วิธีการติดตั้ง Google Tag Manager อย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย ทำได้เอง

google-tag-manager-setup

การติดตั้ง Google Tag Manager และการติดตั้ง Google Analytics ผ่าน Tag Manager นั้นเป็นเรื่องทำได้ง่าย ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แต่มีประโยชน์ต่อทีมทำงานด้าน Digital Marketing ที่ต้องมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการบริหาร tag ต่างๆ อย่างมาก ใครที่ยังไม่รู้ว่า Google Tag Manager  คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรนั้น แนะนำให้อ่าน Google Tag Manager คืออะไร มีไว้ใช้ทำอะไร ก่อน ส่วนใครที่อ่านแล้วคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ Tag Manager แต่อยากติดตั้งใช้งาน Google Analytics สามารถทำตามขั้นตอนในบทความ วิธีการติดตั้ง Google Analytics อย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย ทำได้เอง ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Google Tag Manager

วิธีการติดตั้ง Google Tag Manager

  1. การเริ่มต้นติดตั้งใช้งาน Google Tag Manger นั้นจำเป็นต้องมี gmail account ก่อน ถ้ามีแล้วให้เริ่มต้นโดยการ login เข้า Gmail แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์ http://tagmanager.google.com กรณีที่ยังไม่เคยมี Account Google Tag Manager การเข้าใช้งานครั้งแรกจะต้องผ่านขั้นตอนการเซ็ตอัพ Account แรกก่อน ตามภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ ในหน้านี้ขั้นตอนแรกให้ตั้งชื่อ Account Name แนะนำให้ใส่ชื่อบริษัทที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ที่จะติด tag manager ในส่วนนี้ ตามตัวอย่างตั้งชื่อว่า Example Company หลังจากนั้นให้คลิ้กที่ปุ่ม Continue จะเข้าสู่ขั้นตอนของการกำหนดชื่อ Container แนะนำให้ใส่ชื่อเว็บไซต์ ตามภาพตั้งว่า example.co.th (container คือส่วนของ script ของ tag manger ที่จะนำไปติดตั้งบนเว็บไซต์เพื่อไว้ใช้เก็บ Tag อื่นๆ อีกที) เสร็จแล้วให้เลือกประเภทของ asset ที่เราจะติด tag นี้เข้าไป เช่น web หรือ app แล้วคลิ้กที่ Create
    google-tag-manager-setup
    1 กำหนดชื่อ Account Name

    google-tag-manager-container
    2 กำหนดชื่อ Container Name
  2. หลังจากคลิ้ก Create แล้ว ระบบจะให้อ่าน Agreement เพื่อให้ยอมรับข้อตกลงต่างๆ กด Yes เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป

    google-tag-manager-agreement
    3 กด Accept ยอมรับเงื่อนไขข้อตกลงการใช้งาน Tag Manager
  3. ขั้นตอนนี้ ระบบจะแสดง Script ที่จะต้องนำไปติดตั้งใช้งาน สามารถ copy เพื่อส่งเมล์ไปให้เว็บโปรแกรมเมอร์ได้ทันที หรือจะกด OK เพื่อข้ามไปก่อนก็ได้ เพราะสามารถไปเอาโค้ดภายหลังได้ในส่วน Admin จุดที่ควรต้องสังเกตุคือ script จะมีทั้งหมด 2 ชุด โดยที่การติดตั้งโค้ดชุดแรก (กรอบสี่เหลี่ยมด้านบน) Google แนะนำให้ติดตั้งในส่วนของ <head> แท็ก ส่วนโค้ดชุดที่สอง (กรอบสี่เหลี่ยมด้านล่าง) จะต้องติดตั้งในส่วนของ <body> แท็ก กด OK เพื่อจบในส่วนของการสร้าง Account Google Tag Manager และเข้าสู่หน้าของการเซ็ตอัพค่าต่างๆ ใน Admin Dashboard

    install-google-tag-manager
    4 นำ script ของ Tag Manager ไปติดตั้งบนเว็บไซต์
  4. หลังจากยอมรับข้อตกลงแล้ว ระบบจะพาเข้าสู่หน้า Overview ซึ่งจะแสดงค่าตั้งต้นพื้นฐานทั่วๆ ไป ถ้ามาถึงตรงนี้แสดงว่าการเซ็ตอัพ Google Tag Manager ได้ทำสำเร็จเรียบร้อยแล้ว Dashboard หลักของการใช้งานจะเข้าได้จากเมนูที่อยู่ด้านซ้ายมือ โดยส่วนที่เอาไว้ใช้สำหรับการสร้าง New Tag หรือแก้ไข Tag จะอยู่ภายใต้เมนูที่ชื่อว่า “Tags” ซึ่งการเซ็ตอัพ Google Analytics ที่กำลังจะอธิบายต่อในส่วนถัดไปนั้นก็จะอยู่ในส่วนนี้ด้วย
    google-tag-manager-admin
    5 หน้า Dashboard ของส่วน Admin ใน Google Tage Manager

     

วิธีการติดตั้ง Google Analytics ผ่าน Google Tag Manager

  1. ก่อนเริ่มขั้นตอนนี้แนะนำให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า Code ของ Google Tag Manager ได้ถูกติดตั้งบนเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว ต่อจากนั้นให้เริ่มต้นการติดตั้ง Google Analytics Tracking Code ด้วยการคลิ้ก Add a new tag จากหน้า Overview ได้เลย แล้วตั้งชื่อแท็กตามตัวอย่างคือ Google Analytics Tracking Code

    create-new-tag
    กดที่ Add-New-Tag เพื่อเริ่มต้นสร้าง Google Analytics Tag
  2. คลิ้ก Tag Configuration ในกรอบแรก เพื่อเข้าสู่การเลือกชนิดของ Tag ที่ต้องการ ขั้นตอนนี้ให้เลือก Universal Analytics ซึ่งแสดงเป็น Tag ตัวแรก

    universal-analytics
    เลือก Universal-Analytics
  3. เมื่อเลือก Universal Analytics แล้วระบบจะพาเข้าสู่ส่วนของการตั้งค่า Google Analytics ตามภาพ ให้ตั้งชื่อ Tag ให้เรียบร้อย หลังจากนั้นขั้นตอนถัดไปคือการระบุ Tracking ID ของ Google Analytics ถ้าไม่รู้ว่าต้องหา Tracking ID ของ Google Analytics ได้จากไหนแนะนำให้อ่านบทความ How to find your tracking id หลังจากได้ Tracking ID แล้ว ให้ทำการระบุหมายเลข ID ของ Google Analytics ผ่านการเซ็ต Variable ซึ่งเป็นวิธีการที่ทาง Google แนะนำให้ใช้ โดยเลือกสร้าง New Variable ผ่านเมนู dropdown ที่ชื่อ Google Analytics Setting

    setup-ga-tracking-id-in-google-tag-manager
    สร้าง New Variable ผ่านเมนู dropdown – Google Analytics Setting
  4. เมื่อเลือกสร้าง New Variable แล้วจะเข้าสู่ส่วนที่จะให้ระบุ GA Tracking ID แล้วตามภาพด้านล่างนี้ ให้ตั้งชื่อ Variable แล้วกรอกหมายเลข Tracking ID ของ Google Analytics ในช่อง Tracking ID ตามภาพได้เลข ส่วน Cookie Domain สามารถปล่อยให้เป็น Auto ได้เลย (สำหรับการติดตั้งแบบมาตรฐานทั่วไป)

    GA-tracking-ID-variable
    ระบุหมายเลข Tracking ID ของ Google Analytics ในช่อง Tracking ID
  5. กด Save เพื่อกลับมาที่หน้าการเซ็ตอัพ Tag อีกครั้ง ก็จะเห็นว่าช่อง Google Analytics Settings จะมีค่าตัวแปร Variable ซึ่งเป็นชื่อที่เราตั้งไว้ก่อนหน้านี้ขึ้นมาแล้วเป็นค่าดังนี้ {{GA Tracking ID Variable}} ตามภาพตัวอย่าง ประโยชน์ที่สำคัญในการสร้างตัวแปรเพื่อเก็บค่า Tracking ID นี้ก็คือจะทำให้เราสามารถเรียกใช้งาน Variable นี้ได้เมื่อเราต้องสร้าง Tag ที่มีการใช้ GA Tracking ID นี้อีกครั้ง ซึ่งช่วยให้ทำงานได้เร็วและลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย

    Google-Analytics-via-GTM-complete
    การเซ็ตค่า Google Analytics Tracking ID ผ่าน Variable ใน Tag Manager
  6. มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการเซ็ตอัพ คือการกำหนดว่าจะให้ Tag Google Analytics นี้ทำงานที่หน้าไหน ซึ่งเมื่อคลิ้กแล้วจะมีเพียงตัวเลือกเดียวเท่านั้นสำหรับ Analytics Tag คือ All pages เพราะตามปกติ Tag ของ Google Analytics จะต้องทำงานทุกหน้าบนเว็บไซต์ ให้เลือก All pages หลังจากเลือก All pages แล้ว หน้าจอจะเหมือนกับตัวอย่างด้านล่างนี้ ให้คลิ้กที่ปุ่ม Save สีฟ้าด้านบน เพื่อ Save ค่า Configuration ทั้งหมดที่ผ่านมา

    Google-Analytics-via-Tag-manager
    เซ็ต Triggering ของ Google Analytics Tag ให้เป็น All Pages เพื่อให้ Tag สามารถทำงานได้ทุกหน้า
  7. เมื่อ Save แล้ว จะกลับเข้ามาสู่หน้า Overview Dashboard เราจะเห็นว่ามี 1 Tag และ 1 Variable ใหม่ที่ถูก Added เข้ามา ถึงตรงนี้ต้องย้ำให้เข้าใจกันก่อนว่า Google Analytics นั้นยังไม่สามารถทำได้งานได้จริง สำหรับ Google Tag Manager การ Save นั้นเป็นแค่การเก็บค่าต่างๆ ที่ทำการ config ไว้เท่านั้น ถ้าหากต้องการให้แต่ละ Tag ที่เพิ่มเข้าไปใช้งานได้จริงจะต้องทำการ “Submit” ออกไปก่อนเท่านั้น

    publish-Google-Analytics-via-tag-manager
    คล้ิกที่ Submit เพื่อให้ Google Analytics Tag ที่เพิ่มเข้าไปเริ่มต้นทำงาน
  8. เมื่อกด Submit สีฟ้าด้านขวาบนแล้ว จะมีส่วนที่ให้กรอก description ที่เกี่ยวกับการเซ็ตอัพแก้ไขในแต่เวอร์ชั่นเพื่อที่เมื่อเวลาผ่านไปจะสามารถกลับมาอ่านทำความเข้าใจได้ว่ามีการทำอะไรไปบ้าง เมื่อกรอกข้อมูลแล้วให้คลิ้ก Publish

    Publish-Tag-and-create-version
    กรอกข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเซ็ตอัพครั้งนี้ไว้เพื่อที่จะสามารถกลับมาอ่านได้ว่า แต่ละ Version มีการแก้ไขอะไร
  9. เมื่อกด Publish เรียบร้อยแล้ว กลับมาที่เมนู Version ด้านบน จะเห็นว่า Tag ของ Google Analytics ที่เซ็ตอัพไปนั้น Live เรียบร้อยและเร่ิมทำงานได้แล้ว

    pubiished-GA-tag-via-GTM
    การติดตั้งที่สมบูรณ์ และ Tag สามารถทำงานได้แล้ว

ครบหมดทุกขั้นตอนแล้ว ตั้งแต่การติดตั้ง Google Tag Manager จนถึงการติดตั้ง Google Analytics ผ่าน Tag Manager โดยรวมแล้วอาจจะไม่ง่ายสำหรับการใช้งานในช่วงแรกๆ แต่ก็ไมได้ยากจนเกินไปนัก รับรองได้ว่าเมื่อพอใช้งานเป็นในระดับหนึ่งแล้ว เรื่องการจัดการบริหาร Tag จำนวนมากจะกลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย
Happy Analytics 🙂
ติดตามอ่านบทความและพูดคุยกัน แอดเฟรนด์ Line@ : @pornthep
เพิ่มเพื่อน

One thought on “วิธีการติดตั้ง Google Tag Manager อย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย ทำได้เอง

Leave a Reply