not provided, not set และ none คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

หนึ่งในคำถามที่ถูกถามบ่อยมากที่สุดในคลาสสอน Google Analytics และเชื่อว่ายังเป็นคำถามที่หลายๆ คนสงสัยกันอยู่คือ ‘not provided‘ ‘not set‘ และ ‘none‘ คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร? สามารถแก้ไขได้หรือไม่?  บทความนี้จะมาคลายข้อสงสัยและอธิบายความหมายกันทีละคำให้เข้าใจถึงที่มาที่ไปและสาเหตุที่ทำให้เกิดการแสดงค่าเหล่านี้ในรีพอร์ทของ Google Analytics ซึ่งจะว่าไปแล้วนั้น ทั้งสามคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และก็มักจะสร้างความสับสนสงสัยให้กับคนที่เริ่มต้นใช้งาน Google Analytics รวมไปถึงผู้ที่ใช้งานมาแล้วระดับหนึ่งในการทำจะหาคำตอบเหล่านี้

Not Provided คืออะไร

not-provide-keywords

รีพอร์ทที่พบ : Acquisition>Campaigns>Organic Keywords
ความหมายโดยย่อ : Not Provided เป็นคำที่ใช้แสดงเพื่อบอกว่าจะไม่มีการเปิดเผย ‘keyword’ ที่ใช้ค้นหาใน Google Search ก่อนที่จะคลิ้กเข้ามาที่เว็บไซต์
สาเหตุ : การที่ Google ใช้ Not Provided นั้นเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลในการที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวตามนโยบายเรื่อง Privacy Policy ซึ่งเคสที่จะเข้าข่ายที่จะปกปิดคีย์เวิร์ดนี้ได้แก่ในกรณีที่ User ล็อกอิน Google Account อยู่ และกรณีที่เป็นการใช้งานผ่าน Secure Connection เช่น https://www.google.com เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันนี้ Browser ส่วนใหญ่ก็จะเป็น https โดยค่าพื้นฐานอยู่แล้ว
เรื่องควรรู้ : คำว่า Not Provided นั้นจะถูกพบเพียงแค่ใน Organic Keywords รีพอร์ทเพียงที่เดียวเท่านั้น และสัดส่วนในปัจจุบันมักจะพบว่า Not Provided จะมีค่าไม่ต่ำกว่า 90% แล้ว นั่นหมายความว่า มากกว่า 90% ของ keywords ที่ถูกค้นหาผ่าน Google Search และคลิ้กเข้ามา(จากผลลัพธ์ที่ไม่ใช่การโฆษณา) จะไม่แสดงให้เห็นในรีพอร์ทนี้อีกแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ถือว่าน่าเสียดายมากสำหรับ Digital Marketer และคนที่ทำ SEO สำหรับในส่วน Paid Keywords นั้น Keywords ยังคงมีแสดงใน Paid Keywords รีพอร์ทตามปกติ แน่ล่ะ เสียตังค์นี่ครับ:) Continue reading

Converted Clicks, Conversions และ Transactions ต่างกันอย่างไร

conversion

เมื่อวานนี้มีคำถาม inbox เข้ามาในแฟนเพจให้ช่วยอธิบายความแตกต่างระหว่าง Converted Clicks, Conversions และ Transaction เลยขอถือโอกาสนำมาเขียนเป็นบทความเพื่อให้ทุกคนได้ทราบทั่วกันน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ผมเองเคยสงสัยอย่างมากในช่วงแรกๆ ที่เริ่มซื้อโฆษณาผ่าน Google Adwords ว่าแตกต่างกันอย่างไร และเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้อยู่ Continue reading

เจาะลึกกลุ่มลูกค้าด้วย Audience insight report รีพอร์ทใหม่ใน Google Analytics

Audience-insight-reportเมื่อไม่นานนี้ได้รับอีเมล์แจ้งอัพเดทฟีเจอร์ใหม่ (ยังไม่ rollout ในประเทศไทย)ในเดือนธันวาคมจากทาง Google ซึ่งแนะนำรีพอร์ทที่มีชื่อว่า Audience insight report ในอีเมล์ให้รายละเอียดเกี่ยวกับรีพอร์ทนี้สั้นๆ ว่าจะทำให้เราสามารถเห็นภาพของ Audience ที่เข้าเว็บไซต์ของเราได้ละเอียดและลึกมากขึ้นในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Behavior metric, Goal metric และ E-commerce metric ซึ่งจุดเด่นสำคัญของรีพอร์ทนี้มีอยู่สองเรื่องสำคัญด้วยกันคือ Continue reading

28 คำศัพท์ Google Analytics รู้แล้วอ่านรีพอร์ทเป็นแน่นอน

google-analytics-glossary

คำศัพท์พื้นฐานหลายๆ คำที่เรามักจะต้องเจออยู่เสมอในการดูรีพอร์ทจาก Google Analytics นั้น เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกันดี แต่ก็ยังมีคำศัพท์อีกหลายคำรวมถึงศัพท์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการอัพเดทฟีเจอร์ใหม่ของ Google Analytics อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้หลายๆ คนที่ไม่ได้ติดตามหรือใช้งานตลอดเวลาอาจจะยังไม่รู้จักกัน บทความนี้รวบรวมคำศัพท์ที่จำเป็นและเห็นว่ามีความสำคัญในการใช้งาน Google Analytics ทั้งหมดเพื่อมาทบทวนความเข้าใจกันอีก เพราะยังมีหลายคนที่เหมือนจะเข้าใจแต่เอาเข้าจริงแล้วก็ยังเข้าใจไม่ถูกต้องทั้งหมด มาดูกันครับว่าเข้าใจกันถูกต้องจริงหรือเปล่า

Dimension

คือส่วนของคอลัมน์ซ้ายสุดของทุกรีพอร์ทนั่นแหละครับ เป็นการจัดแบ่ง หมวดหมู่ ประเภท และกลุ่มข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายกันบางอย่าง ซึ่งช่วยให้เราสามารถเห็นภาพและวิเคราะห์ข้อมูลได้ในเบื้องต้นว่ากลุ่มข้อมูลใดมีค่าที่ดีหรือแย่กว่ากัน ยกตัวอย่างเช่น Age, Gender, Country, Channel, Device, Browser, Landing page เป็นต้น

Metrics

คือชุดของกลุ่มข้อมูลที่วัดผลเป็นตัวเลขได้ เช่น จำนวน Session, จำนวน new users, จำนวน Pageview, อัตรา Bounce rate เป็นต้น ซึ่งข้อมูล Metrics นี้จะเป็นข้อมูลที่แสดงคู่กับ Dimension ในทุกๆ รีพอร์ท การอ่านค่าต่างๆ ของ Dimension จึงทำได้ง่ายและสะดวก เช่น กลุ่มเพศหญิง (Dimension) เข้ามาในเว็บไซต์ในช่วง 1 เดือนเป็นจำนวนรวมกัน 1,200 ครั้ง (session) และมีการดูหน้าต่างๆ บนเว็บไซต์รวมทั้งหมด 4,500 หน้า (pageviews) Continue reading

โครงสร้างของ Google Analytics Account

เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้ google analytics ที่จะต้องทำความเข้าใจโครงสร้างของ account เพราะหากไม่เข้าใจแล้วอาจจะทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่นการให้สิทธิ์ (permission) ที่ผิดพลาด ทำให้บุคคลอื่นเข้าถึงข้อมูลที่ไม่อนุญาติได้ ดังนั้นบทความนี้จะนำเรื่องโครงสร้าง account มาอธิบายให้เข้าใจกันได้ดีมากยิ่งขี้น ก่อนจะอ่านต่อไป ถ้าใครยังไม่มี analytics account ขอให้เข้าไปสร้าง account ที่นี่ก่อนนะครับ http://www.google.com/analytics


google analytics account

โครงสร้างหลักของ analytics account แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

  1. Account
  2. Property
  3. View

ซึ่งในแต่ละส่วนของโครงสร้างจะมีส่วนจัดการ user permissions อยู่ด้วยดังรูป

Account

เป็นโครงสร้างระดับบนสุดของ Google Analytics ใช้เพื่อแบ่งแยกการทำ Analytics ในระดับธุรกิจ โดยมากนิยมแบ่งตามบริษัท ซึ่ง account สามารถมีได้มากกว่า 1 account และภายใต้ account จะต้องระบุ Property ที่ต้องการจะ track ข้อมูล

Property

เป็นโครงสร้างระดับรองลงมาจาก Account ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้ Account อีกที Property นั้นเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของโครงสร้างเพราะเป็นส่วนที่จะระบุรหัสเฉพาะ (Tracking ID) ของแต่ละเว็บไซต์หรือโมบายล์แอปพลิเคชั่นเพื่อที่จะนำไปใช้เก็บข้อมูลเพื่อนำมาออกรีพอร์ทผ่าน View ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น Account ของบริษัท ABC อาจจะมีได้ 2 properties คือ Website และ Mobile app ซึ่งแต่ละ property จะมี Tracking id คนละหมายเลขเพื่อให้กูเกิ้ล track ข้อมูลแยกออกจากกัน หลังจากมีการเซ็ต property แล้ว Google Analytics จะสร้าง view ขึ้นมา view หนึ่งโดยอัติโนมัติ โดยที่เรายังสามารถสร้าง view เพิ่มเติมได้อีกตามความต้องการ

View

เป็นโครงสร้างระดับสุดท้ายของ Google Analytics ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้แสดงข้อมูลและรีพอร์ทของแต่ละ property โดยปกติ View จะถูกสร้างโดยอัติโนมัติมาพร้อมกับต้องสร้าง Property ให้ 1 view แต่ตามคำแนะนำของ Google แล้วอย่างน้อยที่สุดเราควรจะต้องมี 3 view ดังนี้คือ

  1. Unfiltered view สามารถใช้ view ที่ระบบสร้างขึ้นอัติโนมัติได้เลย view นี้ใช้เป็น backup เผื่อกรณีฉุกเฉิน
  2. Master view เป็น view ที่เราต้องสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น view หลักในการเข้าดู report ต่างๆ
  3. Test view เป็น view ที่เราสร้างขึ้นสำหรับใช้เทสต์การสร้าง filter ต่างๆ ก่อนจะนำไปใช้ใน master view เนื่องจากว่าเมื่อ google analytics ทำการประมวลผล(processing)แล้ว ข้อมูลที่ได้จะไม่สามารถแก้ไขย้อนหลังได้แล้ว จึงจำเป็นต้องทำการทดสอบก่อนใช้งานจริง

แต่ทั้ง 3 views ที่กล่าวมานั้นถือว่ายังไม่ได้ใช้ประสิทธิภาพของ view อย่างเต็มที่ ซึ่งที่จริงแล้ว view มีประโยชน์มากกว่านั้นมาก หากเราเข้าใจการใช้งาน filter ใน view ด้วย ตัวอย่างเช่น เราสามารถสร้าง view เพื่อแยกข้อมูลตาม traffic ที่มาจากประเทศต่างๆ ได้ โดยที่ view ของแต่ละประเทศ เราจะให้สิทธิ์แก่พนักงานขายที่ดูแลยอดขายของประเทศนั้นๆ เท่านั้น พนักงานขายแต่ละคนจะไม่สามารถเห็นข้อมูลและยอดขายของประเทศอื่นได้ เป็นต้น อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ การสร้าง view โดยแบ่งตาม traffic channel เพื่อให้การดู report ง่ายขึ้น เช่นการสร้าง view เพื่อดูข้อมูลเฉพาะส่วนที่มากจาก social network เป็นต้น

ส่วนเรื่องการให้สิทธิ์ (permission) แก่บุคคลอื่น สามารถให้ได้ที่ระดับ account, property หรือ view ก็ได้ หากให้ที่ระดับ property ก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุก view ภายใต้ property นั้น แต่หากให้ที่ระดับ account ก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุก property และทุก view ภายใต้ account นั้น ดังนั้นแล้วควรพิจารณาให้ดีก่อนการให้สิทธิ์บุคคลอื่น ถ้าจะให้ดูข้อมูลแค่บางส่วน แนะนำว่าควรให้สิทธิ์ที่ระดับ view เท่านั้น เพราะจะสามารถเข้าถึงได้แค่ view นั้น view เดียวไม่สามารถเข้าถึง view อื่นได้ ในระดับของสิทธิ์ยังสามารถระบุได้อีกว่าให้สามารถแก้ไขจัดการได้หรือให้แค่ดูข้อมูลอย่างเดียว ตรงนี้แล้วแต่วัตถุประสงค์ครับ สามารถเลือกให้ได้ตามความเหมาะสม

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เข้าใจโครงสร้างของ google analytics account มากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมนะครับ 🙂