ว่าด้วยเรื่องการระบุกลุ่มเป้าหมายและการเห็นการโฆษณา Google Adwords

เป็นประเด็นดราม่ากันไปพอสมควรกับเรื่องของเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ที่แสดงโฆษณาชุดชั้นในบนหน้าเว็บไซต์ แล้วกลายเป็นประเด็นทางจรรยาบรรณตามความเห็นของนักข่าวอาสุโสบางท่าน บทความนี้ไม่ได้จะมาบอกว่าใครผิดใครถูก หรือจะแก้ไขเรื่องนี้หรือไม่อย่างไร แต่ที่อยากจะกล่าวถึงและคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่ซื้อโฆษณา Google Adwords ก็คือ อะไรบ้างที่เป็นปัจจัยที่จะทำให้แต่ละคนเห็นโฆษณาไม่เหมือนกัน รวมไปถึงวิธีการหลีกเลี่ยงหรือปรับตั้งค่าการรับโฆษณาที่กลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดได้เอง โดยเฉพาะกับโฆษณาประเภทแบนเนอร์ของ Google Adwords หรือที่เราเรียกกันย่อๆ ว่า GDN (Google Display Network) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มโฆษณาที่เป็นประเด็นข่าวนั่นแหละครับ

ปัจจัยหลักที่ทำให้แต่ละคนเห็นโฆษณาไม่เหมือนกัน

การที่เราจะเห็นโฆษณาอะไรก็ตามนั้น ซึ่งรวมไปถึงประเด็นการเห็นโฆษณาชุดชั้นในบนเว็บไซต์ข่าวก็เช่นกัน สามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยหลักนั่นก็คือ

  1. การระบุกลุ่มเป้าหมายจากทาง Advertiser
    หมายความว่าผู้ลงโฆษณาสามารถระบุได้ว่าต้องการให้แบนเนอร์แต่ละตัวไปแสดงกับใครด้วยเงื่อนไขที่กำหนดได้หลากหลาย เช่น เพศ อายุ ความสนใจ เว็บไซต์ อุปกรณ์ location และอื่นๆ ซึ่งวิธีการนี้ถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการทำโฆษณา เพราะคงไม่มีเจ้าของสินค้ารายใดที่จะลงโฆษณาขายสินค้าผู้ชายให้ผู้หญิงดู หรือขายสินค้าผู้หญิงให้ผู้ชายดู นอกเสียจากว่าเกิดความผิดพลาดในขั้นตอนการระบุกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งกรณีหลังคือการขายสินค้าผู้หญิงให้ผู้ชายดูก็ทำให้เกิดดราม่าอย่างที่เราคงได้ทราบกัน
  2. พฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นบนอุปกรณ์ที่เข้าใช้งาน
    พฤติกรรมการเข้าดูเว็บไซต์ต่างๆ ของอุปกรณ์แต่ละชนิดก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เจ้าของเครื่องจะเห็นโฆษณาแบบใดต่อไป เพราะโดยหลักการแล้วเวลาที่เราเข้าเว็บไซต์ต่างๆ เว็บไซต์เหล่านั้นจะเขียนข้อมูลลงบน Cookie เก็บไว้บนเครื่องที่เข้าใช้งาน และค่อยๆ เก็บบันทึกไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะระบุได้แม่นยำยิ่งขึ้นว่าเครื่องๆ นี้เป็น ผู้ชาย หรือผู้หญิง อายุประมาณเท่าไร และที่สำคัญคือมีความสนใจในเรื่องอะไรบ้างจากพฤติกรรมการเข้าใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ เช่น หากเครื่องของเราเข้าดูเว็บไซต์ช้อปปิ้งสินค้าผู้หญิงแนววัยรุ่นประเภท เสื้อผ้า แฟชั่น เครื่องสำอางค์ บ่อยๆ Google ก็จะประมาณการว่าเครื่องของเราเป็นผู้หญิง อายุประมาณ 18-24 ที่สนใจเรื่องแฟชั่น การแต่งตัว และความสวยความงาม ถ้าเข้าเคสนี้ การเห็นโฆษณาชุดชั้นในก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะจากข้อมูลใน Cookie เครื่องของเราเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของสินค้านี้อย่างแน่นอน
    นอกจากพฤติกรรมการเข้าดูเว็บไซต์ต่างๆ แล้ว Google ยังใช้ข้อมูลส่วนอื่นประกอบอีกด้วย เช่น ข้อมูลใน Google Account (gmail google+ e.g.) , ข้อมูลการระบุคำค้นหาใน Google Search ที่เราใช้กันทุกวัน หรือแม้กระทั่งประเภทของ VDO ที่ดูใน Youtube เป็นต้น

    google-privacy-setting
    ข้อมูลส่วนตัวใน Google Account ของเรา สามารถเข้าดูได้ที่ https://myaccount.google.com/

คำถามคือจะมีกรณีใดบ้างที่มีโอกาสทำให้โฆษณาชุดชั้นในไปแสดงกับผู้ชาย

  • Advertiser ระบุกลุ่มเป้าหมายรวมๆ ทั้งสองเพศคือ ทั้งชายและหญิง โดยไม่ได้ระบุ Topics Placement ของเว็บไซต์ที่จะแสดง แล้วพอไม่ระบุประเภทเว็บไซต์ เว็บข่าวก็จะมีโอกาสแสดงแบนเนอร์นี้ด้วย ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่ว่าเป็นความตั้งใจหรือผิดพลาดในการระบุกลุ่มเป้าหมาย ก็จะทำผู้ชายมีโอกาสเห็นโฆษณานี้ และแน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่ก็ชอบที่จะมอง (คอนเทนต์ดีเสียขนาดนั้น) แต่ถามว่าซื้อไหมนี่อีกเรื่อง เพราะคงไม่ซื้ออยู่แล้ว เคสนี้ในมุมของการทำโฆษณาก็ถือว่าใช้เงินกับการโฆษณาที่ผิดกลุ่มเป้าหมายชัดเจน
  • หากมองว่าทาง Advertiser ระบุกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงถูกต้องแล้ว เคสถัดไปที่อาจจะเป็นไปได้คือ เครื่องที่ใช้งานอาจจะเป็นเครื่องของผู้หญิง หรือถ้าเป็นเครื่องของผู้ชายที่มีผู้หญิงเข้าใช้งานร่วมด้วยก็มีโอกาสที่ Google มองว่าเจ้าของเครื่องนั้นเป็นผู้หญิงได้เช่นกัน ถ้าใช่เคสนี้การเห็นโฆษณาชุดชั้นในก็ถูกต้องอยู่แล้วในเรื่องของระบุกลุ่มเป้าหมายในการโฆษณา
  • เคสสุดท้ายคือ การโดนโฆษณาแบบ remarketing หมายความว่าถ้าหากเครื่องๆ นั้นเคยมีการเข้าไปดูสินค้าชุดชั้นในบนเว็บไซต์ที่มีการเซ็ตอัพระบบโฆษณาแบบ Remarketing ไว้ ซึ่งจะเกิดจากความตั้งใจเข้าไปดูหรือไม่ก็ตามเพียงแค่ครั้งเดียวก็มีโอกาสถูกโฆษณาสินค้านี้ติดตามไปแสดงผลบนทุกเว็บไซต์ที่เข้าดู แน่นอนว่ารวมเว็บข่าวด้วย (เว็บไซต์ที่จะแสดงโฆษณาแบบ remarkeging ได้นั้นจะต้องเปิดพื้นที่ให้ Google ลงโฆษณา) และเคสของการทำ Remarketing นั้นส่วนใหญ่จะไม่ Target เพศ อายุ ด้วยเพราะถือว่าหากใครเข้าดูสินค้าอะไรก็ตาม ย่อมจะมีความสนใจในสินค้าตัวนั้น ดังนั้นโฆษณาจึงติดตามไปแสดงโดยไม่สนใจว่าคนที่เห็นจะเป็นชายหรือหญิง

แล้วจะแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนอย่างไรเพื่อไม่ให้เห็นโฆษณาที่ไม่ต้องการGoogle-ads-preferences

  • ถ้าเป็นโฆษณาแบบ Remarketing ก็ให้ลบ Cookie ของ Browser ออกให้หมดง่ายที่สุด แต่ถ้ากลับไปที่เว็บไซต์ที่ทำระบบ Remarketing อีกครั้งก็จะเห็นโฆษณาแบบนี้อีกเหมือนเดิม นอกเสียจากว่าจะบล็อก Cookie หรือจะใช้ Ad block ไปเลย
  • ถ้าเป็นโฆษณาที่ดูภาพหรือเนื้อหาแล้วไม่เหมาะสม (ซึ่งต้องหมายความว่าไม่เหมาะสมจริงๆ สำหรับทุกเพศทุกวัย) ก็สามารถ Report ไปยัง Google ได้ โดยการคลิ้กเครื่องหมาย X ที่มุมบนขวาของแบนเนอร์ที่แสดง
  • เข้าไปปรับแต่งตั้งค่าการรับโฆษณาให้ตรงกับความต้องการของเราเอง หรือจะทำการปิดระบบ Ads Personalization ไปเลยก็ทำได้เช่นกัน ข้อมูลส่วนตัวของเราก็จะไม่ถูกนำไปใช้งานในการโฆษณาของ Google แต่เราก็ยังจะเห็นโฆษณาอยู่เหมือนเดิมนะครับ เพียงแต่จะเป็นโฆษณาที่อิงตามเนื้อหาของเว็บที่เราดูแทน ใครต้องการตั้งค่าสามารถเข้าไปตามลิงค์ด้านล่างนี้ หรือถ้าหากต้องการปิดระบบ Ad personalization ก็ให้กด Turn off ที่ปุ่มด้านบนขวาตามภาพ

Happy Advertising !

Leave a Reply