Google Tag Manager คืออะไร อธิบายง่ายๆ พร้อมวิธีติดตั้งทีละขั้นตอน

Google-tag-manager-คืออะไร

ทำไมจึงต้องใช้ Google Tag Manager หรือเมื่อไรถึงควรจะต้องใช้ เป็นคำถามที่ครั้งหนึ่งผมเองก็เคยสงสัยและพยายามหาข้อมูลมาก่อน บทความนี้จะมาตอบทุกคำถามที่ผมเองเชื่อว่าหลายคนอยากรู้  ยกตัวอย่างเช่น ทุกเว็บไซต์ควรจะต้องใช้หรือไม่?  ซึ่งคำตอบก็คือ “ไม่จำเป็น” แต่สำหรับบางเว็บไซต์แล้วการใช้ Google Tag Manager จะช่วยอำนวยความสะดวกให้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสะดวกรวดเร็ว ลดเวลาในการทำงานลง แต่คำถามคือเว็บไซต์แบบไหนล่ะที่ควรต้องใช้ แล้วเมื่อไหร่ที่ควรจะเริ่มใช้ ก่อนที่จะตอบคำถามเหล่านี้ มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า Google Tag Manager คืออะไร

Google Tag Manager คืออะไร

Google Tag Manager คือ ระบบบริหารจัดการ Tags ต่างๆ (TMS- Tag Managment System) ของ Google และเป็นเครื่องมือที่ให้ใช้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากใครเคยติดตั้ง Facebook pixel หรือ Google Analytics ในเว็บไซต์แล้วคงจะนึกภาพออกว่าแท็กที่ว่าจะมีลักษณะเป็นโค้ดจาวาสคริปต์ประมาณ 5-10 บรรทัดแล้วแต่ชนิดของแท็ก ซึ่ง Google Tag Manager ก็คล้ายๆ กับสคริปต์พวกนี้แหละครับ เพียงแต่ Google Tag Manager มีความพิเศษตรงที่ตัวมันเป็น Tag ประเภท Container Tag แปลตรงตัวก็คือ Tag ที่เอาไว้บรรจุ Tags อื่นๆ อีกทีนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น Facebook Pixel, Adwords Remarketing pixel, Adwords Conversion pixel  รวมไปถึง Script อื่นๆ อีกมากมายที่ GTM (Google Tag Manager) เตรียมเอาไว้ให้ เมื่อนำไปใช้งานจริง Tag ที่จะติดบนหน้าเว็บก็จะเหลือแค่ Tag manager ตัวเดียว ส่วน Tag ที่เหลือเราจะไปจัดการที่หน้าแดชบอร์ดของ Tag manager อีกที ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการ tag ต่างๆ ง่ายขึ้นเพราะเป็นการรวบรวมไว้ที่เดียว ไม่ต้องไปลำบากนั่งไล่ดู source code html อีกต่อไป โดยวิธีการติดตั้งนั้นเพียงแค่เข้าไปสร้าง Account แล้วนำเอา Script มาติดตั้งที่เว็บไซต์ทุกหน้าของเราเท่านั้นก็สามารถเร่ิมใช้งานได้ทันที

google-tag-manager

Google Tag Manager ดีอย่างไร

ประโยชน์สำคัญหลักๆ ของ GTM คือมันจะตัวที่ช่วยจัดการ Tags และ Script จำนวนมากมายได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะกับเว็บขนาดใหญ่และเว็บอีคอมเมิร์ซที่มักมี Tags ต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 10-20 ตัว ซึ่งนอกจากจะสามารถจัดการเอา script เข้าออกได้จากการทำงานผ่าน dashboard ของ GTM ได้โดยตรง โดยที่ไม่ต้องรอคิวงานของเว็บโปรแกรมเมอร์ให้เสียเวลาแล้ว GTM ยังลดปัญหาเรื่องของ Script ที่โหลดช้าและ script error จากการติดตั้งที่ไม่ถูกต้องอีกด้วย ส่วนประโยชน์อื่นๆ ผมขอสรุปเป็นหัวข้อสำคัญๆ ดังนี้

  1. Speed การเพิ่ม New Tage หรือ Edit Tag เดิมสามารถทำได้ผ่าน GTM โดยที่ไม่ต้องไปแก้ไข Code ที่เว็บไซต์
  2. Flexibilty ความยืดหยุ่นในการใช้งานเป็นอึกหนึ่งฟีเจอร์สำคัญ โดยเฉพาะกับ script ที่ต้องมีการเซ็ตอัพพิเศษบางอย่าง เช่น Adwords conversion pixel ที่จะต้องติดตั้งให้ทำงานเฉพาะหน้าที่เกิด Conversion ขึ้น อธิบายให้เห็นภาพคือ เราสามารถบอก GTM ว่าให้ Conversion pixel นี้ทำงานก็ต่อเมื่อ URL ของหน้าๆ นั้นมีคำว่า ‘thankyou’ อยู่ ง่ายมากใช่ไหมครับ
  3.  Version Control GTM นั้นเวลามีการเพิ่มหรือแก้ไข Tag ระบบจะมีการสร้าง version ใหม่ขึ้นมาทันที ซึ่งการมี Version Control นี้ช่วยให้เราสามารถทำการ Rollback กลับไปหา version ก่อนหน้าได้เมื่อ Vesrion ปัจจุบันเกิดปัญหาทำงานไม่ถูกต้อง
  4. Built-in Tag ภายใน GTM นั้นมี Built-in Tag มากมายตามภาพด้านล่าง ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนที่อาจจะไม่มีประสบการณ์เรื่อง Coding มากนัก และที่สำคัญคือการใช้ Built-in Tag จะช่วยลดปัญหา Error ต่างๆ ที่เกิดจากการเซ็ตอัพไม่ถูกต้อง
    Google-tag-manager-build-in-tag

เมื่อไรถึงควรจะเริ่มต้นใข้ Google Tag Manager

เว็บไซต์ที่มีการติดตั้ง Tags จำนวนมากอยู่แล้ว อันนี้แนะนำว่าควรจะใช้จริงๆ แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่ติดแค่ Google Analytics กับ Facebook Pixel ล่ะ จำเป็นไหม ตรงนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกแล้วครับ จริงๆ ไม่จำเป็น แต่ถ้ามีโอกาสที่จะเปลี่ยนได้ก็ควรที่จะเปลี่ยน เพราะสุดท้ายแล้วเราจะต้องมี Tag อื่นๆ ตามมาอีกในอนาคตแน่ๆ เรื่องนี้ผมรับรองได้ ถ้าเปลี่ยนเสียแต่วันนี้ คุณจะขอบคุณตัวเองในอนาคต เชื่อสิ 🙂

ข้อควรระวังและข้อแนะนำในการเริ่มต้นติดตั้ง Google Tag Manager

  1. จังหวะที่ดีที่สุดสำหรับการเริ่มต้นติดตั้ง GTM คือช่วงที่เว็บไซต์กำลังจะอัพเกรด Google Analytics Tracking Code จาก Classic code (ga.js) เป็น Universl Analytics (analytics.js) ซึ่งแนะนำให้ติดตั้ง Universal Analytics ผ่าน Google Tag Manager ไปเลยในคราวเดียวกัน ตรงนี้ Analytics ของใครยังเป็นรุ่นเก่าอยู่ก็แนะนำให้อัพเกรดครับ จะใช้ GTM หรือไม่ใช้ก็ตาม เพราะเวอร์ชั่นใหม่มีฟีเจอร์ต่างๆ ที่ดีกว่าเพิ่มเข้ามามากมายครับ
  2. เว็บไซต์ที่ใช้ Classic code และมีการเซ็ตอัพ Event Tracking หรือ E-commerce Tracking ไว้แล้ว ต้องเข้าใจก่อนว่าการเปลี่ยนไปใช้ Universal จะทำให้ Tracking script แบบเดิมทำงานไม่ได้ทันที ทุกอย่างจะต้องเริ่มต้นใหม่หมด เรื่องนี้ต้องพิจารณาและศึกษาเตรียมความพร้อมให้ดีก่อน
  3. อย่าคิดว่าการใช้ Google Tag Manager จะช่วยให้การเซ็ตอัพ Tracking ต่างๆ ของ Google Analytics ทำได้ง่ายขึ้นเสมอไป บางเรื่องกลับมีความยุ่งยากมากขึ้นกว่าเดิมเพราะต้องทำผ่าน data layer ของ GTM ซึ่งเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลจากเว็บไปที่ Google Analytics Server

สำหรับวิธีการตั้งใช้งาน Google Tag Manager สามารถอ่านได้จากบทความ  วิธีการติดตั้ง Google Tag Manager อย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย ทำได้เอง
Happy Analytics 🙂
ติดตามอ่านบทความและพูดคุยกัน แอดเฟรนด์ Line@ : @pornthep
เพิ่มเพื่อน

One thought on “Google Tag Manager คืออะไร อธิบายง่ายๆ พร้อมวิธีติดตั้งทีละขั้นตอน

Leave a Reply