วิธีการติดตั้ง Google Analytics อย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย ทำได้เอง

Google ประกาศใช้ GA4 (Google Analytics เวอร์ชั่นที่ 4) และกำหนดให้เป็นค่า Default Property สำหรับการใช้งาน Google Analytics โดยเริ่มตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2563 แนะนำให้อ่าน วิธีการติดตั้ง Google Analytics เวอร์ชั่น 4 เนื่องจากจะเป็นเวอร์ชั่นที่ Google ใช้พัฒนาต่อไปหลังจากนี้

การสมัครใช้งานและการติดตั้ง Google Analytics ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลายคนคิด การติดตั้งสามารถทำได้ในเวลาไม่เกิน 15 นาที เราก็สามารถเก็บข้อมูลคนเข้าเว็บไซต์เพื่อนำมาวิเคราะห์กันได้แล้ว ใครที่มีเว็บเป็นของตัวเองแต่ยังไม่ได้ติดตั้ง Google Analytics ถือว่าน่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะทำให้เสียโอกาสไปมากมายจากข้อมูลที่จะได้รับจาก Google Analytics เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงเว็บไซต์และการทำการตลาดให้ดีขึ้น บทความนี้จะอธิบายขั้นตอนการติดตั้ง Google Analytics ทีละขั้นตอนเพื่อให้ผู้เริ่มต้นสามารถติดตั้งได้เอง มาเริ่มกันเลย

  1. เปิด browser แล้วพิมพ์ URL http://www.google.com/analytics/ เพื่อเข้าไปยังหน้าแรกของ Google Analytics ดังภาพ แล้วกดปุ่ม Start for Free สีนำ้เงินสมัครและติดตั้ง google analytics
  2. sign in ด้วย Gmail ที่เตรียมไว้สำหรับสร้างบัญชี Google Analytics หลังจากเข้าสู่หน้าจอตามภาพด้านล่างนี้ ให้กดที่ปุ่ม Start measuring สีฟ้าสมัครใช้งาน google analytics
  3. กดปุ่ม Start Measuring แล้ว จะเข้ามายังหน้า Create Account หน้านี้เป็นหน้าที่สำคัญมาก โดยหน้านี้เราจะต้องเซ็ตอัพ Account แรกของเราขึ้นมาซึ่งจะมีรายละเอียดปลีกย่อยดังนี้
    • ส่วนแรกจะเป็นส่วน Account Setup ในส่วนนี้ เราจะต้องระบุ Account Name แนะนำให้ใส่ชื่อบริษัทที่เป็นเจ้าของเว็บนั้น เพราะหนึ่งบริษัทหรือหนึ่ง account อาจจะมีหลายเว็บได้ ซึ่งต่อไปเราสามารถสร้าง property ของเว็บอื่นๆ ภายใต้ account เดียวกันนี้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องสร้าง account ใหม่ แต่ถ้าไม่มีก็ใส่ชื่อเว็บได้
      ในส่วนของ Data Sharing Setting ระบบ recommend ให้เลือกทั้งหมด แนะนำให้ปล่อยไว้อย่างนั้นเพราะเป็นส่วนที่เราต้องใช้งานในอนาคตเช่นการแชร์ข้อมูลกับ adwords account ของเรา และแชร์ข้อมูลเพื่อทำ benchmark กับกลุ่มเว็บไซต์ใน industry เดียวกันซึ่งจะทำให้เราสามารถดูรีพอร์ทของเราเปรียบเทียบกับเว็บไซต์อื่นๆได้สร้างแอคเคาท์ google analytics
    • ส่วนที่สอง จะเป็นส่วนที่ให้เราเลือกว่าเราจะทำการแทรคอะไร เช่น เว็บ หรือ แอป หรือทั้งสองอย่าง ตัวอย่างผมเลือก Web เมื่อเลือกแล้วก็ให้ไปที่ส่วนที่สาม ารแทรคเว็บไซต์ และแอป ด้วย google analytics
    • ส่วนที่สามจะเป็นการกำหนดค่าต่างๆ ของ Property ภายใต้ Account ที่สร้างขึ้น (โดยปกติ 1 property จะใช้แทรคข้อมูลสำหรับ 1 เว็บไซต์)
      Website Name : ช่องนี้ให้ใส่ชื่อเว็บไซต์
      Website URL : ช่องนี้ให้ใส่ URL ของเว็บไซต์ ใส่แค่ .com หรือ .co.th เท่านั้นก็พอนะครับ
      Industry Category : ช่องนี้ให้เลือกประเภทธุรกิจหรือเนื้อหาของเว็บไซต์เรา เช่นเราเป็นเว็บไซต์ขายของก็เลือก shopping
      Time Zone : ให้เลือกประเทศไทยการตั้งค่า Property ใน google analytics
  4. เมื่อกรอกข้อมูลครบหมดแล้วให้กดที่ Create ด้านล่างสุด จะมีหน้าต่าง pop up ขึ้นมาให้กด Checkbox เพื่อยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ในการใช้งาน Google Analytics แล้วกด I Accept เงื่อนไขการใช้งาน google analytics
  5. เมื่อกด I accept แล้วก็จะเข้ามายังหน้า Property ซึ่งในหน้านี้จะมีส่วนที่เรียกว่า Tracking Code อยู่ เราจะต้อง copy โค้ดนี้ไปแปะไว้ทุกหน้าในเว็บไซต์ของเรา ตรงนี้หากเราทำเองไม่ได้ ให้ส่ง code นี้ไปให้คนที่ทำเว็บไซต์ของเราติดตั้งให้ เท่านี้เป็นอันเสร็จเรียบร้อยโค้ดติดตั้ง Google analytics tracking id
  6. หลังจากที่ติดตั้งโค้ดที่หน้าเว็บไซต์แล้ว ข้อมูลจะยังไม่เข้ามาทันที อาจจะต้องรอสักพักหนึ่งแล้วแต่รอบของการอัพเดทข้อมูลของ Google บางที่อาจจะไม่เกินชั่วโมงหรืออาจจะถึงวันหนึ่งก็ได้ ระหว่างนี้เราสามารถเข้าไปทำความรู้จักกับ Report ต่างๆ ของ Google Analytics ได้ก่อนโดยการกดดูรีพอร์ทจากเมนูด้านซ้ายมือ สำหรับมือใหม่แนะนำให้เริ่มต้นทำความเข้าใจคำศัพท์ต่างๆ ที่ควรรู้ในการอ่านรีพอร์ทกันก่อนจากบทความนี้ 28 คำศัพท์ Google Analytics รู้แล้วอ่านรีพอร์ทเป็นแน่นอนรีพอร์ทต่างๆ ใน google analytics

Happy Analytics 🙂

สนใจคอร์สเรียน Google Analytics  อ่านรายละเอียด
ไม่พลาดทุกบทความ แอดเฟรนด์ LINE OA : @pornthep
เพิ่มเพื่อน

4 thoughts on “วิธีการติดตั้ง Google Analytics อย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย ทำได้เอง

Leave a Reply