Error page ทุกวันคงไม่ต้องทำอะไรอย่างอื่นแล้ว วิธีที่ง่ายที่จะช่วยเรามอนิเตอร์ 404 error page ก็คือการเซ็ต Alert ให้ Google คอยแจ้งเตือนเราเมื่อจำนวน Pageviews ของ 404 มากขึ้นเกินเงื่อนไขที่เรากำหนดไว้ เช่น ถ้าวันใดมี pageviews ของหน้า 404 มากขึ้นเกิน 10% ของวันก่อนหน้าให้ Google ส่งเมล์ Alert มา เป็นต้น วิธีการเซ็ตอัพให้ไปที่ admin เมนู >ในส่วนของ View เลือก custom alert>+new alert>แล้วเซ็ตอัพค่าต่างๆ ตามภาพ กด Save Alert เพียงเท่านี้เมื่อเกิดเหตุการ์ตามเงื่อนไขที่สร้างเราก็จะได้รับเมล์จากระบบของ Google Analytics ทันที
    * ค่า Page Title ตามตัวอย่างใช้ 404 ซึ่งสำหรับการระบุค่าตรงนี้ให้ตรวจสอบกับหน้า 404 ของเราก่อนว่าใช้ Page Tilte ว่าอะไร
    ** หน้า 404 ควรทำเป็น custom 404 ด้วยเพื่อที่จะสามารถใส่ code analytics เข้าไปได้
    setup-Alert-google-analytics
  3. วิเคราะห์ และแก้ไขหน้า error page
    สำคัญที่สุดคือการเริ่มต้นหาว่าหน้าใด (url) ที่ทำให้เกิด 404 ซึ่งจะทำให้เราพบต้นตอของ 404 ตามตัวอย่างรีพอร์ทด้านล่าง โดยให้เราเข้าไปที่ Behavior>Site content>all page>page title>แล้ว filter ด้วยคำว่า 404 หลังจากเห็นหน้าตารีพอร์ทตามนี้ให้คลิ้กเข้าไปที่คำว่า 404 เราก็จะพบลิสต์รายชื่อ URL ทั้งหมดที่ทำให้เกิด 404 error page ทีนี้เราก็ตรวจสอบจัดการได้ตามสะดวกเลยครับ แนะนำให้ทำ redirect หน้าที่มี 404 pageview จำนวนมากไปหน้าที่ใกล้เคียงกันซึ่งเป็นวิธีการที่ดีวิธีการหนึ่ง เหมาะสำหรับจัดการกับพวก external broken link ที่เราไม่สามารถไปแก้ไขที่ลิงค์ต้นทางได้404-report

ปัญหาที่แก้ไขได้ก็ควรรีบแก้ไข ไม่ว่าปัญหานั้นจะเล็กหรือใหญ่ เพราะสำหรับลูกค้าแล้วปัญหาเล็กๆ เช่นนี้อาจนำไปสู่ปัญหาใหญ่ได้ ถ้าเจอบ่อยๆ ก็อาจจะทำให้ลูกค้าไม่อยากกลับมาใช้บริการอีกเลย

Happy Analytics!

Leave a Reply