
เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกสบายที่หลายคนที่ใช้ Google Analytics มานานแล้วก็ยังไม่รู้ว่ามีฟีเจอร์นี้อยู่ ที่ผมกำลังพูดถึงนี้คือ Keyboard Shortcuts ใน Google Analytics นั่นเองแหละครับ keyboard shortcuts ก็คือส่ิงที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้วตามปกติ ยกตัวอย่างเช่น ctrl-x, ctrl-v ที่เราใช้กันในโปรแกรมทั่วๆ ไปในการทำ cut & paste แต่ใครเลยจะรู้ว่า Analytics เองก็มี shortcuts ที่เป็นประโยชน์และช่วยอำนวยความสะดวกให้เราอยู่หลายตัวเลยทีเดียว
Keyboard Shortcuts ใน Google Analytics แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ Shortcuts ในกลุ่ม Application และ Shortcuts ในกลุ่ม Date Range โดยมีรายละเอียดดังนี้
Application Shortcuts
- ? :การกด shift + ? ซึ่ง shortcut ตัวนี้จะเป็นการเปิดหน้าต่างในส่วน Shortcut Help ที่จะบอกรายละเอียดของ shortcut อื่นๆ ทั้งหมดที่มีให้ใช้งาน ดูตามรูป
- h: shortcut ตัวนี้จะทำการเปิด Google Analytics Help Center ขึ้นมาเพื่อให้เราค้นหาข้อมูล
- a : shortcut นี้จะทำการเปิด Account Panel เพื่อให้เราสะดวกในการค้นหา Property และ View ที่เราต้องการเข้าไปดูรีพอร์ท
- s หรือ / : เป็น shortcut ที่เปิดในส่วนการค้นหารีพอร์ทต่างๆ ที่มีอยู่กว่าร้อยรีพอร์ทโดยไม่ต้องไปไล่ดูที่เมนูด้านซ้ายมือ
- shift+d : shortcut นี้จะพาเราไปยัง default dashboard ที่เราเซ็ตไว้
- m : shortcut นี้จะช่วยหด หรือขยายเมนูด้านซ้ายมือ เพื่อขยายพื้นที่ในการอ่านรีพอร์ทให้มากขึ้น
Date Range Shortcuts
shortcuts กลุ่มนี้จะช่วยอำนวนความสะดวกในการกำหนด Date Range ของการอ่านรีพอร์ทโดยไม่จำเป็นต้องไปคลิ้กเลือกวันใน drop down menu ของ Date Range เลย สะดวกมากๆ
- d t : เป็นการกำหนด Date Range ของรีพอร์ทให้เป็นข้อมูลวันนี้เท่านั้น
- d y : เป็นการกำหนด Date Range ของรีพอร์ทให้แสดงข้อมูลของเมื่อวานนี้เท่านั้น
- d w : กำหนด Date Range ให้เป็น Last week
- d m : กำหนด Date Range ให้เป็น Last month
- d 7 : กำหนด Date Range ให้เป็น Last 7 days หมายถึงบอกให้ Analytics แสดงข้อมูลเฉพาะ 7 วันล่าสุดเท่านั้น
- d 30 : กำหนด Date Range ให้เป็น Last 30 days หรือ 30 วันล่าสุด
- d c : เป็นการเปลี่ยนการแสดงรีพอร์ทเป็นแบบ Comparison โดยจะเปรียบเทียบจากช่วงเวลาก่อนหน้า เช่นหากกำลังดูข้อมูล 7 วันล่าสุด เมื่อกด shortcut d c แล้ว Google จะนำข้อมูลอีก 7 วันก่อนหน้านั้นมาเปรียบเทียบกับ 7 วันล่าสุดที่เรากำหลังดูอยู่
- d x : เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลที่คล้ายกับ shortcut d c นั่นเอง เพียงแต่ข้อมูลที่เราดูอยู่จะนำไปเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ดูตามภาพตัวอย่างด้านล่าง ขณะที่เรากำลังอ่านรีพอร์ทช่วง 1-27 jun 2016 เมื่อกด shortcut d x แล้วการแสดงข้อมูลของรีพอร์ทจะเป็นการเปรียบเทียบกับข้อมูลวันที่ 1-27 june 2015
ลองใช้กันดูนะครับ แล้วจะรู้สึกได้เลยว่า shortcuts เหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวก และลดเวลาการทำงานไปได้อีกมาก โดยเฉพาะคนที่ต้องวิเคราะห์ข้อมูลแบบเปรียบเทียบย้อยหลังบ่อยๆ shortcut d c และ d x ช่วยได้มากทีเดียว
Happy Analytics 🙂