สำหรับคนที่ใช้ Google Analytics มานานกว่า 10 ปีจะทราบดีว่า Google Analytics มาการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอัพเดทเวอร์ชั่นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเท่าที่ผ่านมานั้น 3 เวอร์ชั่นแรกการเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ แต่สำหรับเวอร์ชั่นที่ 4 นี้ หรือ Google เรียกเป็นทางการว่า GA4 (เปลี่ยนชื่อจาก App and Web Property ที่เปิดให้ทดลองใช้มาประมาณปีหนึ่ง) นั้นถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกับ User Interface และรีพอร์ทต่างๆ เรียกว่าเกือบจะต้องเรียนรู้ใหม่กันเลยทีเดียว ไม่นับเรื่องรายละเอียดทางเทคนิคอลซึ่งขออนุญาติยังไม่กล่าวถึงในตอนนี้นะครับ ผมเองขอดูรายละเอียดแบบลงดีเทลอีกสักพัก Continue reading
Author: Pornthep Khetrum
แบบทดสอบ SEO 50 ข้อ ที่คนทำ SEO ควรต้องลอง

SEO เป็นความรู้ที่ว่ากันตามตรงแล้วทุกคนสามารถศึกษาเองได้ไม่ยากนัก ถ้าพอมีพื้นฐานด้านการทำเว็บไซต์มาบ้างก็จะทำให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น หรือหากจะย่นย่อระยะเวลาการเรียนรู้ก็อาจจะลงเรียนคอร์ส SEO ที่เปิดสอนกันอยู่หลายๆ ที่ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ เพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพรวมการทำ SEO เบื้องต้น และสามารถศึกษาต่อเองได้ง่ายขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการสอน SEO พื้นฐานนั้น โดยมากมักจะมีเนื้อหาหลักการที่ไม่แตกต่างกันมากนัก และเป็นหลักการที่อิงบนพื้นฐานไกด์ไลน์จากเอกสารของ Google และสื่อเว็บ SEO จากต่างประเทศ แต่สิ่งที่แตกต่างกันมักจะเป็นเรื่องของการเอาประสบการณ์จริงการทำ SEO ของผู้สอนมาถ่ายทอดร่วมด้วย ซึ่งก็เป็นการช่วยย่นย่อระยะเวลาการลองผิดลองถูกของผู้ที่เร่ิมทำ SEO ได้อย่างดี Continue reading
Event tracking ใน Google Analytics เรื่องจำเป็นที่ต้องทำ
ผู้เริ่มต้นใช้งาน Google Analytics ส่วนใหญ่นั้น มักจะเริ่มต้นกันด้วยการเปิดแอคเคาท์ Google Analytics แล้วก็เอาสคริปต์ที่ได้มาไปติดตั้งบนเว็บไซต์ เสร็จแล้วก็เร่ิมต้นอ่านรีพอร์ทกันเลย จะว่าไปสมัยนานมาแล้วผมก็ทำแบบนี้แหละครับ คือติดสคริปต์เสร็จเป็นอันจบกันดูรีพอร์ทกันไปยาวๆ ซึ่งนี่คือข้อดีข้อหนึ่งของ Google Analytics เพราะแค่วางโค้ดเสร็จข้อมูลก็เริ่มบันทึกทันที ไม่ต้องตั้งค่าอะไรให้ซับซ้อนก็มีข้อมูลและรีพอร์ทมากมายให้ดูกันไม่หมด จนหลายคนก็อาจจะรู้สึกว่าแค่รีพอร์ทที่ได้มาจากการวางโค้ดไว้เฉยๆ ก็มากมายเพียงพอแล้ว คงไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรเพิ่มเติมอีก ซึ่งต้องบอกว่าเป็นการใช้ความสามารถของ Google Analytics ได้อย่างไม่เต็มความสามารถ Continue reading
ติดตั้ง LINE Tag (pixel) วัด conversion และสร้าง Audience
หลังๆ มานี้ผมแทบไม่ได้เขียนบทความอัพเดทเกี่ยวกับ LINE เลย จนเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเพิ่งเห็นว่ามีการอัพเดทเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้ามา ซึ่งผมคิดว่าคงจะต้องเอามาเขียนกัน เพราะจัดเป็นฟีเจอร์ที่หลายคนคงอยากได้กันมานาน ฟีเจอร์นี้เรียกว่า LINE Tags ซึ่งเมนูในหน้า LINE บนเดสก์ท้อปเขียนชื่อมนูว่า Tracking (LINE tags) ซึ่งเดาได้ว่าเอาไว้ใช้ Tracking Conversion แน่นอนละครับ แต่ที่สำคัญก็คือ LINE Tags นี้ยังมีความสามารถพิเศษที่ให้เราสามารถสร้าง Custom Conversion ขึ้นได้เอง รวมไปถึงการสร้าง Custom Audience ได้อีกด้วย จากการสอบถามไปทาง LINE ประเทศไทย Custom Audience ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา แต่ถ้าใครเข้าที่หน้าเว็บไซต์ของ LINE จะเห็นว่ามีการขึ้นข้อความไว้แล้วว่าสามารถสร้าง Custom Audience ได้ ถือเป็นการอัพเดทที่น่าสนใจมากที่สุดฟีเจอร์หนึ่งทีเดียวละครับ
Direct Traffic คืออะไร เรื่องยากที่หลายคนคิดว่าง่าย
ทุกคนที่ใช้ Google Analytics คงจะรู้จักคำว่า Direct Traffic หรือ Traffic Channel ที่ชื่อว่า Direct กันเป็นอย่างดีแล้ว แต่รู้จักก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะเข้าใจมันอย่างถูกต้องนะครับ ความหมายหนึ่งที่หลายคนจดจำ และถูกถ่ายทอดต่อกันไปนั่นก็คือ “Direct Traffic เป็นทราฟฟิคที่เกิดจากการพิมพ์ URL เข้ามาโดยตรง” ซึ่งถ้าว่ากันตามรายละเอียดแล้วยังถือว่าเป็นความหมายที่ยังไม่ถูกต้อง พอเข้าใจกันประมาณนี้ ปัญหาที่ตามมาก็คือ การวิเคราะห์และตีความหมายที่ผิดพลาด เช่น พอ Direct Traffic เติบโตขึ้น ก็อาจจะคิดว่า Brand Awareness ดี หรือยูสเซอร์มี Loyalty สูงทำนองนั้น ดังนั้นบทความนี้จะพามาทำความเข้าใจ Direct Traffic ให้ถูกต้องกันจริงๆ Continue reading