
คนที่เข้าเว็บไซต์ มีค่าเฉลี่ยต่อการเข้าเว็บเป็นเวลาเท่าไร ?
แต่ละหน้าบนเว็บไซต์ คนใช้เวลาดูในหน้านั้นเป็นเวลาเท่าไร?
หลายคนที่ใช้ GA เวอร์ชั่น 3 (universal analytics) คงรู้จักคุ้นเคยกับค่าทั้งสองค่านี้ที่ใช้ตอบคำถามด้านบนนี้ ซึ่งได้แก่ค่า Avg. session duration และ Avg. time on page
Avg. session duration และ Avg. time on page คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ว่ากันตามตรงสำหรับเว็บไซต์ทั่วไป สองค่านี้อาจจะไม่จำเป็นมากนัก รวมถึงไม่จำเป็นต้องมากำหนดเป็น KPIs เลย ยกเว้นสำหรับเว็บไซต์ประเภท Publisher, blog และ Content เว็บไซต์ ที่คนที่เข้าเว็บควรจะต้องใช้เวลาในการอ่านคอนเทนต์ ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญของเว็บไซต์ ดังนั้นการ Track เรื่อง Time spent ในแต่ละหน้า หรือแต่ละการเข้าชมเว็บไซต์ จึงเป็นสเต็ปพื้นฐานที่ช่วยทำให้เราเข้าใจ Performance ของ Content ได้ส่วนหนึ่งว่า Content ไหนดี น่าสนใจ และทำให้ Users ใช้เวลาในการอ่าน
ทั้งสองค่านี้กำลังหลอกเราอยู่
แต่ปัญหาคือ คนส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าค่าทั้งสองค่านี้โดยดีฟอลต์แล้ว เป็นค่าที่คลาดเคลื่อนค่อนข้างมาก และสร้างความเข้าใจผิดในการวิเคราะห์ตีความ ลองทำความเข้าใจตัวอย่างนี้ดูนะครับ ว่าทำไมตัวเลขนี้จึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง และทำไมเรากำลังวิเคราะห์ตีความจากตัวเลขที่ผิดอยู่
ใครบางคนเข้าที่หน้า A เป็นหน้าแรก เวลา 13.00 (GA3 จะทำ timestamp ไว้ทุก interaction)
หลังจากนั้นก็คลิ้กเข้าหน้า B เวลา 13.05
และคลิ้กไปต่อที่หน้า C เวลา 13.15
หลังจากอ่านหน้า C ได้ 15 นาทีแล้วก็ออกจากเว็บไซต์ไป
ตัวเลขที่เกิดขึ้นคือ
session duration = 13.15-13.00 = 15 นาที
time on page A = 13.05-13.00 = 5 นาที
time on page B = 13.15-13.05 = 10 นาที
time on page C= 0 นาที !!!
ทำไมหน้า C ถึงบันทึกเวลาไม่ได้ ทั้งที่ความจริงคือ 15 นาที?
คำตอบคือ ถ้าเราเข้าใจวิธีคิด Time on page หน้า A และ B แล้ว ก็จะทราบว่า GA จะเอา Timestamp ของหน้าถัดไปมาลบกับ Timestamp ของหน้าแต่ละหน้าเพื่อคำนวนค่า time on page ดังนั้นหน้า C จะไม่มีค่า TIme on page ทั้งๆ ที่ยูสเซอร์ใช้เวลาจริง 15 นาที !
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการคำนวนเวลา Session Duration และ Time on page ใน GA3
- Time on page C ไม่มีค่า ซึ่งจริงๆ แล้วในกรณีนี้เป็นหน้าที่ใช้เวลาเยอะที่สุด (บางท่านอาจจะแย้งว่า จริงๆอ่านแค่หน้าทีเดียวแล้วไปทำอย่างอื่นก่อนจะมาปิดหน้าจอก็ได้ อันนี้คงไม่มีใครตอบได้จริงๆ GA ก็ไม่มีทางรู้ ยกเว้นการ implement อะไรที่ advance ขึ้น เช่นพวก Event ต่างๆ ซึ่งขอละไว้ก่อน)
- Session duration ที่ GA บันทึกได้ 15 นาที (จากการเอา timestamp หน้า C – A) ก็ยังเป็นค่าไม่ถูกต้อง เพราะยังไม่รวมอีก 15 นาทีที่ใช้จริงในหน้า C
- เคสที่น่าสนใจอีกเคสหนึ่งคือ กรณีที่ใครบางคน คนนั้น เข้าที่หน้า A หน้าเดียว อ่านเนื้อหาเป็นเวลา 15 นาที อ่านจบแล้วก็ออกจากเว็บไซต์ไป กรณีนี้คือ ทั้ง Session duration และ Time on page A มีค่าเท่ากับ ศูนย์ ทั้งคู่ ซึ่งจะนำไปสู่การคำนวนค่า Avg. session duration และ Avg. time on page ที่ผิดพลาดอีก
GA4 แก้ปัญหาเรื่องเวลาด้วย User engagement event
GA4 ได้เพิ่ม event ใหม่ที่ชื่อ User engagement ซึ่ง event นี้จะถูกส่งไปที่ GA4 อยู่เป็นระยะตลอดเวลาที่เปิดหน้าเว็บไซต์หรือแอปค้างไว้ ซึ่งในส่วนของ Event parameter นั้นจะเก็บเป็น milliseconds หมายความว่าเก็บเป็นจำนวน ‘เวลา’ จริงๆ ที่สำคัญและถือเป็นไฮไลท์ของฟีเจอร์นี้เลยก็คือ User engagement จะมีการส่ง Event ครั้งสุดท้ายในตอนที่มีการ ปิดแทป ปิดบราวเซอร์ หรือเปลี่ยน URL ไปเข้าเว็บไซต์อื่น นั่นทำให้ GA4 บันทึกเวลาจนวินาทีสุดท้ายก่อนที่หน้าจอเว็บไซต์ของเราจะหายไป ซึ่งนั่นทำให้ GA4 บันทึกเวลาได้ถูกต้องใกล้เคียงเวลาการใช้งานจริงมากกว่า GA3
ดังนั้นในรกรณึของตัวอย่างที่กล่าวไว้ Session duration ก็จะบันทึกได้จริงคือ 30 นาที (ใน GA4 จะเรียกเมทริคนี้ว่า Average engagement time per session) และ Time on page C ก็จะบันทึกค่า 15 นาทีได้ แทนที่จะบันทึกค่าศูนย์ (ใน Pages and screens report ของ GA4 จะเรียกค่านี้ว่า Average engagement time)
ใครที่ใช้ GA3 อยู่ควรเข้าใจเรื่องนี้ และต้องเริ่มใช้งานคู่กับ GA4 ได้แล้ว
Happy Analytics 🙂