หลักสูตรการเรียน Google Analytics ระดับ Advance

หัวข้ออบรม Advance Google Analytics
หลักสูตร 1 วัน 9.00-17.30 น

คอร์สเรียน Advance Google Analytics เป็นคอร์สที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ผ่านการเรียนคอร์ส Intensive Analytics และมีประสบการณ์ในการใช้งาน Google Analytics มามากพอสมควรแล้ว เนื้อหาเจาะลึกฟีเจอร์ระดับ Advance ซึ่งไม่มีที่ไหนเปิดสอน โดยเน้นที่ฟีเจอร์ที่จะช่วยดึงประสิทธิภาพของการใช้งาน Google Analytics ออกมาได้อย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น การเชื่อม Online Journey และ Offline Journey เข้าด้วยกัน เพื่อให้เห็นภาพ Customer Journey ที่ละเอียดถูกต้อง รวมไปถึงการแทรค Offline Conversion เป็นต้น การเรียนจะเน้นการ Workshop จริงตลอดทุกหัวข้อเพื่อให้เกิดความเข้าใจและเห็นภาพอย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่เรียนจบเข้าใจแนวทางการใช้งานฟีเจอร์ต่างๆ และสามารถนำไปใช้ปรับใช้กับธุรกิจจริงได้

*** เนื้อหาการเรียนค่อนข้างจะเน้นไปในเรื่องเทคนิคอล ผู้เข้าอบรมจึงควรจะต้องมีความสนใจและมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ หากยังไม่แน่ใจว่าคอร์สนี้เหมาะสมตรงกับความต้องการหรือไม่ แนะนำให้อ่าน เปรียบเทียบคอร์สเรียน Intensive Google Analytics และ Advance Google Analytics ก่อนครับ

สนใจเรียน Advance Google Analytics ดูข้อมูล วัน-เวลา คอร์สรอบถัดไป

1. Introduction to Advance Google Analytics

หัวข้อนี้เป็นการทบทวนความรู้ความเข้าใจพื้นฐานสำคัญของ Google Analytics ที่จำเป็นในการเรียนคอร์ส Advance โดยนำเนื้อหาบางส่วนมาจากคอร์ส Intensive Google Analytics ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อสร้างความพร้อมสำหรับการเรียนและการ Workshop ตลอดทั้งวัน เนื้อหาในหัวข้อนี้ประกอบด้วย

  • หลักการทำงานของ Google Analytics
  • Hit type : ชนิดของข้อมูลจาก Interaction ประเภทต่างๆ บนหน้าเว็บที่ส่งยัง Google
  • Default Attribution Model : วิธีการให้เครติดกับ Conversion ที่เกิดขึ้นบนเว็บ
  • Channel Source/Medium : เข้าใจ Source/Medium และการแบ่งประเภทของ Marketing Channel

2. Custom Channel Grouping

นักการตลาดที่ใช้ UTM tagging ส่วนใหญ่มักจะพบปัญหาในการอ่าน Channel รีพอร์ท เนื่องจากทราฟฟิคจำนวนมากมักจะถูกจัดกลุ่มรวมอยู่ในแชนแนล (other) ทำให้เกิดความยุ่งยากเสียเวลาในการทำการ drilldown ข้อมูล Custom Channel Grouping ช่วยให้เราสามารถสร้าง Channel แบบกำหนดเองขึ้นใหม่เพื่อให้การอ่าน Channel Report มีความสะดวก เข้าใจได้ง่าย และตรงกับที่ Business ต้องการ เช่น การสร้างแชนแนล Facebook Ads แยกออกจาก Social Media การสร้างแชนแนล LINE OA หรือ Influencer เป็นต้น

การสร้าง Custom Channel Grouping นอกจากจะทำการอ่านรีพอร์ท Channels ง่ายขึ้นแล้ว ยังทำให้การอ่านรีพอร์ท Conversion Path และรีพอร์ทอื่นๆ ในกลุ่ม Multi Channel Funnel อ่านง่ายขึ้นเช่นกัน

Workshop : สร้าง Custom Channel Grouping และทดสอบด้วย Test Traffic เพื่อดูผลลัพธ์

3. Regular Expression

RegEx หรือ Regular Expression ถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญสำหรับคนที่ต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน Google Analytics ในระดับ Advance จำเป็นจะต้องเรียนรู้ การเรียนรู้เข้าใจ RegEx จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการเซ็ตค่าต่างๆ ในระบบ Admin ให้ง่าย สะดวก และรวดเร็วขึ้นอย่างมาก เช่นการเซ็ต Goal สำหรับเว็บที่มีหลายภาษาด้วย Goal เพียง Goal เดียว เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว RegEx ยังช่วยให้การฟิลเตอร์ข้อมูลต่างๆ ในตารางรีพอร์ทที่มีความซับซ้อนทำได้ง่าย และได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการอย่างรวดเร็ว ด้วยความสามารถในการจัดการเรื่องฟิลเตอร์ได้อย่างครบถ้วน RegEx จึงถูกเรียกว่าเป็น “Super Matching

Workshop : ใช้ RegEx ในการฟิลเตอร์ Report ด้วยเงื่อนไขที่ซับซ้อน และการใช้ RegEx เพื่อสร้าง Goal สำหรับเว็บไซต์ 2 ภาษา

4. Advance View Filter

Advance View Filter เป็นฟีเจอร์ระดับ Advance ที่ใช้จัดการข้อมูลด้วยเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในขั้นตอนการประมวลผล Raw Data ของ Google Analytics เครื่องมือนี้มักจะใช้เพื่อการ Clean ข้อมูลขยะต่างๆ ออกจากรีพอร์ท หรือทำข้อมูลให้เรียบร้อยอยู่ในฟอร์แมทที่ถูกต้องตรงกับความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น การฟิลเตอร์ IP address เพื่อจัดการนำทราฟฟิคของพนักงานในบริษัทออกจากรีพอร์ท เป็นต้น

Workshop :

  1. การจัดการข้อมูลด้วยการทำ Lowercase เพื่อเปลี่ยนข้อมูลในรีพอร์ทให้เป็นตัวอักษรเล็กทั้งหมด
  2. การ Advance Filter เพื่อเผยข้อมูลความลับ Keyword (Not Provided) ในรีพอร์ท Organic Keyword ให้อ่านได้อย่างง่ายดาย

5. Measurement Protocol

Measurement Protocol เป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับส่งข้อมูลไปที่ระบบของ Google Analytics โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยการรัน Script Google Analytics บนหน้าเว็บ ดังนั้นประโยชน์ของการใช้ Measurement Protocol จึงเป็นการใช้เพื่อแทรคข้อมูลของ Visitor ผ่าน Touchpoint อื่นๆ ที่อยู่ภายนอกเว็บ รวมไปถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นแบบ Offline

นอกจากการแทรค Touchpoint ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้แล้ว Measurement Protocol ยังสามารถใช้แทรค Offline Conversion ได้ด้วยการส่งข้อมูลการซื้อผ่านหน้าร้านที่มีเครื่อง POS หรือการซื้อผ่าน Call Center เป็นต้น ไปยังระบบ Google Analytics ซึ่งจะทำให้เราสามารถเห็นข้อมูล Offline Conversion ในรีพอร์ทของ Google Analytics และทำให้เราเข้าใจภาพ Customer Purchase Journey ได้ทั้งหมดจากการ Connect Offline Journey และ Online Journey เข้าด้วยกัน

Workshop :

  1. ใช้เครื่องมือ GA debugger เพื่ออ่านข้อมูล Google Analytics Client ID
  2. ใช้เครื่องมือ Hit Builder เพื่อสร้าง Measurement Protocol Hit ในการส่งข้อมูลไปยัง Google Analytics โดยตรง โดยไม่ผ่านการรัน Script บนหน้าเว็บ
  3. ทดลองสร้าง Offline Channel ใน Custom Channel Grouping และส่งข้อมูลทดสอบด้วย Hit Builder เพื่อดูผล

6. Offline Conversion Tracking

หัวข้อนี้จะเป็นการต่อยอดจากหัวข้อที่แล้ว โดยการใช้ Measurement Protocol ในการแทรค Offline Conversion เนื้อหาจะสอนแนวคิดและวิธีการทำงานแบบ Step by Step ร่วมกับการทำ Workshop จริงให้เห็นภาพ และสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจจริง

Workshop :

  1. สร้าง Offline Conversion Goal สำหรับวัดผล Conversion ที่เกิดขึ้นแบบออฟไลน์ (การ Workshop จะยกตัวอย่างจาก Sales Lead Conversion หรือการปิดการขายจากรายชื่อ Lead ที่ได้จากออนไลน์)
  2. ทดลองส่ง Offline Lead Conversion ด้วย Event Tracking Hit ผ่าน Measurement Protocol
  3. สร้าง Custom Report เพื่อความง่ายในการอ่านค่า Lead, Qualified Lead (Offline) และ Sales Lead (Offline) ที่ได้จากการแทรค

7. Calculated Metric

ในการใช้งาน Google Analytics เพื่ออ่านรีพอร์ท หลายครั้งเราจะพบว่าข้อมูล Metric ที่เราต้องการไม่มีใน Standard Metric ของ Google Analytics ซึ่งทำให้เราต้องเสียเวลา Export ข้อมูลมาใส่สูตรใน Excel อีกรอบ ด้วยฟีเจอร์ Calculated Metric ทำให้เราสามารถสร้าง Metric ใหม่ขึ้นมาได้เองตามความต้องการในการใช้งาน โดยการนำ Metrics เดิมที่มีอยู่แล้วใน Standard Metrics ของ Google Analytics หรือ Custom Metrics ที่เราสร้างขึ้นมาใส่สูตรคำนวนเพื่อได้เป็นค่าใหม่ใน Calculated Metric

Workshop :

  1. สร้าง Calculated Metric เพิ่มเติมจาก Workshop ในหัวข้อที่ 6 โดยการนำ Sales Lead มาหารด้วย Lead เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของ Lead ที่ได้จากแชนแนลต่างๆ
  2. สร้าง Calculated Metric จากโจทย์ เพื่อหาค่า User Engagement Metrics แบบต่างๆ

8. Data Import

Data Import เป็นฟีเจอร์ที่ใช้ในการส่งข้อมูลขึ้นไปใน Google Analytics ด้วยการ Import ข้อมูลรูปแบบ CSV ผ่านหน้า Setting ในส่วน Admin Google Analytics ได้โดยตรง การ Import Data จะช่วยให้เรานำข้อมูลจากระะบบหลังบ้าน หรือข้อมูลจากแพลตฟอร์มอื่น เช่น Facebook Ads ขึ้นไปแสดงผลร่วมกับข้อมูลอื่นๆ ของ Google Analytics และทำให้เห็น Performance ในมุมมองอื่นๆ ได้กว้างมากขึ้น ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ การนำข้อมูล Facebook Ads ขึ้นไปใน Google Analytics ซึ่งจะทำให้เราสามารถเห็นข้อมูล Revenue Per Click และ Return on ad spending ได้ใน Google Analytics โดยตรง

Workshop : Facebook Ads Campaign Data Import

  1. สร้าง Data Schema ใน Admin Google Analytics
  2. เตรียม Data Set ในไฟล์ CSV สำหร้บ Import
  3. อัพโหลดไฟล์ Facebook Ads Campaign Data

9. Custom Dimension and Custom Metric

Custom Dimension และ Custom Metric เป็นหนึ่งในแอดวานซ์ฟีเจอร์ที่เว็บไซต์ใหญ่ๆ นิยมใช้กันอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลบน Google Analytics มีข้อจำกัดตรงที่ Dimension และ Metric มีแค่ข้อมูล Standard ที่ระบบเตรียมไว้ให้ ดังนั้นจึงทำให้การอ่านข้อมูลรีพอร์ทใน Google Analytics ไม่สามารถเห็นข้อมูลสำคัญบางอย่างที่ต้องการได้ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลรหัสลูกค้า หรือข้อมูล CRM เป็นต้น พอไม่มีข้อมูลเหล่านี้ นักการตลาดที่อ่านรีพอร์ท Google Analytics ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่า ลูกค้าคนไหนทำอะไรบนเว็บ หรือ Segment ไหน เช่น Platinum, Gold และ Silver มีพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างไร

Custom Dimension และ Custom Metric เป็นฟีเจอร์ที่ทำให้เราสามารถสร้าง Dimension และ Metric ที่เรากำหนดขึ้นใหม่ได้เอง เช่น Dimension: Member Id หรือ Metric: Point Redeem (ซึ่งไม่มีอยู่ใน Standard Data ของ Google Analytics) เป็นต้น และนำข้อมูลเหล่านี้จากระบบ CRM หลังบ้าน หรือข้อมูลอื่นๆ ตามที่เราต้องการขึ้นไปเก็บไว้บน Google Analytics เพื่อใช้งานในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ละเอียดตรงความต้องการจริงๆ

Workshop :

  1. สร้าง Custom Dimension : Member ID และ CRM segment
  2. สร้าง Custom Metric: Point Redemption
  3. สร้าง Test Traffic เพื่อส่งข้อมูล Custom Dimension และ Custom Metric
  4. สร้าง Custom Report เพื่อแสดงค่า Custom Dimension และ Custom Metric สำหรับแสดงผลและวิเคราะห์

Leave a Reply