Google Analytics ทำงานอย่างไร

การเข้าใจระบบการทำงานของ Google analytics เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้สามารถศึกษาเรียนรู้ต่อไปได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นหากใครยังไม่เข้าใจระบบการทำงานของ Google Analytics ขอให้ใช้เวลาสักเล็กน้อยอ่านบทความสั้นๆ นี้ให้จบนะครับgoogle-analytics-process

Google Analytics แบ่งระบบการทำงานออกเป็น 4 ส่วนหลักดังนี้

  1. Collection
    คือการเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานเว็บไซต์ mobile app หรืออื่นๆ โดยผ่านการทำงานของ javascript code ที่ติดตั้งในทุก pages ของเว็บไซต์ โดยทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนหน้าเพจ จาวาสคริปต์จะอ่าน/เขียนข้อมูลใน cookie ในเครื่องของยูสเซอร์ แล้วทำการส่งข้อมูลไปเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ของ google เช่น ข้อมูลของแหล่งมาของการเข้าสู่เว็บไซต์ ข้อมูลเกี่ยวกับ location, web browser, devices รวมถึงพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ เช่น จำนวนหน้าที่เข้าชม เวลาอยู่หน้าแต่ละหน้า เป็นต้น
  2. Processing
    คือขบวนการในการจัดกลุ่มข้อมูลดิบให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นระบบสามารถนำข้อมูลไปใช้งานในการแสดงรีพอร์ทได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพกว่าการอ่านข้อมูลดิบที่เก็บได้จากขั้นตอนแรก เช่น การจัดเก็บข้อมูลแยกออกเป็นกลุ่มที่ใช้ desktop, mobile, new user, returning visitor, ประเทศ หรือตามชนิดของ browsers เป็นต้น
  3. Configuration
    เป็นขั้นตอนสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างการ processing เช่นการฟิลเตอร์ข้อมูลที่มี IP address ที่เป็นไอพีภายในบริษัทออก ซึ่งจะต้องมีการเซ็ตอัพและกำหนดค่าไว้ในส่วน admin ก่อน หลังจากที่ข้อมูลดิบผ่านการ processing และ configuration แล้ว ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บลงในดาต้าเบสเพื่อใช้ในการทำรีพอร์ทต่อไป
    ***สำคัญมาก! หลังจากที่เก็บข้อมูลในดาต้าเบสแล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้อีกต่อไป ดังนั้นการ Configuration และสร้างฟิลเตอร์ต่างๆ ควรมีการทดสอบใน view(profile) ที่สร้างขึ้นเพื่อการทดสอบโดยเฉพาะ ก่อนจะใช้กับ view หลักในการดูรีพอร์ท
  4. Reporting
    คือขบวนการในการดึงข้อมูลจากดาต้าเบสตาม account ของ Google Analytics ออกมาแสดงในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหน้าตาของรีพอร์ทก็จะแสดงอย่างที่เราเห็นกันใน Google Analytics นั่นแหละครับ

หากเข้าใจพื้นฐานระบบการทำงานของ Google Analytics เบื้องต้นแล้ว แนะนำให้อ่าน คำศัพท์พื้นฐานที่ต้องรู้จักใน Google Analytics ต่อไปนะครับ

Leave a Reply