เทคนิคการเลือก keyword สำหรับการทำ SEO ด้วย Google Analytics

ทุกคนคงจะทราบกันดีว่าขั้นตอนในการทำ SEO ที่มีความสำคัญมากขั้นตอนหนึ่งก็คือการกำหนด keyword เป้าหมายขึ้นมาเพื่อที่จะเน้นการทำ SEO แบบเฉพาะเจาะจงกับคำๆ นั้นในส่วนต่างๆ บนหน้าเว็บเพจ ไม่ว่าจะเป็นการเอา keyword ไปใส่ใน Title, Description Content H1 H2 หรือใส่ใน Anchor text เป็นต้น เพื่อที่จะให้ Google เข้าใจหัวข้อ เนื้อหา และนำ keyword หลักนี้ไปใช้จัดอันดับแสดงผลต่อไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั้นขั้นตอนของการกำหนดคีย์เวิร์ดมักจะเกิดขึ้นใน 2 รูปแบบคือ

  • มี Content ที่อยากจะเขียนก่อน แล้วจึงค่อยหา keyword หรือ Pharse ที่มีปริมาณการค้นหาสูง

  • หา keyword ที่เป็นเทรนด์หรือมีปริมาณการค้นหาสูงก่อนแล้วค่อยเขียน Content ตาม

ส่วนจะเลือกทำ SEO ด้วยวิธีไหน หรือทั้งสองวิธีก็แล้วแต่ความชอบความถนัดของแต่ละคน อย่างไรก็ตามแม้ว่าทั้งสองวิธีนี้จะมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกัน แต่เรื่องที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ในการทำงานทั้งสองวิธีนี้จะเป็นการเริ่มทำจาก “ศูนย์” ด้วยการเขียน Content ขึ้นมาใหม่แล้วพยายามปรับจูนเพื่อให้หน้านั้นแสดงผลอยู่ในหน้าแรกของ Google ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องใช้เทคนิค ความสามารถ ความพยายาม และที่สำคัญคือเวลาที่ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่าจะนานมากน้อยแค่ไหน

เทคนิคแบบ Quick Win อย่างหนึ่งที่ผมมักจะนำมาใช้เองรวมถึงสอนในคลาส Analytics เวลาที่พูดถึง Search Console Report คือ

การเลือกทำ SEO จาก Content และ Keywords ที่มีอยู่แล้ว ไม่ต้องคิดหรือเขียนขึ้นใหม่ ซึ่งจะทำให้ใช้เวลาในการทำลดลง แต่ในขณะเดียวกันยังได้ผลลัพธ์ที่ดีด้วย

ขั้นตอนอย่างคร่าวๆ ก็คือการวิเคราะห์หา Keywords ที่มีปริมาณการค้นหาที่ดีแต่แสดงผลอยู่ในหน้าที่สองหรือสาม ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ยังมีโอกาสขึ้นมาที่หน้าแรกได้ไม่ยากเกินไปนัก (แต่ก็ไม่สามารถรับประกันได้) ด้วยการใช้เครื่องมือช่วยวิเคราะห์อย่าง Google Analytics หรือ Google Search Console ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

เทคนิคการเลือก SEO keywords ด้วย Google Analytics

  1. เปิด Google Analytics แล้วเข้าไปที่เมนูรีพอร์ท Acquisition>Search Console>Queries ก็จะเห็นภาพตามตัวอย่างข้างล่างนี้ ซึ่งตัวรีพอร์ทจะแสดง Search Query ที่เกิดจากการค้นหาผ่าน Google Search โดยที่ค่าต่างๆ ที่แสดงมาด้วยนั้นจะมีในเรื่องของจำนวน Click, Impression, CTR และที่สำคัญคือ Average position ซึ่งเป็นค่าสำคัญที่บอกถึงอันดับเฉลี่ยของเว็บไซต์เราที่ไปแสดงผลใน Google Search เวลามีคนค้นหาในแต่ละคำ

    SEO-keyword-google-analytics
    รีพอร์ท Queries ภายใต้เมนู Search Console ใน Google Analytics
  2. หลังจากนั้นให้คลิ้กที่ Advanced filter แล้วเลือก Include “Average Position” Greater than “11” การกำหนดเช่นนี้เพื่อเป็นการฟิลเตอร์เอา Search Query ที่มีการแสดงผลอยู่ในหน้าสองเป็นต้นไปออกมาทั้งหมด

    keyword-research-with-analytics
    Advanced Table Filter เพื่อฟิลเตอร์ Search Query ที่ต้องการออกมา
  3. หลังจากกด Apply ในขั้นตอนที่สองแล้วก็จะได้ข้อมูลที่ถูกฟิลเตอร์ออกมาตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ Query ที่แสดงผลตั้งแต่อันดับที่ 11 ลงไป จากภาพตัวอย่างด้านล่างก็จะพบว่ามี Search Query อยู่สองคำที่มีความน่าสนใจและเหมาะสมในการเลือกมาทำ SEO คือ Query ที่ 1 และ 3 ซึ่งมีอันดับเฉลี่ยอยู่ที่ 11 และ 18 ตามลำดับ ถ้าสังเกตจากข้อมูลที่เห็นในภาพจะพบว่า ทั้งสองคำนี้แม้จะแสดงอยู่ในหน้าที่สองของผลการค้นหา แต่กลับมีจำนวน Impression ที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคำอื่นๆ นั่นแสดงว่าทั้งสองคำนี้มีปริมาณการค้นหาที่มากพอสมควร ดังนั้นการทำ SEO กับสองคำนี้จึงน่าจะให้ Traffic ที่ดีด้วยถ้าหากสามารถทำให้ขึ้นไปอยู่ที่หน้าแรกได้ ซึ่งจากอันดับที่อยู่ในหน้าสองแล้วก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากจนเกินไปนัก

    queries-report-in-analytics
    ข้อมูลในรีพอร์ท Search Query ที่ถูกฟิลเตอร์ข้อมูลออกมาตามเงื่อนไขที่กำหนด
  4. หลังจากเลือก Keywords เป้าหมายจากข้อ 3 ได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำในขั้นตอนถัดไปคือ การนำ Keywords ทั้งสองคำนี้ไปค้นหาใน Google Search เพื่อหาว่าเว็บไซต์ของเราที่ติดอยู่ในอันดับที่ 11 และ 18 ตามลำดับนั้นคือ URL ของหน้าไหน เมื่อรู้ URL แล้ว เราก็สามารถที่จะได้นำไปวิเคราะห์ปรับจูนการทำ On-Page SEO ในหน้านั้นให้ดีขึ้น ส่วนขั้นตอนของการทำ On-page SEO นั้นก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคการทำของแต่ละคน ส่วนใครจะทำ Off-page ด้วยก็สามารถทำได้เช่นกัน สำหรับคนที่สนใจศึกษาเรื่องการปรับจูน On-Page เพิ่มเติมแนะนำให้อ่านบทความด้านล่างนี้นะครับ เน้นเรื่องการทำ On-Page SEO โดยเฉพาะ

Happy Optimization:)

Leave a Reply