
GA4 ยกเลิกการใช้งาน Attribution Model 4 แบบ

เราต่างคุ้นเคยกับคำว่า Data-driven ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้ทำ กันมาหลายปีแล้ว โดยความหมายแบบตรงไปตรงมาก็คือ การนำเอา ‘ข้อมูล‘ มาชับเคลื่อน ‘ส่ิงต่างๆ‘ โดยคาดหวังผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็น องค์กร (data-driven compamy) การตัดสินใจ (Data-driven decision) การทำการตลาด (Data-driven marketing) และอื่นๆ อีกมากมาย แล้วแต่อยากจะเอาคำนี้ไปใส่กับอะไร แต่สุดท้ายก็เพื่อทำให้สิ่งๆนั้นดีขึ้น พัฒนาขึ้นจากการใช้ข้อมูล Continue reading
Attribution model คือรูปแบบการให้เครดิตกับ Conversion ที่เกิดขึ้น ว่าจะให้ที่ Channel ใด หมายความว่า หากมี Conversion เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น Order สินค้า หรือ Lead (การ subscribe/register) Google Analytics ก็จะดูว่า Conversion ที่เกิดขึ้นนั้น (Marketing) Channel ใดควรจะได้รับเครดิตนี้ไป เช่น Social Channel, email หรือ organic search, etc ซึ่งนั่นก็ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่า Marketing ที่ทำไป แชนแนลใดทำให้เกิด Conversion ขึ้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ตัดสินใจบริหารจัดการเรื่องต่างๆ ของการทำ Marketing ได้ ยกตัวอย่างเช่นการนำไปใช้จัดการเรื่องมีเดียบัดเจ็ท ซึ่งที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ (รวมผมเองด้วย) ก็ใช้ข้อมูลจากการ Attribution นี้ไปทำการ Optimize มีเดีย และแคมเปญต่างๆ ซึ่งก็ถือว่าเกิดประโยชน์อยู่มากพอสมควร ใครที่นึกภาพเรื่อง Attribution ไม่ออก ลองเปิด Channel รีพอร์ทใน GA ดูครับ แต่ละ Conversion ที่เกิดขึ้น GA ก็จะระบุไว้ในช่อง Conversion Metric นั่นเอง แชนแนลใดมีจำนวน Conversion มากก็แสดงว่าแชนแนลนั้นทำให้เกิด Conversion ได้มากที่สุด หรือว่ามี Performance ดีสุดนั่นแหละครับ
เห็นชื่อหัวข้อบทความแล้วคงจะงงๆ กันนะครับ ทำไมไม่อธิบายเรื่อง Facebook Attribution แบบ Facebook ไปเลยล่ะ? ตอบตามตรงเลยก็คือ ที่ผ่านมาเวลามีปัญหาหรือคำถามอะไรที่เกี่ยวกับ Facebook แล้ว พอค้นหาข้อมูลจากบทความของ Facebook ทีไรก็พบว่าอ่านเข้าใจค่อนข้างยาก อธิบายไม่ค่อยเคลียร์สักเท่าไร ซึ่งถ้าใครอ่านบทความของ Facebook และ Google บ่อยๆ น่าจะรู้สึกเช่นเดียวกันว่า Google เวลาอธิบายอะไรค่อนข้างจะเข้าใจง่ายและเคลียร์มากๆ ก็เลยตั้งชื่อบทความแบบนี้ละครับ และโดยคอนเซ็ปท์เรื่อง Attribution นั้นก็แทบไม่ต่างกันเลย ก็เลยคิดว่าอธิบายแบบ Google น่าจะเข้าใจง่ายกว่าครับ 🙂 Continue reading