Time lag report จะเป็นรีพอร์ทที่อยู่ภายใต้ Multi-channel-funnels รีพอร์ทใน Google Analytics ซึ่งจะเป็นรายงานที่บอกถึงช่วงเวลาเป็นจำนวนวันนับจากวันที่ user มี interaction (e.g. impression, click, direct session) เป็นครั้งแรกจนถึงวันที่เกิด conversion ภายในช่วงเวลา Look Back period ซึ่งโดย default แล้วจะนับถอยหลังไป 30 วัน นับจากวันที่เกิด Conversion นั่นหมายความว่าหาก User มี interaction กับเว็บไซต์ของเราหลายครั้งก่อนจะซื้อสินค้า (ซึ่งก็ควรเป็นเช่นนั้น) ระบบจะไปดูว่าครั้งแรกที่เกิดขึ้นภายใน 30 วันย้อนหลังนั้นห่างจากวันที่เกิด Conversion เท่าไร เช่นหากพบว่าห่างจาก First interaction 10 วัน conversion นั้นก็จะตกอยู่ใน Time lag report ที่ช่วงเวลา 10 วัน
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ผมขอยกตัวอย่างอธิบายให้เห็นภาพชัดเจนมากย่ิงขึ้น สมมุติว่า user คนหนึ่งก่อนที่จะซื้อของได้เกิด interaction กับเว็บไซต์ดังตัวอย่างด้านล่าง
interaction 1 : วันที่ 1 พ.ค. user เข้ามาด้วยวิธีการ direct เข้ามาที่เว็บ แต่ยังไม่ได้ซื้อสินค้า
interaction 2 : วันที่ 9 พ.ค. user ค้นหาสินค้าใน Google แล้วคลิ้กเข้ามาดู แต่ยังไม่ได้ซื้อ
interaction 3 : วันที่ 18 พ.ค. user ได้รับอีเมล์แล้วคลิ้กเข้ามาดูสินค้าอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้ซื้อ
interaction 4 : วันที่ 30 พ.ค. user คลิ้กเฟซบุ๊คโพสต์เข้ามาแล้วทำการซื้อสินค้า
ตัวอย่างนี้ conversion ที่เกิดขึ้นจะตกอยู่ใน Time lag report ที่ช่วงเวลา 30 วัน (กรณีที่เราใช้ look back period 30 วันตาม default setting)
ข้อระวังในการอ่าน Time lag report
สมมุติว่า interaction 1 ตามตัวอย่างด้านบ้านนั้นเกิดขึ้นวันที่ 25 เมษายน แล้ว ไปเกิด conversion ในวันเดิมคือ 30 พ.ค. โดยไม่เกิด interaction ที่สองและสาม ซึ่งถ้าจะให้นับว่า Time lag มีค่าเท่าไร อาจจะมีหลายๆ ท่านที่จะตอบว่า 35 วัน ซึ่งเป็นคำตอบที่ “ผิด” ถ้าเรายังใช้ Look Back period 30 วันตามค่า default
สิ่งที่ Google จะรีพอร์ท Time lag ของ conversion นี้ จะเท่ากับศูนย์ ซึ่งหมายความว่า เกิด Conversion ตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าเว็บไซต์คือวันที่คลิ้กจากเฟซบุ๊คโพสต์เข้ามา ซึ่งก็จะทำเกิดการวัดผลที่ผิดพลาด
แล้วทำไม Time lag จึงกลายเป็น 0 ไม่ใช่ 35 วันล่ะ?
นั้นเป็นเพราะว่า Look back period 30 วัน ที่เราใช้นั้นทำให้เวลาที่ Google ไล่ย้อนหลังไปดู interaction ที่เกิดขั้นนั้น ไม่พบ interaction ใดๆ เลย แล้วพอไม่พบ First interaction ใน 30 วัน Google จะถือว่า Time lag เท่ากับศูนย์ เพราะมี interaction เดียวที่เกิดขึ้นแล้วทำให้เกิด Conversion เลย นั้นก็คือเฟซบุ๊คโพสต์
ซึ่งเคสนี้ทำให้เกิดการวัดผลที่ผิดพลาดโดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ขายสินค้าที่ค่อนข้างจะมีราคา เพราะโดยธรรมชาติแล้วคงไม่มีใครเข้าครั้งแรกแล้วซื้อสินค้าทันที วิธีการแก้ไขเพื่อให้การวัดผลมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้นคือการเปลี่ยนค่า Look back period ให้มีค่ามากขึ้นเช่น 60 วันหรือ 90 วันเป็นต้น
ในส่วน interaction type นั้น เราสามารถที่จะกำหนดได้ว่า First Interaction แบบไหนที่จะให้ Google คำนวนในการออกรายงาน เช่น ถ้าเราเอาเช็คบ็อกที่เป็น Direct ออก Google ก็จะตัด First interaction ที่เป็น Direct ออกไปและใช้ interaction ถัดไปในการคำนวน Time lag แทน เป็นต้น
รีพอร์ทนี้สามารถบอกเบื้องต้นได้ว่า Customer หรือ User ของเรานั้นใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อสินค้านานกี่วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่ม Research ข้อมูลสินค้าบนเว็บไซต์ของเรานั่นเอง ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าของเรามากยิ่งขึ้น
บทความแนะนำให้อ่านเพิ่มเติม : Time to purchase รีพอร์ท คืออะไร ต่างจาก TIme lag report อย่างไร
Happy Analytics!