Google Analytics คืออะไร มาเรียนรู้ประโยชน์จากการใช้งาน และวิธีการติดตั้ง

google-analytics

Google Analytics คือ เครื่องมือให้ใช้ฟรีของ Google ที่ช่วยเจ้าของเว็บไซต์ในการเก็บข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ปรับปรุงในส่วนงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาด การซื้อโฆษณา การปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ และการหาสิ่งที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์สนใจ เช่น สินค้า บริการ รวมถึงเนื้อหาต่างบนเว็บไซต์ของเรา กล่าวโดยสรุปก็คือ Google Analytics เป็นเครื่องมือช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่จะทำให้เราทราบถึงปัญหาหรือโอกาสที่มีอยู่ และสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ เพื่อจะทำให้ธุรกิจเติบโตและมียอดขายเพิ่มขึ้นนั่นเอง

สิ่งที่ Google Analytics เก็บข้อมูลให้เรานั้น เรียกได้ว่าเก็บทุกอย่างที่เราจำเป็นต้องใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งหลายอย่างก็เป็นเรื่องเทคนิคอลเกินไปที่จะพูดถึง แต่ขอสรุปเฉพาะส่วนที่สำคัญและเป็นประโยชน์กับเจ้าของเว็บไซต์ส่วนใหญ่ไว้ดังนี้

  • Google Analytics จะเก็บข้อมูลลูกค้าที่เข้ามาที่เว็บไซต์ว่ามาจากการโฆษณาและการทำการตลาดผ่านสื่อชนิดใด เช่นมาจากโพสต์บน facebook fan page, email, หรือมาจากการค้นหาใน Google Search ซึ่งทำให้เราทราบว่าช่องทางใดเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในการเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ เป็นต้น
  • Google Analytics สามารถที่จะเก็บยอดขายที่เกิดขึ้นจากการเข้าเว็บไซต์จากช่องทางต่างๆ เมื่อนำมาคำนวณรวมกับต้นทุนค่าโฆษณาแล้ว จะทำให้เราทราบว่าช่องทางใดเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไปมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของยอดขายที่เกิดขึ้น จำนวนการสั่งซื้อ หรือแม้แต่การสมัครสมาชิก ซึ่งจะทำให้เราสามารถกำหนดงบประมาณในการใช้สื่อชนิดต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Google Analytics ยังสามารถบอกได้ว่า คนที่เข้ามาที่เว็บไซต์นั้นเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง มีอายุประมาณเท่าใด ข้อมูลนี้จะทำให้เราทราบว่าใครเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่สร้างยอดขายมากที่สุด ใครเป็นกลุ่มที่เราต้องให้ความสนใจมากขึ้น
  • ในแง่ของพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ Google Analytics จะให้ข้อมูลในเรื่องของจำนวนหน้าเว็บที่เข้าดู เวลาที่ใช้อยู่บนเว็บไซต์ และที่สำคัญที่สุดก็คือข้อมูลที่จะบอกเราว่า ผู้ที่เข้ามาที่เว็บไซต์ได้ซื้อสินค้ากับเราหรือไม่ อะไรขายดี อะไรขายไม่ได้ ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่กล่าวมานี้จะถูกประมวลผลและแสดงออกมาในรูปแบบของรายงานที่อ่านเข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพได้ทันทีนั่นเอง

abc-ga-report
4 กลุ่มรายงานหลักใน Google Analytics : Audience, Acquisition, Behavior และ Conversion

4 กลุ่มรายงานหลักใน Google Analytics

Audience report

รีพอร์ทกลุ่มนี้จะแยกออกเป็นรีพอร์ทย่อยอีกมากมาย แต่โดยรวมจะเป็นรีพอร์ทที่แสดงข้อมูลของคนที่เข้าเว็บไซต์ของเรา เช่น เพศ อายุ location และความสนใจต่างๆ เป็นต้น ประโยชน์ของกลุ่มรีพอร์ทนี้จะทำให้เราสามารถรู้ได้ว่า ชาย หญิง แต่ละช่วงอายุ ใครคือกลุ่มหลักที่เป็นลูกค้าของเรา ซึ่งช่วยให้เรานำไปกำหนดTarget ของการทำมาร์เก็ตติ้งได้ดีขึ้น

 

age-report-in-google-analytics
ตัวอย่างรีพอร์ทช่วงอายุของผู้เข้าเว็บไซต์และยอดขายที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงอายุ

geo-report-in-google-analytics

Acquisition report

รีพอร์ทกลุ่มนี้จะเป็นรีพอร์ทที่แสดงข้อมูลการเข้าเว็บไซต์ของเราว่า คนที่เข้าเว็บไซต์ของเรามาจากช่องทางใด เช่นมาจาก facebook, email, search หรือมาจากเว็บอื่นๆ ที่มีลิงค์มาที่เว็บของเรา ในส่วนนี้ยังมีรีพอร์ทที่แสดงข้อมูลจากการโฆษณาใน Adwords ด้วย ซึ่งค่อนข้างที่จะละเอียด และสามารถนำไปใช้ optimize โฆษณาให้ดีขึ้นได้ สำหรับคนที่ซื้อโฆษณา Google Adwords แล้ว รีพอร์ทกลุ่มนี้เป็นส่ิงที่เรียกว่าขาดไม่ได้เลย

channel-report-in-google-analytics
ตัวอย่างรายงาน Channel Report ที่จะแสดงข้อมูลจำนวนคนเข้า จำนวนยอดขาย จำนวนออเดอร์ที่เกิดขึ้นผ่านการทำ Marketing ในแต่ละช่องทาง

Behavior report

เป็นชุดรีพอร์ทที่แสดงข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของยูสเซอร์ เช่น เข้าเว็บไซต์ที่หน้าใด ออกที่หน้าใด แต่ละหน้าใช้เวลาอยู่นานเท่าใด เข้ามาแล้วค้นหาสินค้าอะไร เป็นต้น ประโยชน์ของรีพอร์ททำให้เราเห็นถึงพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ ว่าหน้าใดที่มีความสำคัญ หน้าใดที่มีปัญหาและต้องการการแก้ไข โดยเฉพาะข้อมูลการค้นหาสินค้าบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งเป็นข้อมูลที่จะมีประโยชน์กับการทำการตลาดอย่างมาก

behavior-flow-report-in-google-analytics
ตัวอย่างรายงาน Behavior Flow ที่ทำให้เราเห็นพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์และการเชื่อมโยงการใช้งานในแต่ละหน้า

Conversion report

เป็นรีพอร์ทที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Goal ที่เรากำหนดไว้ใน Analytics เช่น การสั่งซื้อสินค้า การลงทะเบียนสมัครสมาชิก เป็นต้น สำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแล้ว รีพอร์ทกลุ่มนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ลึกลงไปในแต่ละการสั่งซื้อ สินค้าอะไรขายดี อะไรขายไม่ดี แต่ละวันมียอดขายเท่าไร เป็นต้น นอกจากนี้ Google Analytics ยังมีฟีเจอร์อย่าง Enhanced E-commerce ซึ่งถือเป็นฟีเจอร์ระดับ Advance สำหรับเว็บอีคอมเมิร์ซอีกด้วย

product-performance-report-in-google-analytics
ตัวอย่างรายงาน Product performance report ซึ่งจะแสดงรายละเอียดของสินค้าแต่ละ SKU ที่ขายได้ เช่น จำนวนชิ้น ยอดขาย เป็นต้น

พอเราเข้าใจแล้วว่า google analytics คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ส่วนต่อไปที่อยากให้เข้าใจคือความหมายของคำว่า  “analytics”  ซึ่งกูเกิ้ลได้ให้คำจำกัดความของ “digital analytics” ไว้ว่า “เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลของธุรกิจในเชิงปริมาณ (quantitative data) และเชิงคุณภาพ (qualitative data) เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุง online marketing channel (website, mobile app, etc) อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับประสบการณ์ที่ดี ในขณะเดียวกันก็ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายทางธุรกิจ”

Digital analytics is the analysis of qualitative and quantitative data from your business and the competition to drive a continual improvement of the online experience that your customers and potential customers have which translates to desired outcomes

– avinash kaushik

ในความหมายที่กล่าวมานั้น สิ่งหนึ่งที่กูเกิ้ลให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือคำว่า “continual improvement” ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการวัดผลตามเป้าหมายที่กำหนดให้ได้จริง เมื่อวัดผลได้แล้วก็ต้องอ่านรีพอร์ทให้เป็น สามารถวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาและโอกาสได้ เพื่อนำไปกำหนดแนวทางในการพัฒนาแก้ไขปรับปรุงได้อย่างถูกต้องเป็นระบบ และจะต้องมีการวัดผลหลังจากการปรับปรุงไปแล้วสักระยะหนึ่งเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์อีกครั้ง ทำเช่นนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอนโดยสรุปดังนี้

google-analytics-process
กระบวนการในการทำ Analytics เพื่อให้เกิดการปรับปรุงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  1. measure ขั้นตอนแรกคือการวัดผล ซึ่งจะต้องมีสร้าง measurement plan ก่อน ที่สำคัญที่สุดคือต้องมี Goal นั่นเอง
  2. report หลังจากสามารถที่จะวัดผลได้แล้ว ก็ต้องมีการสร้างรีพอร์ทในรูปแบบที่อ่านได้เข้าใจง่าย สามารถนำไปทำงานต่อได้
  3. analyse ขั้นตอนที่สามคือการวิเคราะห์รีพอร์ท ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะทำให้เราสามารถพบปัญหาและโอกาสที่น่าจะเป็น แล้วนำมากำหนดเป็น Hypothesis หรือข้อสันนิษฐาน ขึ้นมาเพื่อจะนำมาทดสอบในขั้นตอนถัดไป
  4. test คือการนำ Hypothesis มาทดสอบเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด
  5. improve เมื่อวัดผลจากการทดสอบแล้ว ก็สามารถนำผลที่ได้มาปรับใช้งานจริง ซึ่งจะทำให้เกิดการ improvement หลังจากนั้นการทำงานจะกลับไปที่ขั้นตอน measurement อีกคร้ง

กระบวนการทั้งหมดนี้ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่คนทำ Analytics จะต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อที่จะทำให้เกิดการปรับปรุงผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Google Analytics มีวิธีการทำงานอย่างไร
วิธีการติดตั้ง Google Analytics บนเว็บไซต์

Happy Analytics 🙂

เพิ่มเพื่อน

ไม่พลาดทุกบทความ แอดเฟรนด์ Line@ : @pornthep
สนใจคอร์สเรียน Google Analytics  อ่านรายละเอียด

Leave a Reply