หลายครั้งที่ผมต้องอธิบายเรื่องการทำ SEO ผมมักจะพูดเสมอว่า ก่อนที่จะไปทำ Keyword Research ทำ Backlinks หรือกระทั่งการทำ Content นั้น อย่างแรกที่ต้องทำก่อนสิ่งที่กล่าวมือทั้งหมดนั่นก็คือการทำ Website Audit ก่อน เพราะหากรากฐาน คือเว็บไซต์ยังไม่ดีแล้ว จะไปทำอย่างอื่นคงจะไม่ถูกต้องเท่าไรนัก และการทำ Audit ได้ละเอียดนั้นมักจะทำให้เราพบโอกาสที่จะเพิ่ม Trafffic โดยที่ยังไม่ต้องทำเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดเสียด้วยซ้ำไป เรียกได้ว่าเป็น Quick Win Solution สำหรับการทำ SEO จริงๆ
ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งก่อนว่า การทำ SEO นั้น KPI ที่เรามักจะกำหนดใช้กันคืออันดับของ Keyword ต่างๆ ซึ่งส่วนตัวผมแล้วไม่ได้ใช้เป็น KPI หลัก เพราะเป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ (ใครจะควบคุมอันดับได้ถ้าไม่ใช่ Google) แต่ KPI ที่สำคัญสำหรับการทำ SEO นั่นก็คือการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ Traffic ที่มาจาก Organic Search โดยไม่ได้อิงกับเฉพาะ Keywords กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะหากกลุ่ม Keywords เหล่านั้นอันดับลดลงไปก็ไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวม ดังนั้นกรณีศึกษาที่ผมจะนำมาแชร์นี้ จึงไม่ได้มีเป้าหมายในการทำอันดับ Keyword คำใดคำหนึ่ง แต่เป็นการทำเพื่อเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ที่มาจาก Google Organic Search ให้เติบโตขึ้น ซึ่งกรณีศึกษา (ขออนุญาติไม่ระบุเว็บไซต์) ที่ผมเป็นที่ปรึกษานี้สามารถเพิ่ม Organic Traffic ที่มาจาก Search Engine ได้ประมาณ 30% ภายใน 1 เดือน (ช่วงประมาณกลาง July ถึงกลาง August) จากตัวเลขประมาณ 120,000 session ต่อเดือนเป็น 160,000 session ต่อเดือน ด้วยการทำ Website Audit และปรับ Code ที่หน้าเว็บเท่านั้นเอง (ตัวเลขในภาพจะเป็นตัวเลขรายสัปดาห์)
สรุป 4 ขั้นตอนการทำ SEO เพิ่มคนเข้าเว็บไซต์ 30% ภายใน 1 เดือน จาก Case Study
- แก้ไข Duplicated Title, Duplicated Description และ Duplicated Content
- ปรับ URL ที่อ่านไม่รู้เรื่องให้เป็น Friendly URL
- แก้ไขหน้า 404 Error pages ด้วยการทำ Custom 404 page
- ทำ 301 Redirect ให้กับ Broken Links ทั้งหมด
ส่ิงแรกที่ผมทำหลังจากเป็นที่ปรึกษางานนี้คือ การทำ Website Audit อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว และสิ่งที่ผมพบจากการ Monitor ใน Google Search Console คือ Duplicated Content จำนวนมากภายในเว็บไซต์ เรียกว่าระดับหลักหมื่น URL ที่ระบบแจ้งไว้ กรณีที่พบคือ มี URL ที่แตกต่างกันชี้ไปที่ Content เดียวกันจำนวนมาก เช่น ซึ่งเคสนี้ก็นำไปสู่ปัญหาอื่นที่ตามมาคือ Duplicated Title และ Description ซึ่งเป็นสิ่งที่ Google ไม่ชอบเท่าไรนัก และจะทำให้เกิดความสับสนในการทำ Index เคสนี้วิธีการแก้ไขที่ผมแนะนำไปคือการทำ Canonical Tag ซึ่งเป็นวิธีการทำเพื่อระบุหน้าหลักหน้าเดียวให้ Google ทำการ Index หลังจากทำแล้วปัญหาเรื่อง Duplicated ต่างๆ ก็ลดลงไปอย่างชัดเจน
สรุป 1 : Duplicated Content ที่เกิดจากการมี URL หลายแบบชี้ไปที่เนื้อหาเดียวกันนั้น แก้ไขด้วยการทำ Canonical Tag
อย่างที่ 2 ที่พบและถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหญ่ และมีผลต่อ SEO อยู่พอสมควร คือ โครงสร้าง URL ที่ไม่ Friendly ต่อทั้ง User และ Google Bot พูดง่ายๆ คือ เป็น URL ที่อ่านไม่รู้เรื่อง เช่น example.com/content/?id=12345 เป็นต้น ซึ่งเป็น URL ที่ไม่ได้สื่อให้รู้เลยว่าเนื้อหาในลิงค์นี้เกี่ยวข้องกับอะไรหรือมีหัวข้ออะไร ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่จะบอก Google ให้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น โดยปกติแล้ว Keyword สำคัญก็มักจะอยู่ตรงนี้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น example.com/content/วิธีเล่นเกมโปเกม่อน เป็นต้น การรื้อโค้ดครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้นและแน่นอนว่าส่วนนี้ต้องอาศัยความช่วยเหลือจาก Web Developer แต่ต้องบอกว่ามันจะเป็นการแก้ที่คุ้มค่ามากในระยะยาว และข้อนี้ถือว่ามีผลต่อการเติบโตของ Traffic ของกรณีศึกษานี้มาก
สรุป 2 : Friendly-URL เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมาก สังเกตได้จากผลการค้นหาใน Google url ที่แสดงผลในหน้าแรกจะต้องมี Keyword รวมอยู่ด้วยบางส่วนเสมอ
ข้อที่ 3 ที่พบว่าเป็นปัญหาแต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่โต และไม่ได้มีผลต่ออันดับเว็บไซต์ (Google กล่าวไว้) คือ หน้า 404 Error หน้านี้แม้จะไม่ได้มีผลต่ออันดับของเว็บไซต์แต่มีผลโดยตรงกับ User Experience ซึ่งส่งผลทางอ้อมกับอันดับ จึงเป็นอีกเรื่องที่ควรพิจารณาแก้ไข อ่านได้จากบทความ แก้ไขปัญหาหน้า 404 error pages อย่างไรให้ถูกต้อง ซึ่งการแก้ไขจุดนี้อาจจะไม่ได้เพิ่ม Session ได้มากมาย แต่ถือว่าเป็น Quick Win Solution ที่สุด เพราะหน้านี้เป็นหน้าที่ไม่เคยเก็บ Traffic ได้มาก่อน ซึ่งจะเริ่มเก็บได้หลังจากทำ Custom 404 และที่สำคัญคือ เมื่อ User Experience ดีขึ้นแล้ว Pageviews และ Session Duration ก็มักจะดีขึ้นตาม
สรุป 3 : ไม่ว่าหน้า 404 ของคุณจะมีมากหรือน้อยก็ตาม ยังไงการทำหน้า Custom 404 ก็เป็นเรื่องจำเป็นอยู่ดี ถ้าคุณยังให้ความสำคัญกับ User ทุกคน
ข้อสุดท้ายสำหรับกรณีศึกษานี้อาจจะเป็นเรื่องทางเทคนิคอลมากที่สุด ซึ่งก็คือการทำ 301 Redirect โดยเฉพาะกับ Inbound Links ที่มาจากเว็บอื่นๆ แต่ชี้มาที่หน้าที่ไม่อยู่บนเว็บไซต์แล้ว เคสนี้ปกติถ้าเข้ามาก็จะกลายเป็น 404 Error Page ไป ซึ่งเคสนี้เกิดขึ้นได้เสมอโดยที่เราเองก็อาจจะไม่รู้ถ้าไม่มีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทางที่ดีคือทำหน้า Custom 404 ป้องกันไว้ก่อนตามที่ได้กล่าวไว้ในย่อหน้าที่แล้ว แต่ในกรณีที่เรารู้ว่าชัดเจนว่ามี Inbound Links ที่ชี้มาที่หน้าที่ไม่มีอยู่แล้วนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุดคือการทำ 301 Redirect ชี้ไปยังหน้าที่มีเนื้อหาเดิมหรือใกล้เคียงของเดิมเพื่อให้คนที่คลิ้กลิงค์นั้นเข้ามาได้เนื้อหาที่ตรงกับความสนใจ แต่อีกนัยหนึ่งนั้น การทำ 301 Redirect เป็นการทำเพื่อบอก Google ว่าหน้าที่หายไปนั้นเปลี่ยนเป็นหน้าอะไร ซึ่งการทำเช่นนี้ค่าต่างรวมถึง Ranking ที่เคยทำได้ดีจากหน้าเดิมจะตามมาที่ URL ใหม่นี้ด้วย
สรุป 4: หากรู้ว่าหน้า 404 ที่เกิดขึ้นมาจาก Inbound Links ที่เรารู้ว่าชี้ไปที่หน้าที่ไม่มีอยู่แล้ว ถ้าหากเรามีหน้าที่มีเนื้อหาเดียวกันนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุดคือการทำ 301 Redirect
เหล่านี้คือขั้นตอนการทำ SEO จากงานที่เกิดขึ้นจริงและคิดว่าน่าจะมีประโยชน์จึงนำมาแชร์ให้อ่านกัน แต่ต้องบอกกันไว้ก่อนว่าวิธีการที่กล่าวมานี้อาจจะไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัว เพราะวิธีการที่ทำนั้นเกิดมาจากการพบปัญหาที่ได้จากการทำ Website Audit ซึ่งก็แตกต่างกันไปแต่ละครั้ง และต้องบอกว่าหลายๆ กรณี หลังจากทำ Website Audit และแก้ไขสิ่งที่พบแล้วก็สามารถเพิ่ม Organic Traffic ได้มากพอสมควรเหมือนในกรณีนี้ โดยที่ยังไม่ต้องทำเรื่อง Keyword หรือ Backlink อะไรเลย เพราะเรื่องเหล่านั้นควรเป็นเรื่องที่ทำหลังจากจบส่วน Audit นี้แล้ว และก็คงเป็นขั้นตอนที่หลายๆ คนคงจะพอทราบและคุ้นเคยกันพอสมควร ซึ่งผมขอสรุปเป็นลิสต์ให้ด้านล่างนี้อีกที
- การทำ SEO คืออะไร ทำอย่างไรจึงอยู่ในผลการค้นหาหน้าแรก
- Keyword Research ขั้นตอนสำคัญในการทำ SEO
- การทำ on-page SEO อย่างถูกต้องและมีอันดับที่ดีขึ้นด้วย 14 เทคนิคง่ายๆ
- Backlinks คืออะไร สำคัญอย่างไรในการทำ SEO
Happy Optimization