
Google จะทำการ Migrate GA3 ไปเป็น GA4 แบบอัตโนมัติ

Youtube เป็นแพลตฟอร์มที่ยูสเซอร์ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งานได้ทั้งแบบ ‘รับชม’ และ ‘รับฟัง’ การรับชมโดยมากแล้วจะเน้นดูภาพเคลื่อนไหวและวิดีโอเพื่อความบันเทิง ความรู้ แต่การ ‘รับฟัง’ นั้นยูสเซอร์มักจะไม่ได้มีเวลา หรือเป็นเวลาที่ไม่เหมาะจะนั่งมองหน้าจอ เช่น การเปิด Playlist หรือ Podcast เพื่อฟังเพลงขณะขับรถ นั่งรถสาธารณะ ทำครัว ทำงานบ้าน และอื่นๆ ดังนั้นแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นกับนักการตลาดที่ทำโฆษณาบน Youtube ก็คือ โฆษณาที่เราทำซึ่งเน้นเนื้อหาที่สื่อสารด้วยภาพเคลื่อนไหวเป็นหลักนั้น จะไม่สามารถตอบโจทย์ในการเข้าถึงกลุ่มคนใช้ Youtube ในช่วงเวลาที่เน้นการ ‘รับฟัง’ ได้
เพื่อช่วยนักการตลาดให้สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีและสามารถเข้าถึงกลุ่มยูสเซอร์ที่กำลัง ‘รับฟัง’ Google จึงได้ปล่อยโฆษณารูปแบบที่เรียกว่า Audio Ads ออกมา ซึ่งตอนนี้คนที่ซื้อโฆษณา Google Ads สามารถใช้งานกันได้ทุกคนแล้ว Continue reading
ย้อนกลับไปใน GA3 กลุ่มรีพอร์ทกลุ่มหนึ่งที่ผมแทบจะไม่ได้เช้าไปดูเลย คือกลุ่มรีพอร์ทเกี่ยวกลับ Flow ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Users flow, Behavior flow และ Events flow ใครที่เคยเรียนคลาส GA3 มาแล้ว จะทราบว่าในสไลด์ที่ใช้สอนนั้น ผมไม่ได้พูดถึงรีพอร์ทกลุ่มนี้เลยแม้แต่สไลด์เดียว เพราะให้พูดตามตรงแล้ว ผมไม่อยากจะเสียเวลาไปกับการสอนรีพอร์ทที่เรียนไปแล้วใช้ประโยชน์ได้ไม่มากนัก นอกจากนั้นการใช้งานก็ไม่ค่อยจะสะดวกอีกด้วย ใครที่เคยใช้งานมาก่อนน่าจะพอทราบดีว่าทำไมผมถึงรู้สึกเช่นนั้น
ใน GA4 รีพอร์ทเกี่ยวกับ Flow ทั้งหลายที่กล่าวมานั้นก็ไม่ได้มีเป็น Pre-build Report หรือเตรียมเอาไว้แบบสำเร็จรูปให้ใช้งานเหมือนใน GA3 อีกแล้ว ถ้าใครต้องการที่จะดูรีพอร์ทแบบ Flow ใน GA4 ก็จะต้องเข้าไปสร้างเองด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Path Exploration ซึ่งหน้าตาที่ได้ก็จะมีความคล้ายคลึงกับ Flow reports ทั้งหลายใน GA3 Continue reading
Segment Overlap เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้เราเข้าใจและเห็นภาพของกลุ่มยูสเซอร์ที่เราสนใจหลายๆ กลุ่มว่ามีการทับซ้อนกันมากน้อยแค่ไหน ให้ลองนึกภาพง่ายๆ เป็นวงกลม 2 วง วงแรกเป็นกลุ่มคนที่ซื้อสินค้า A วงที่สองเป็นกลุ่มคนที่ซื้อสินค้า B ถ้าวงกลม 2 วงไม่ทับซ้อนกันเลย ก็หมายความว่าคนซื้อสินค้า A และ B เป็นคนละกลุ่มกันอย่างชัดเจน แต่ถ้าวงกลมทั้ง 2 วงทับซ้อนกันมากๆ หมายความว่า คนที่ซื้อสินค้า A และ B เป็นคนๆ เดียวกันนั่นเอง Continue reading
การทำ Ecommerce tracking ใน Google Analytics ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญ และจำเป็นมากที่ต้องทำ เพื่อที่จะสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อสินค้า และพฤติกรรมการซื้อ รวมถึงทำให้ทราบไปถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในในแต่ละขึ้นตอนของการสั่งซื้อ ตั้งแต่ดูสินค้า เพิ่มสินค้าในตะกร้า จนกระทั่งชำระค่าสินค้า ซึ่งการที่เรามีข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้เราสามารถนำไปใช้ในการทำการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายได้ดีขึ้น สามารถแก้ไขจุดที่เป็นปัญหาในการสั่งซื้อสินค้า เพื่อให้ Purchase Journey ของลูกค้าภายในเว็บไซต์สะดวกสบาย และตัดสินใจซื้อได้ง่ายที่สุด
แต่การจะได้มาซึ่งข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น จำเป็นต้องเก็บข้อมูลให้ถูกต้องด้วย ซึ่งวิธีการนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับนักการตลาดทั่วไปที่เน้นการวิเคราะห์ใช้งานข้อมูลมากกว่าไปปวดหัวเรื่องการเขียนโค้ด หรือการคุยกับทีม dev แต่สำหรับนักการตลาดที่เข้าใจเรื่องเทคนิคอลอยู่บ้าง การอ่านทำความเข้าใจ และศึกษาการใช้งาน Google Tag Manager ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้เช่นกัน บทความนี้จะสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง Ecommerce Tracking ใน GA4 ที่นักการตลาดควรต้องรู้ Continue reading